Wellness Traveling… แนวโน้วและแนวทาง

WellnessTraveling Thailand Chivasom

ผลกระทบจากการระบาดหนักสาหัสของ COVID19 ตลอดปี 2020 ได้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่โครงสร้างทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและสังคมมากมาย โดยเฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวของผู้คนทั่วทุกมุมโลก ได้หยุดชะงักลงโดยปริยาย เมื่อมีมาตรการ Lockdown ทั้งระดับเมืองและระดับประเทศ ถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องสุขภาพของพลเมืองเหมือนกันทุกประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่บางประเทศในยุโรป ที่เคยละเลยและย่อนยานการควบคุมการระบาด จนจำนวนผู้ติดเชื้อและผลกระทบลุกลามเกินคาด… ก็ยังต้องกลับลำมาควบคุมเข้มข้นไม่ต่างกัน

เข้าปลายปี 2020 และจะจบปีในอีก 5-6 สัปดาห์ข้างหน้านี้ ข่าวดีเรื่องวัคซีน COVID19 ซึ่งคนในวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ส่วนใหญ่ทราบกันมาระยะหนึ่งแล้วว่า ก้าวหน้าพร้อมใช้และแจกจ่ายได้ในอีกไม่ช้า เพียงแต่ไม่มีใครกล้าออกตัวแรงเหมือนครั้งที่จีนและรัสเซีย ออกมาแข่งกันโปรยข่าววัคซีนเอาก้อนอิฐจากนักวิจารณ์ทั่วโลกกันอีก… แต่การมีวัคซีนก็ยังเป็นคนละเรื่องกับการฟื้นฟูการเดินทางท่องเที่ยวกลับ ให้กลับไปเหมือนเดิมก่อนยุค COVID19 คงยากแล้ว… แต่ COVID19 หรือมาตรการใดๆ ก็กั้นคนอยากเดินทางท่องเที่ยวไว้กับที่ไม่ได้เช่นกัน 

มิหนำซ้ำ… การเดินทางยิ่งยุ่งยากซับซ้อน กลับยิ่งท้าทายคนจำนวนมากให้หาทางไล่ล่าประสบการณ์ท่องเที่ยวเดินทาง แม้ต้องใช้ความพยายามกว่าในอดีตก็ตาม

เวบไซต์ TravelDailyNews.com ได้เผยแพร่บทความของ Tatiana Rokou เมื่อ 30 ตุลาคม 2020 ที่ผ่านมา พูดถึงแนวโน้มการท่องเที่ยวที่จะเกาะกระแส Health and Wellness หรือการท่องเที่ยวเพื่อเยียวยาร่างกายจิตใจ ที่จะมาแทนทัวร์ไฟไหม้ ลงเครื่องบิน–ขึ้นรถ–ลงเดิน–ถ่ายรูปลงโซเชี่ยลและซื้อของที่ระลึกขยะฝากคนที่บ้าน… ไปเป็นการใช้ชีวิต ทำงานและเยียวยาร่างกายจิตใจ ณ จุดหมายปลายทางที่เลือกไป

ทั้งหมดไม่มีอะไรใหม่ ยกเว้นรูปแบบกับแนวโน้มที่รายละเอียดส่วนหนึ่งเปลี่ยนแปลงค่อนข้างชัดเจน… ส่วนที่น่าสนใจและเป็นข้อสังเกตุหนึ่งของ Tatiana Rokou คือคำว่า Staycation… ซึ่งก็ไม่ใช่คำใหม่อะไร เพราะคำว่า Staycation มาจากการผสมของคำ 2 คำ คือ Stay หมายถึงอยู่บ้าน หรืออยู่ที่ใดที่หนึ่ง… กับคำว่า Vacation ที่หมายถึง ไปพักร้อนหรือไปพักผ่อน… เลยทำให้หมายถึง การได้หยุดพักผ่อนอยู่บ้าน ซึ่งจะฟังดูหงอยๆ หน่อยในยุคที่ Vacation หมายถึงการไปต่างถิ่นกินนอนไกลบ้านซักระยะ หรืออย่างน้อยก็ตลอดช่วงวันหยุดยาวหลายวัน… ซึ่ง Staycation จะเข้ามาเติมเต็มการท่องเที่ยวใกล้ๆ บ้าน ซึ่งกิจการที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยว ต้องหันมาสนใจลูกค้าจากคนท้องถิ่นเดียวกัน มากกว่าจะรอคนต่างถิ่นหรือต่างชาติ… ซึ่งอีกนาน

ที่สำคัญก็คือ หลัง COVID19 เป็นยุคของการทำงานออนไลน์เฟื่องฟู ซึ่งกิจกรรมการประชุมออนไลน์ และการอนุมัติสั่งงานต่างๆ ทางดิจิทัลถือเป็นเรื่องปกติชัดเจนในยุค POST COVID19… ซึ่งทำให้คนส่วนหนึ่งสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ แบบที่เรียกว่า Works Anywhere… แถมคนเหล่านี้บางส่วนมีบ้านหลายหลังในหลายเมือง และคนที่สามารถ Works Anywhere ทั้งหมดล้วนมีกำลังซื้อสูง… แถมยังมีแนวโน้มชัดเจนที่องค์กรส่วนใหญ่ จะจ้างงาน Anywhere Workers เป็น Outsource… และแถมซ้ำยังมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่า คนทำงานในองค์กรเองก็จะได้วันพักผ่อนประจำปียาวนานขึ้นอีกต่างหาก

