You Cannot Be Brave Without Fear – Mellody Hobson และ Muhammad Ali

Melody Hobson

วาทะกรรมว่าด้วย “ความกลัว” อันเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ในห้วงเวลาที่คนทั้งโลก “ต้องฉีดวัคซีน” เพื่อปกป้องตัวเองให้เกิด “ความกล้า” ที่จะออกไปใช้ชีวิตเป็นสมาชิกและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมนุษย์… ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่าเป็นครั้งแรกของโลก ที่ได้เห็นมหกรรมการฉีดวัคซีนครั้งใหญ่ ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วโลกพร้อมๆ กันจริงๆ ถึงแม้จะเป็นไปไม่ได้ที่คนทั้งโลกจะได้ฉีดครบทุกคน… 

และเมื่อ “ความกลัวโควิด ปะทะกับ ความกลัวจะถูกฉีดวัคซีน” อันเป็นความกลัวย่อย ที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขระดับโลก ถึงขั้นองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ขึ้นบัญชี “โรคกลัววัคซีน หรือ Vaccine Anxieties หรือ Vaccine Hesitancy” เป็นปัญหาทางสาธารณสุขหนึ่งในสิบของโลกมาหลายปีจนถึงปัจจุบัน… ซึ่งทั้งหมดที่ได้เห็นก็คืออาการ “กลัวตาย” ล้วนๆ ที่เบ่งบานและสร้างปรากฏการณ์แห่งความกลัวย่อยๆ อีกมากมายให้เห็น “สัจธรรม” ที่ได้เรียนรู้และจดจำร่วมกันไปอีกนาน

ในงานประพันธ์ชุด จริยศาสตร์นิโคมาชีน หรือ The Nicomachean Ethics โดยมหาปราชญ์ตะวันตกนาม Aristotle เองนั้น… ก็มีบทที่กล่าวถึงความกลัว และ ความกล้าหาญที่แท้ ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันบนบริบทที่แตกต่าง

ความกลัวตามหลักจริยศาสตร์นิโคมาชีนซึ่งถูกนิยามเป็น “ความปราถนาที่ไม่ต้องการประสบสิ่งที่ไม่ปราถนา” ซึ่งเป็นทัศนะส่วนบุคคล และ ยังเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลอีกด้วยในปัจจุบัน… 

ประเด็นก็คือ… มีความกลัวหลายอย่างที่จริยศาสตร์นิโคมาชีน หรือ ในคำสอนของอริสโตเติล… ที่แนะนำให้กลัวเพื่อปฏิบัติสิ่งที่ถูกต้อง และ มีเกียรติต่อตนเองอันเป็นรากฐานสำคัญในขั้น “คุณค่า และ ความหมายของการมีอยู่ของตน”

การยืดหยัดเผชิญหน้าความกลัวในตน เพื่อทำในสิ่งที่ถูกต้องอันขัดแย้งต่อความกลัวนั้น จึงพลิกเป็น “กล้าหาญ” ซึ่งมีคนจำนวนหนึ่งเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องความกล้าหาญ… ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ “กล้าเอาความกลัวของตนเอง ไปให้ผู้อื่นทำ หรือ รับผิดชอบทำ ให้ตนเองหายกลัว” ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อริสโตเติล เรียกว่าเป็นกลุ่มคนที่ Pessimistic and Lack Confidence In The Face Of Fear. หรือ มองโลกในแง่ร้าย และ ขาดความเชื่อมั่นที่จะเผชิญหน้ากับความกลัว

ความกล้ากับความกลัวในทางเทคนิค… จึงเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ถูกจัดการด้วยบริบทที่ต่างกันเพียง… กลัวแล้วเผชิญหน้าและสะสางอย่างถูกต้องคือกล้าหาญ… แต่หากกลัวแล้วผลักความกลัวให้คนอื่นกลัวด้วย หรือ คุกคามให้คนอื่นกลัวยิ่งกว่าที่ตัวเองกลัว… นอกจากจะขลาดเขลาที่จะแก้ไขความกลัวให้ตัวเองแล้ว ยังกลายเป็นพาหะความกลัวติดต่อสู่ผู้อื่นอย่างไร้เกียรติ

