Working From Home Economy หรือ WFH Economy เป็นคำที่ถูกนำมาปัดฝุ่นพูดถึงอย่างกว้างขวางในปี 2020 โดยก่อนหน้านั้น ได้ปรากฏในรายงานการวิจัยและบทความของ Dr.Nicholas Bloom จาก Stanford University ซึ่งถูกนำมาอ้างถึงในบทความเรื่อง The productivity pitfalls of working from home in the age of COVID-19 โดย Stanford News เผยแพร่ไปตั้งแต่ปลายมีนาคมปี 2020 ในขณะที่สถานการณ์โควิดทั่วโลกในเวลานั้น กำลังวิกฤตถึงขั้น Lock Down ทั่วโลกเหมือนๆ กันหมด… และองค์กรทั่วโลกที่เคยให้คนมาทำงานในสำนักงาน ต่างก็จัดรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Remote หรือ ทำงานทางไกล หรือ Work From Home กันหมด
Dr.Nicholas Bloom ซึ่งสนใจ Working From Home Economy และตีพิมพ์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับประเด็นนี้มาตั้งแต่ปี 2013 ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า… ความเคลื่อนไหวเพื่อให้สามารถทำงานจากที่บ้านได้ทั่วโลก มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาผลผลิตและประสิทธิภาพในช่วงโควิดระบาดนั้น… มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้ผลผลิต หรือ Productivity ตกต่ำลง และ ส่งผลกระทบการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อเนื่องไปอีกหลายปี… โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานอยู่บ้านเคียงข้างลูกๆ ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม โดยไม่มีทางเลือกและไม่มีวันว่าง… เฉพาะประเด็นเหล่านี้ ก็สามารถสร้างความหายนะด้านการผลผลิต หรือ Productivity ให้กับองค์กรได้มหาศาล
Credit: Photo by Ketut Subiyanto from Pexels
ประเด็นก็คือ… ความเห็นของ Nicholas Bloom ในครั้งนี้ ขัดแย้งกับข้อมูลสนับสนุนมากมายผ่านผลงานตีพิมพ์ของ Nicholas Bloom ในอดีตแบบคนละขั้ว…โดยเฉพาะงานวิจัยหัวข้อ Does Working from Home Work? Evidence from a Chinese Experiment, 2013 ซึ่งยกยอประโยชน์ของ Work From Home และได้รับความสนใจจากสื่อสารมวลชน ผู้นำธุรกิจและพนักงานที่ต้องการหลีกเลี่ยงการเดินทางที่ยาวนานในสภาพการจราจรแออัดคับขันในเมืองใหญ่ รวมทั้งบรรยากาศการเมืองในสำนักงาน และผู้ที่ต้องการพัฒนาสมดุลชีวิตส่วนตัวและการทำงาน หรือทำ Work Life Balance ให้ชีวิตส่วนตัวดีขึ้นกว่าเดิม
งานวิจัยในปี 2013 ของ Nicholas Bloom ได้แบ่งกลุ่มพนักงานของบริษัท CTrip ซึ่งเป็นธุรกิจท่องเที่ยวในจีนแผนดินใหญ่ออกเป็นสองกลุ่ม… กลุ่มควบคุม 500 คน และ กลุ่มทดลอง 500 คน… การทดลองแสดงให้เห็นว่า การทำงานจากที่บ้านในช่วง 9 เดือนทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 13 เปอร์เซ็นต์ หรือ เพิ่มขึ้น 22.24 นาทีต่อสัปดาห์… ในขณะที่อัตราการเลิกจ้างและลาออกลดลง 50%
Nicholas Bloom ชี้ว่า… ในวิกฤตโควิดต่างออกไป เพราะบริบทในวิกฤตโควิดมีตัวแปรอุปสรรค 4 ประการรบกวนการทำงานจากที่บ้าน ได้แก่… ลูก หรือ Children… พื้นที่นั่งทำงาน หรือ Space… ความเป็นส่วนตัว หรือ Privacy และ ตัวช่วย หรือ Choice
เมื่อสถานการณ์วิกฤตลากยาวจนถึงกลางปี 2021… ประเด็น WFH หรือ Work From Home กลับกลายเป็นแนวโน้มใหม่ที่หลายองค์กรมีความเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนที่จะ Work From Home เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร บนตัวชี้วัดและกลไกการจัดการธุรกิจแบบ Work From Home อย่างชัดเจน
การสำรวจของ Simform และ Onepoll ช่วงต้นปี 2021 ในประเด็น Work From Home กับองค์กรธุรกิจในสหรัฐอเมริกาพบว่า… องค์กรธุรกิจที่มีฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกามากกว่า 82% ต้องการจะ Work From Home Forever หรือ ให้ทำงานจากทางไกลตลอดไป
ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… Work From Home หรือ Remote Working กำลังจะเปลี่ยน “ความปกติใหม่ของระบบงานในสำนักงาน หรือ New Normal for Office Work” ซึ่งมีการทำนายถึง “การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นถึงระดับโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมองค์กร” อีกมากทีเดียวบนบริบทการจัดการธุรกิจด้วยแนวทาง Remote Working หรือ Hybrid Working เป็นอย่างน้อย
ส่วนอะไรจะเปลี่ยนอย่างไรและแค่ไหน? ผมคิดว่ามีแง่มุมและประเด็นเฉพาะมากมายที่ต้องแยกและสกัดข้อมูลมาพูดถึง… โดยเฉพาะในบริบทสำนักงานขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งในทางปฏิบัติดูเหมือนจะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงกันอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2020 ไม่น้อย ทั้ง Remote Working หรือ Hybrid Working… แต่ในทางสถิติและข้อมูลเชิงลึกที่เชื่อถือได้… โดยส่วนตัวแล้วผมยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการใดๆ ในมือจะเอามาแบ่งปันเลยครับ… แต่ก็เชื่อและมั่นใจมากว่า… Work From Home Forever หรือ Remote Working Forever เกิดในไทยด้วยแน่นอน…
ยินดีต้อนรับสู่ Working From Home Economy ครับ!
References…