คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจาก World Bank

financial stability

Birgit Hansl ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยว่า… ธนาคารโลกได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2020 ลง… โดยประเมินให้เศรษฐกิจไทยเติบโต -5% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวได้ 2.9%… และคาดว่า ปี 2021 จะกลับมาขยายตัวได้ 4.1%… และคาดว่า ปี 2022 จะขยายตัวเพิ่มอีก 3.6%

คำแถลงยังบอกอีกว่า… เศรษฐกิจไทยยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ซึ่งทำให้การค้าโลกหดตัวกระทบต่อการส่งออกของไทย และกระทบต่อภาคการผลิต… โดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ขณะที่มาตรการควบคุมการเดินทางเพื่อเฝ้าระวังโรคระบาด… ส่งผลกระทบต่อภาคบริการ ภาคค้าปลีก สะท้อนจากยอดขายสินค้าคงทนที่ลดใกล้ 12% ในช่วงไตรมาสแรกของปี และยังส่งผลกระทบภาคการท่องเที่ยว สะเทือนถึงรายได้และสวัสดิการของครัวเรือน ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ด้วยตัวเลขคนตกงานเพิ่มขึ้นเป็น 8.3 ล้านคน

คุณเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย เพิ่มเติมว่า… เพื่อเป็นการปกป้องครัวเรือนที่เปราะบาง จึงควรขยายความคุ้มครองทางสังคม เพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มผู้สูงอายุ และแรงงานข้ามชาติไม่ได้ถูกมองข้าม และเสนอว่าควรให้เงินอุดหนุนแก่กลุ่มที่เปราะบางต่อไป หากเป็นไปได้ ควรเชื่อมโยงการให้เงินอุดหนุนคู่ไปกับการฝึกอบรม การให้คำแนะนำ และการสนับสนุนด้านอื่นๆ เพื่อช่วยสร้างโอกาสในการหารายได้

ส่วนระยะปานกลาง ประเทศไทยควรพิจารณาโครงการที่จะให้ประโยชน์ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อรองรับกับการแพร่ระบาดของโรคและวิกฤติการณ์อื่นๆ และควรเสริมด้วยการมุ่งเป้าโครงการไปที่กลุ่มคนยากจน

มาตรการช่วยเหลือของประเทศไทยถือว่ามีขนาดใหญ่ และรวดเร็วในการออกมาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID19 หากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมูลค่าของมาตรการคิดเป็น 13% ของจีดีพี อย่างไรก็ดี ในขณะนี้อาจจะเร็วเกินไปที่จะประเมินผลของมาตรการต่างๆ ซึ่งในระหว่างนี้ธนาคารโลกกำลังอยู่ระหว่างติดตามและเก็บข้อมูลจากผลของมาตรการความช่วยเหลือในครั้งนี้

ด้านการส่งออก… คาดว่าปีนี้จะหดตัวราว -6.3% ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงรายไตรมาสที่แรงสุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากความต้องการสินค้าไทยในต่างประเทศยังอ่อนแอ เป็นผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก 

คาดการบริโภคภาคเอกชน… จะลดลง -3.2% จากมาตรการห้ามเดินทาง และรายได้ที่ลดลงซึ่งจำกัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยเฉพาะในไตรมาส 2 ของปีนี้

ธนาคารโลกมองนโยบายการคลังของไทยว่า… ยังมีเพียงพอสำหรับใช้รับมือกับการแก้ปัญหา COVID19 ซึ่งหากผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID19 ในประเทศ ยังคงต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสถัดไป รัฐบาลอาจขยายมาตรการจ่ายเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาทออกไปอีกได้ ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลยังมีงบประมาณเพียงพอสำหรับการใช้มาตรการการคลังในส่วนนี้

อย่างไรก็ดี… ในระยะยาวจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องกลับมาพิจารณาสถานะการคลังของประเทศเพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยการขยายฐานภาษีให้มีความครอบคลุม ซึ่งจะช่วยลดจำนวนหนี้สาธารณะของประเทศลงได้