แนวโน้มที่จะมีนักเดินทางไม่เร่งรีบ สามารถพักผ่อนและทำงานไกลจากนายจ้างได้… จึงก่อตัวจากแนวโน้มเป็นกระแสอย่างเงียบๆ และวันนี้ผมลอกการบ้าน TravelDailyNews.com เอาแนวคิดกิจกรรมบริการที่สอดคล้องกับกระแสและแนวโน้มการท่องเที่ยวแบบ Staycation และ Works Anywhere ซึ่งเป็นแขกของภาคท่องเที่ยวที่มองหาประสบการณ์ Wellness Traveling จากจุดหมายปลายทางที่เลือก

1. Healthy Hibernation Holidays หรือ หยุดและอยู่ยาวราวกับจำศีลเพื่อสุขภาพ… กิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ… พักกับเราหนึ่งเดือนได้กลับเรือนพร้อมซิกแพค

2. Staycation Wellness Boom… กิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างนวดหน้า สปาตัว อาหารคลีนสำหรับลูกค้าท้องถิ่น กำลังมาแรงจริงทั่วทุกมุมโลก ไม่เว้นแม้แต่เมืองไทย

3. Immunity Booster Retreats…  กิจกรรมการท่องเที่ยวพร้อมโปรแกรมเยียวยาร่างกายขั้นสูงและลึกซึ้งถึงกลไกชีวภาพซับซ้อนในร่างกาย กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก

4. Working Remotely on Holiday to Stay Healthy…  กิจกรรมการท่องเที่ยวที่สนันสนุนการทำงานออนไลน์สมบูรณ์แบบ ตั้งแต่มีไวไฟความเร็วสูงให้ลูกค้าประชุมออนไลน์ได้ไม่หลุดไม่หน่วง ไปจนถึงสัญญาณ Internet 5G รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษาทางเทคนิคการทำงานออนไลน์… และผมยินดีให้คำปรึกษาโรงแรมรีสอร์ททั่วไทยถ้าต้องการปรับงานบริการเพื่อ Working Remotely สำหรับแขกพักของกิจการ

5. Social Distance Wellness Trips to Far Flung Destinations… กิจกรรมการท่องเที่ยวที่สนันสนุนสังคม เหมือนทริปขึ้นดอยแจกผ้าห่ม สร้างห้องสมุดชุมชนหรือทำฝายแม้วป่าต้นน้ำนั่นเอง… กิจกรรมแบบนี้มีคนสนใจมากขึ้นมาก

6. Mindful and Sustainable Travel… กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเสพสุขทางใจและชดเชยเยียวยาจุดหมายปลายทางที่จะไป ให้ยั่งยืนและยังอยู่อย่างสมบูรณ์เช่นเดิมหรือกว่าเดิมด้วยน้ำแรงทั้งกายใจทรัพย์สินสิ่งของที่ผู้มาเยือนมีส่วน “ได้ช่วย” 

7. Multi-Generational Active Trips… กิจกรรมการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงสายสัมพันธ์ภายในครอบครัว  ที่โครงสร้างครอบครัวขยายที่เคยมีปู่ย่าตายายลูกหลานได้ใกล้ชิดกันจริงๆ หาได้ยากในสังคมและชีวิตจริง… แหล่งท่องเที่ยวหรือสถานที่ท่องเที่ยวที่ขายความสัมพันธ์คนหลายรุ่นในทริปเดียวกัน ถือเป็นจุดขายที่มาแรงมากในหลายประเทศเช่นกัน

8. Stress and Anxiety Reduction for Tailor-made Holidays… กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเยียวยาความเครียด และลดความหวั่นไหวเฉพาะคนเฉพาะกลุ่ม ก็เป็นอีกกระแสหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก… แขกพักที่ต้องการตั้งแต่จิตแพทย์ไปจนถึงเพื่อนคุยในวันสบายๆ อย่างวันหยุดและท่องเที่ยว ถือเป็นโอกาศงามๆ ในการปรับระดับความขัดแย้งกังวลภายในตัวเองให้ลดลง

9. Wellness Music and Sound Experiences… กิจกรรมการท่องเที่ยวสำหรับคนที่รักและชื่นชอบดนตรีและเสียงเพลง กับประสบการณ์ที่หาไม่ได้ในชีวิตประจำวัน แต่หาได้จากจุดหมายปลายทางในโปรแกรมท่องเที่ยวพักผ่อน

