Zeabuz… เรือโดยสารไฟฟ้าไร้คนขับ

แนวคิดในการเปลี่ยนผ่านยานพาหนะจากโลกยุคน้ำมันไปสู่โลกยุคพลังงานสะอาด ซึ่งยานพาหนะทั้งที่วิ่งบนถนน บนผิวน้ำ ใต้ผิวน้ำ และ บนอากาศ… ล้วนถูกออกแบบให้เคลื่อนที่ได้ด้วยพลังงานไฟฟ้าที่มีโอกาสจะพัฒนาต่อยอดให้ไปถึงพลังงานสะอาดในอุดมคติได้ง่ายกว่าการเผาเชื้อเพลิงเพื่อการเดินทาง

รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Cars บนท้องถนนนั้นไร้คำถามว่าสะอาดและเป็นไปได้จริงแค่ไหน เพราะจำนวน EV Cars ในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นทดแทนรถยนต์น้ำมันอย่างชัดเจนในแทบจะทุกพื้นที่เศรษฐกิจทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศแถบตะวันออกกลางที่รายได้หลักมาจากการส่งออกน้ำมันล้วนๆ ก็ตาม

ด้านยานบินไฟฟ้าขึ้นลงทางดิ่ง หรือ eVTOL หรือ Electric Vertical Take-Off And Landing ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการขอรับใบอนุญาตเพื่อใช้บินเชิงพาณิชย์กันในหลาย Smart City ทั่วโลก ซึ่งชัดเจนว่าจะได้รับการอนุมัติให้บินได้แน่นอนไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว

ส่วนเรือไฟฟ้า หรือ Electric Boats หรือ EV Boats แบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์ปั่นใบจักร และ ใช้พลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาจ่ายมอเตอร์นั้น ก็มีการดัดแปลงเรือในแม่น้ำที่ผ่านเมืองใหญ่แทบทุกแห่งทั่วโลก และ ใช้งานกันมานานหลายปีแล้วก็มี โดยเฉพาะเรือโดยสารประจำทาง และ เรือข้ามฟากที่ให้บริการในเมืองหลักของโลกอย่าง บริการเรือโดยสารของ Uber ในลอนดอน และ ระบบเรือข้ามฟากของนิวยอร์กที่กำลังขยายและเพิ่มเส้นทาง… รวมทั้งเรือโดยสารไฟฟ้าที่วิ่งกันในแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพและนนทบุรีก็มีจำนวนมากโขอยู่

พูดถึงเรือข้ามฟาก… สตาร์ทอัพจากสวีเดน ชื่อ Zeabuz ได้เปิดตัวเรือไฟฟ้าโดยสารข้ามฟากจากงานวิจัยของ Norwegian University of Science and Technology ซึ่งเป็นเรือโดยสารไฟฟ้าไร้คนขับที่ใช้งานได้จริงแล้วในกรุงสตอกโฮล์ม หรือ Stockholm เมืองหลวงของสวีเดน โดยเปิดเส้นทางเดินเรือไร้คนขับสายแรกระหว่างเกาะ Kungsholmen กับ Søder Mellarstrand ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเรือเฟอร์รี่ EV สายแรกของโลกที่เดินเรือแบบไร้คนขับ และ ให้บริการแบบที่เรียกว่า Autonomy-as-a-Service ประเภท Urban Ferry

ตัวเรือเป็นเรือแบบเปิดรอบด้านพร้อมหลังคา ตัวเรือมีความยาว 12 เมตร ได้รับการพัฒนาให้ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบ และ ควบคุมการเดินเรือด้วยเทคโนโลยี LIDAR เทียบเท่า Autonomous Level 4 สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 25 คนต่อเที่ยว สามารถให้บริการได้ต่อเนื่องยาวนานถึง 15 ชั่วโมงต่อวัน 

Zeabuz ต้นแบบ

อย่างไรก็ตาม… แม้ตัวเรือจะรองรับการขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบ แต่การบริการในปัจจุบันยังบังคับเรือจากหอควบคุมร่วมด้วยเพื่อความปลอดภัย และ ยังมีพนักงานขับสำรองนั่งประจำเรืออยู่ด้วยเผื่อกรณีฉุกเฉิน

เทคโนโลยีนี้ไม่ได้มีอะไรสลับซับซ้อน หรือ ยากเกินไปเลย… กรุงเทพมหานครน่าจะริเริ่มได้เหมือนกัน!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

SCB10X HQ on SANDBOX

สำนักงานเสมือนของ SCB10X ใน THE SANDBOX

เกมในยุค Metaverse มีความเป็นแพลตฟอร์มสื่อไม่ต่างจาก Facebook หรือ Google หรือ YouTube… ซึ่งนักการตลาด และ นักกลยุทธ์ธุรกิจสมัยใหม่รู้กันหมดแล้วว่า แพลตฟอร์มเกมในยุค Metaverse จะกลายเป็นแพลตฟอร์มโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่มีศักยภาพในการผลักดันธุรกิจ และ เป็นแพลตฟอร์มรองรับธุรกิจในยุคบล็อกเชนอินเตอร์เน็ตอย่างแท้จริง… การรุกของ SCB 10X เข้าสู่อาณาจักร Sandbox จึงเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่น่าจับตามอง และ น่าลอกการบ้านอย่างมาก

McDonalds

McDonald’s… ไม่ใช่แค่ร้านอาหาร

ปี 1954 Ray Kroc เซลล์ขายเครื่องปั่นมิลค์เชคแบบหลายหัวยี่ห้อ Prince Castle ได้พบกับสองพี่น้อง McDonald คือ Dick และ Mac หรือ Richard McDonald และ Maurice McDonald เจ้าของร้านแฮมเบอร์เกอร์ ที่สั่งซื้อเครื่องปั่นมิลค์เชคแบบหลายหัวถึง 8 เครื่อง… และ Ray

Hydraulic Cement… ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม… คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า… กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการมอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. เร่งกำหนดและแก้ไขมาตรฐานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับคอนกรีตและปูนซีเมนต์ โดยให้สามารถใช้ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” เป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตต่างๆ แทนการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์… ซึ่งการใช้ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก หรือ Hydraulic Cement” เป็นหนึ่งในมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรม และ การใช้ผลิตภัณฑ์ หรือ Industrial Processes and Product Use หรือ IPPU… ด้วยการกำหนดให้ใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ดในการผลิตปูนซีเมนต์ เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งจากขั้นตอนการเผาปูนเม็ด และ กลไกการแข็งตัวของผลึกซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะก๊าซเรือนกระจก

ข้อมูล และ บรรยากาศจากงานสัมมนาโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเกษตร

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้จัดทำ “โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเกษตร” เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับจัดเก็บ และ บริการข้อมูลทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ และ ประมง จากหน่วยงานภาคีภายใต้บันทึกความร่วมมือระหว่าง 10 กระทรวง ซึ่งเป็นการรวบรวมชุดข้อมูล หรือ Datasets จากการสำรวจ และ นำมาจัดทำเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ด้านการเกษตร และ วิเคราะห์ในมิติต่างๆ และ เปิดบริการแบบ Open Data ให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้สนใจ ใช้ข้อมูลในเรื่องที่เกี่ยวข้อง