นอกจากนั้น… ประเทศไทยควรลงทุนเรื่องนโยบายและโครงการตลาดแรงงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไป โครงการอบรมและบริการจ้างงาน ต้องมีการปฏิรูปเพื่อสะท้อนความต้องการของตลาดแรงงาน ด้วยการพัฒนา Social-Emotional Skills หรือทักษะอารมณ์-สังคม รวมถึงทักษะทางปัญญาขั้นสูงและทักษะด้านเทคนิคในระยะยาว 

โดยนโยบายจะต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความยืดหยุ่น ในขณะที่ขอบเขตทางการคลังจำกัดลง ควรการฟื้นฟู “Fiscal Buffers หรือ กันชนทางการคลัง” ขึ้นใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ประโยชน์จากรายรับของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมถึงสามารถดำเนินแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานตามที่วางแผนไว้

อ้างอิง

https://www.thansettakij.com/content/normal_news/440252
https://www.worldbank.org/en/country/thailand/publication/thailand-economic-monitor-june-2020-thailand-in-the-time-of-covid-19

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Lotus Eletre R… EV SUV 903 แรงม้า #สุดสัปดาห์พาดูรถ

แบรนด์รถยนต์จากอังกฤษที่สร้างชื่อมาจากสนามแข่ง และ รถสปอร์ตเครื่องเล็กแต่บ้าพลังอย่าง Lotus ที่ก่อตั้ง และ ปลุกปั้นโดยตำนานนักแข่งและวิศวกรยานยนต์ที่คนรู้จักมากที่สุดในโลกคนหนึ่งอย่าง Colin Chapman ซึ่งรถยนต์ Lotus ในยุค EV ได้แจ้งเกิด SuperEV และ Luxury EV ที่คนในวงการยานยนต์เชื่อกันว่า… Lotus ได้กลับสู่วงการยานยนต์ได้อย่างยิ่งใหญ่แบบไม่เสียชื่อตำนานได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจที่สุดอีกค่ายหนึ่ง

ผ่อนคลาย LTV และ สินเชื่อบ้านสัญญาที่ 2

ภายหลังการประกาศไม่ต่ออายุมาตรการผ่อนคลายอัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาที่อยู่อาศัย หรือ Loan-to-Value Ratio หรือ LTV จากธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ ซึ่งจะสิ้นสุดมาตรการผ่อนคลายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นี้ คำถามแรกๆ ที่เกิดขึ้นในกลุ่ม ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย แต่ยังไม่มีความพร้อมทางด้านเงินออมมากพอ คือ ต้องเร่งหาวิธี หรือทำอย่างไรให้มีความสามารถในการซื้อหรือขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้ผ่าน ก่อนช่วงสินสุดอายุมาตรการดังกล่าว

การสร้าง Sales Funnel Systems สำหรับขายและเช่าอสังหาริมทรัพย์

ช่วงนี้ไปไหนคุยกับใครที่เป็นคนอสังหา… ผมมักจะเจอคำถามสองสามคำถามที่พี่น้องเพื่อนฝูงถามว่า ปีหน้าจะต้องเตรียมอะไรบ้างสำหรับทำตลาด และ Real Estate Digital Marketing ต้องทำอะไรยังไงบ้าง?

Data Fabric Architecture… สถาปัตยกรรมข้อมูลเพื่อกลยุทธ์ธุรกิจ

Data Fabric เป็นแนวคิดในการถักทอข้อมูลด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลแบบโครงสร้างที่พร้อมสำหรับ “ถักทอ” ต่อๆ กันเพื่อสะสมและนำใช้โดยต้องค้นคืนได้ และ ใช้บอกเล่าหรือทำนายปรากฏการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้… โดยทั้งหมดจะนำไปสู่การออกแบบและปรับใช้ข้อมูลกับกลยุทธ์ที่สามารถต่อยอดไปสู่ความได้เปรียบเหนือการแข่งขัน หรือ Competitive Advantage ในท้ายที่สุด