10. Private Jet Boom for Bespoke Wellness Travel… กิจกรรมการท่องเที่ยวด้วยเที่ยวบินส่วนตัวกำลังบูม ทั้งเพื่อประสบการณ์การเดินทางเฉพาะตัว และ เพื่อเป้าหมายเชิงสุขภาพตั้งแต่ชดเชยไปถึงเยียวยา เหมือนกรณีการขายที่นั่งบินเครื่องบินเพื่อบินวนไปกลับสนามบินเดิม ซึ่งหลายสายการบินกำลังทดลองตลาดกันอยู่

11. Big Bucket List Wellness Trip… กิจกรรมการท่องเที่ยวแบบเดินสายไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ หลากหลายจุดหมายปลายทาง ที่มีเป้าหมายการเดินทางเพื่อส่งเสริมเยียวยาสุขภาพ ไปทำหน้านวดตัวที่แม่ริม แล้วไปอาบน้ำแร่ต่อที่สันกำแพง และกลับมาเช่าจักรยานปั่นไปทำบุญ 9 วัดในตัวเมืองเชียงใหม่เป็นต้น… แม้จะมีลักษณะคล้ายโปรแกรมทัวร์ไฟไหม้ แต่ก็ไม่เร่งรีบร้อนรน เพราะมีเป้าหมายชัดเจนในตารางการเดินทาง

12. Personal Health and Physical Fitness… กิจกรรมการท่องเที่ยวแบบส่วนตัวเพื่อเสริมสมรรถนะร่างกายให้แข็งแรงและแข็งแกร่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมส่วนตัวสำหรับคนที่มีเป้าหมายด้านสุขภาพเป็นกรณีพิเศษ และถือเป็นตลาดท่องเที่ยวที่ Niche & Unique อย่างมาก

คัดมาพอเป็นไอเดียประมาณนี้ครับ ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไร… แนวโน้มนี้ได้เกิดขึ้นและชัดเจนว่า คำว่าการท่องเที่ยวจะไม่ได้มีภาพแค่ห้องพักกับอาหารและการเดินทางอีกต่อไป… แต่จะต้องตอบลูกค้าท่องเที่ยวให้ได้ว่า “ทำไมต้องมานอนค้างต่างถิ่นที่นี่… หลายๆ วัน?”

Reference

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

3D FOOD PRINTING

3D Food Printing… ความรู้เบื้องต้น

นวัตกรรมด้านอาหารและการเกษตรเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พัฒนาการของสินค้าอาหารหลากหลายรูปแบบ จึงถูกออกแบบเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในด้านคุณภาพเนื้อสัมผัส โภชนาการ รวมถึงสุนทรียภาพในการรับประทานอย่างพิถีพิถันขึ้น… จนนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต เห็นภาพชัดเจนบนวิสัยทัศน์ของผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะบุคคล หรือ Personalised Dietary ที่สามารถปรับแต่งคุณสมบัติอาหารในทุกมิติ โดยเฉพาะคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม ต่อความต้องการทางร่างกายของบุคคลแต่ละกลุ่ม เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ นักกีฬา ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือทหารในกองทัพที่ต้องรับการฝึกร่างกายเข้มข้นเป็นพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน… เห้อออ!

ในขณะที่อู่ตะเภาและ EEC ร้อนแรงชนิดที่มีเอกชนแห่ไปซื้อซองกับกองทัพเรือกว่าสี่สิบราย แต่ฝั่ง SEZ หรือ Spacial Economic Zone หัวเมืองชายแดนอย่าง แม่สอด มุกดาหาร นครพนม และหนองคาย กรมธนารักษ์ต้องปัดฝุ่นเงื่อนไขต่างๆ เพื่อเปิดให้เอกชนยื่นซองประกวดราคารอบสองรอบสามกันแล้ว

Star Trek’s Warp Drive… วิทยาศาสตร์การเดินทางข้ามจักรวาลด้วยความเร็วเหนือแสง

Dr. Erik W. Lentz นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกิตทิงเงน หรือ Göttingen University ในเยอรมนี ผู้ตีพิมพ์ผลการศึกษาวิธีสร้าง “วอร์ปไดรฟ์” หรือ Warp Drive” ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่สามารถบิดงอปริภูมิเวลา หรือ Space Time ให้ยานอวกาศสามารถเดินทางข้ามจักรวาลได้ในพริบตาด้วยความเร็วเหนือแสง… โดยไม่ละเมิดกฎเกณฑ์ในทฤษฎีสัมพัทธภาพของ Albert Einstein แต่อย่างใด

ทรัพยากรน้ำ

กฎกระทรวงองค์กรผู้ใช้น้ำ พ.ศ. 2564 และ การจดทะเบียนก่อตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ

คุณสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. ได้แถลงข่าวเพื่อสร้างการรับรู้เรื่องการจดทะเบียนก่อตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ ทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่ ซึ่ง สทนช. ได้เคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นการสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน และส่งเสริมให้ผู้ใช้น้ำในทุกภาคส่วน เกิดการตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญขององค์กรผู้ใช้น้ำ ในการสร้างการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมิติใหม่ของประเทศ