Mellody Hobson รองประธานบอร์ดบริหาร Starbucks Corporation ซึ่งเป็นสุภาพสตรีผิวสี หรือ สาวแอฟริกัน–อเมริกัน ผู้ซึ่งเติบโตและก้าวหน้าในอาชีพการงานในสหรัฐอเมริกา ที่คนในสังคมส่วนหนึ่งยัง “น่ากลัว” สำหรับคนผิวสี… ซึ่งเธอได้พูดถึงความกลัวและความกล้าไว้ว่า… You Cannot Be Brave Without Fear – คุณไม่อาจกล้าได้โดยปราศจากกลัว… ซึ่งคำกล่าวคล้ายกันนี้ถูกพูดโดย Muhammad Ali เจ้าของตำแหน่งแชมป์มวยสากลสมัครเล่นเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิครุ่น ไลท์เฮฟวี่เวท และแชมป์โลกมวยสากลรุ่น เฮฟวี่เวท เจ้าของสถิติชนะ 56 ครั้งในการชกทั้งหมด 61 ครั้ง… 

Muhammad Ali

ปี 1960… การแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงโรม ณ ประเทศอิตาลีปีนั้น การเดินทางด้วยเครื่องบินของ Muhammad Ali เพื่อไปแข่งและกลับบ้าน… Muhammad Ali กลัวเครื่องบินตกถึงขนาดสวมเสื้อชูชีพไว้ตลอดการเดินทาง… และเมื่อกลับถึงสหรัฐอเมริกาเยี่ยงวีรบุรุษโอลิมปิก งานเลี้ยงฉลองให้นักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิกที่ภัตตาคารแห่งหนึ่ง กลับถูกบริกรในร้านปฏิเสธที่จะเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มให้คนผิวสี… Muhammad Ali จึงโยนเหรียญทองโอลิมปิกลงแม่น้ำโอไฮโอเพื่อเป็นการประท้วง แต่เขาก็อ้างว่าไม่ได้โยนเหรียญทิ้ง “แต่ลืมไหนไม่รู้และหายไปแล้ว” กระทั่งโอลิมปิคที่แอตแลนต้าปี 1996… ทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากลจึงได้มอบเหรียญรางวัลใหม่เพื่อเป็นเกียรติให้แก่เขา

ส่วนเรื่องราวของ Mellody Hobson ในฐานะนักการเงินที่เริ่มต้นผลงานจาก Ariel Investments ในชิคาโก กระทั่งโลดแล่นในโลกการเงินการลงทุน และอยู่เบื้องหลังความสำเร็จมากมายของธุรกิจยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก หรือ New York Stock Exchange หรือ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีท… ซึ่งเวที  World Economic Forum ปี 2001  ยกย่องเธอให้เป็น Global Leaders of Tomorrow… ตามด้วย The Wall Street Journal รวมชื่อเธอเอาไว้ใน “50 Women to Watch” ในปี 2004… และ นิตยสาร Forbes ให้เธอเป็นหนึ่งใน World’s 100 Most Powerful Women ในปี 2020

ก่อนหน้านั้น… สาวผิวสีใน Princeton University ย่อมถูกบูลลี่ หรือ Bully หรือ กลั่นแกล้งรังแกให้เจ็บใจและคับแค้นมาบ้าง… แต่เมื่อการเดินหน้าทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมมากมาย โดยข้าม “ปมด้อย และ ปัญหาเชื้อชาติสีผิว” ซึ่งถูกผูกไว้ด้วยความกลัวอีกแบบหนึ่งที่กังวลต่อการยอมรับของผู้อื่น… ท้ายที่สุดเธอก็ได้รับเชิญให้เป็นสมาชิก Cottage Club ใน Princeton University ซึ่งเป็นชมรมหนึ่งในพรินซ์ตันที่ “คัดคน” เข้าชมรมไม่ธรรมดา

Mellody Hobson พูดถึงความกลัวที่ท้าทายเธอตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งเธอเป็นลูกคนสุดท้องในพี่น้อง 6 คนจากครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวในชิคาโก ผู้มีปัญหาทางการเงินที่เธอเห็นและสัมผัสถึงความไม่มั่นคงทางการเงินของมารดา ผู้ถูกฟ้องเชค ฟ้องขับไล่ และ ยึดรถที่ไม่ได้จ่ายค่างวด… ซึ่งเด็กหญิง Mellody Hobson เปลี่ยนความเคลียด ความกลัวและความรู้สึกไม่มั่นคงทางการเงินของเธอ… มุ่งมั่นที่จะเข้าใจเรื่องเงิน และ เรื่องการบริหารเงิน จนเธอกลายเป็นนักการเงินชั้นแนวหน้าของโลกในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน

Mellody Hobson และ George Lucas สามี

ความกลัวที่ถูกจัดการด้วยการเผชิญหน้าด้วยตนเอง… จึงเป็นความกล้าหาญที่ให้ผลลัพธ์ชัดเจนต่อตนเองในทางบวก… ซึ่งต่างจากความกลัวที่พยายามหาพวกที่กลัวเหมือนกัน และ กลัวจะต้องเผชิญหน้ากับความกลัวเหมือนๆ กัน มารวมตัวกันเพื่อ “เรียกร้อง” ให้คนอื่นช่วยให้ตนและพวกตนหายกลัว… จึงไม่มีทางที่ใคร หรือ อะไรจะช่วย “ลบความกลัว” ให้ได้

การแสดงออกต่อความกลัวของคนที่ไม่กล้าเผชิญหน้ากับมัน และผลักไปให้สังคมและคนอื่นๆ เผชิญหน้าแทนด้วยฉากหน้าและข้ออ้างใหม่… จึงเป็นดั่งที่อริสโตเติลกล่าวไว้ว่า นั่นเป็นการเลียนแบบความกล้าหาญ หรือ Imitation Of Courage… เท่านั้นเอง

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Cannabis Greenhouse

ศักยภาพของกัญชาในฐานะพืชเศรษฐกิจ…

ในกรณีที่ผลการใช้กัญชาช่วยให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยาวนานขึ้นอย่างชัดเจน… ตัวเลขค่าใช้จ่ายเฉพาะสำหรับดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระยะสุดท้าย หรือ ระยะประคับประคอง หรือ Palliative Care ในหลายสิบประเทศที่รับรองและอนุญาตให้ใช้กัญชาในทางการแพทย์… อาจหมายถึงโอกาสที่กัญชาจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ถึงขั้นขับเคลื่อน GDP เป็นเลขเต็มจำนวนของไทยก็เป็นได้… ยิ่งเมื่อเห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเฉพาะในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวที่สูงระดับแสนล้านบาทต่อปี… โอกาสของกัญชาจึงเหลือทั้งกว้างและยาวไกลอีกแสนไกลสุดท้าทาย

SEC ก.ล.ต.

Strengthening Resilient Future… แผนยุทธศาสตร์ 2564–2566 จาก กลต

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้เปิดเวทีแถลงแผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ปี 2564–2566 ภายใต้แนวคิด “Strengthening Resilient Future” โดยท่านอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนาและปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “บทบาทตลาดทุนกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศปี 2564” ด้วย…

DeFi Scams

Defi Scams และ Rug Pull… ฉ้อฉลกลโกงผ่าน DeFi Model

ระบบนิเวศน์ของ DeFi ทั้งหมดนั้น ล้วนคือศูนย์กลางการรวบรวมสินทรัพย์ดิจิทัลก้อนใหญ่จากนักลงทุน ไปกองรวมกันไว้บนอินเตอร์เน็ต… และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการรวบรวมเงินก้อนใหญ่ไปทำอะไรสักอย่าง ความโลภอันเป็นแรงผลักดันระดับสัญชาตญาณของใครบางคนหรือหลายๆ คน… ย่อมเหนี่ยวนำอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ให้เกิดฉ้อฉลกลโกงขึ้นได้เสมอ

Robotic Furnitures

Robotic Furniture

ช่วงกลางปีที่ผ่านมา แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ยักษ์ใหญ่อย่าง IKEA ได้เปิดตัวเฟอร์นิเจอร์ชุด ROGNAN Robotic Furniture สำหรับพื้นที่ขนาดเล็กในเมืองใหญ่ โดยออกแบบให้ห้องนอน ห้องรับแขก ตู้เสื้อผ้าและโต๊ะทำงานอยู่ในชุดเฟอร์นิเจอร์ที่วางไว้ในพื้นที่ 3.5×3 เมตร หรือเพียง 10.5 ตารางเมตรเท่านั้น