เส้นทางขนส่งสินค้าจากมหาสมุทรอินเดียมาอ่าวไทย แต่เดิมใช้ช่องแคบมาลายูมายาวนานจวบจนปัจจุบัน แต่พลันที่ไทยกับพม่าจับมือกันผลักดันโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายอันลือลั่น และสำรวจเส้นทางรถไฟทางคู่เชื่อมทวายกับแหลมฉบังเมื่อห้าหกปี่ที่ผ่านมา…
เส้นทางโลจิสติกส์สายนี้… จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นเส้นเลือดใหญ่ของโครงข่ายโลจิสติกส์โลกตั้งแต่วันเปิดใช้เส้นทาง อย่างแน่นอน!!!
มาดูกันว่า… 322 กิโลเมตรที่ตัดผ่านจากแหลมฉบังถึงพุน้ำร้อน มีตรงไหนน่าสนใจอีกบ้าง?
มาดูเส้นทางกันก่อนครับ เริ่มที่
- สถานีบ้านพุน้ำร้อน (กาญจนบุรี | ก่อสร้างใหม่)
- สถานีท่ากิเลน (กาญจนบุรี | สถานีรถไฟเดิม)
- สถานีบ้านเก่า (กาญจนบุรี | สถานีรถไฟเดิม)
- สถานีวังเย็น (กาญจนบุรี | สถานีรถไฟเดิม สร้างทางรถไฟสายอ้อมเมืองกาญจนบุรีขึ้นใหม่ไปสถานีท่าเรือน้อย)
- สถานีท่าเรือน้อย (กาญจนบุรี | สถานีรถไฟเดิม สร้างทางรถไฟใหม่ขนานไปกับเส้นทางเดิมสู่ราชบุรี)
- สถานีชุมทางหนองปลาดุก (ราชบุรี | สถานีรถไฟเดิม สร้างทางรถไฟใหม่ขนานไปกับเส้นทางเดิมสู่นครปฐม)
- สถานีท่าแฉลบ (นครปฐม | สถานีรถไฟเดิม สร้างทางรถไฟสายใหม่ข้ามเส้นทางรถไฟสายแม่กลองและแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการและฉะเชิงเทรา)
- สถานีพานทอง (ชลบุรี | สถานีรถไฟเดิม)
- สถานีท่เรือแหลมฉบัง
ระยะทาง 322 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 8 จังหวัด… เส้นทางรถไฟทางคู่เส้นนี้ ชัดเจนว่าเป็นเส้นทางขนส่งสินค้า ที่ออกแบบไว้ขนส่งสินค้าจากทวายโปรเจคและเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันตก (WEC : Western Economic Corridor) กับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC : Eastern Economic Corridor) และท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ดังนั้น หากมองในมุมมองนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์พื้นที่ที่น่าสนใจได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษพุน้ำร้อนและพื้นที่รอบ ๆ ชุมทางหนองปลาดุกจังหวัดราชบุรี ที่สามารถเปลี่ยนเส้นทางสู่ เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC : Southern Economic Corridor)
นโยบายเรื่องเส้นทางรถไฟทางคู่สายนี้ ชัดเจนและเป็นรูปเป็นร่างหมดแล้วครับ… แต่แลนด์แบงค์ที่เส้นทางรถไฟสายนี้ตัดผ่าน หลายฝ่ายกำลังเคลื่อนไหวกันคึกคัก ผมเองพอมีข้อมูลเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยน แต่ยังไม่กล้าฟันธงข้อมูลที่มีเพื่อยืนยันอะไรในตอนนี้ครับ
…ต้องทำการบ้านอีกพอสมควรแล้วจะมา update ให้เร็วๆ นี้ครับ!