Microlearning เป็นคำใหม่ในวงการการศึกษา ที่ผมเองก็สนใจและเฝ้าติดตามพัฒนาการของเทคนิคการ Relearn และ Upskill ด้วยหน่วยความเรียนรู้ย่อยๆ ที่ไม่เข้าไปใช้เวลาและทรัพยากรของผู้เรียนมากเกินไป… Microlearning ถือเป็นพัฒนาการของ eLearning อีกขั้น ที่องค์ความรู้ชุดเล็กที่สุด ถูกผลิตและแจกจ่ายเป็น Digital Contents ในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อใช้รูปแบบเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยไม่รบกวน “เวลาและทรัพยากร” ของเป้าหมายถึงขั้นต้องวางแผนก่อนค่อยมีโอกาสได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตัวเอง
โดยหลักการเบื้องต้น… การออกแบบและจัดการเรียนรู้ด้วย Microlearning จะครอบคลุมประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้คือ
- Time หรือ เวลา
- Content หรือ เนื้อหา
- Curriculum หรือ หลักสูตร
- Form หรือ รูปแบบ
- Process หรือ ขั้นตอน
- Mediality หรือ สภาวะความเป็นสื่อ
- Learning Type หรือ ประเภทการเรียนรู้
ออกตัวก่อนน๊ะครับว่า… ผมเองก็ใหม่มากกับ Microlearning แม้จะพอมีประสบการณ์มาจาก eLearning สาย LMS มาตั้งแต่ยุคแรกๆ ของอินเตอร์เน็ต ซึ่งความรู้และประสบการณ์ที่เก่ากว่าสามปีห้าปี ถ้าไม่ Unlearn ทิ้งไป แล้ว Relearn ชุดความรู้เพื่อใช้งานทดแทนกันที่ใหม่กว่าให้ทัน… ภาวะแก่อยู่กับความรู้เก่า จะพอกติดตัวหนาขึ้นทุกวันแน่นอน…
ดังนั้น ข้อมูลวันนี้ที่ว่าด้วย Microlearning ผมจึงขอแตะๆ เบาๆ เท่านี้ก่อน เอาเป็นว่า Microlearning สอดคล้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้กับทุกทฤษฎีการศึกษา และทำให้สมองพึงพอใจกับความสำเร็จเล็กๆ ที่ได้รู้นั่นรู้นี่ แบบไม่ต้องสละเวลาไปเรียนเป็นคอร์ส เป็นเทอม หรือแม้แต่นั่งดูวิดีโอบรรยายน่าหลับยาวเหยียด…
และผมจะพาไปรู้จักกับ Startup ที่เอาแนวทาง Microlearning มาพัฒนาโมเดลธุรกิจจนชนะเลิศมาจากเวที SCB 10X We Are In This Together และเมื่อเร็วๆ นี้ยังได้ประกาศรับเงินลงทุนจาก Angel Investor และ Follow-on Funding จาก StormBreaker Venture รวม 4 ล้านบาท เพื่อเตรียมตัวระทุน Series A ในขั้นต่อไป
ผมกำลังพูดถึง Vonder หรือ Vonder.co.th แพลตฟอร์ม EdTech กล้าฝัน และอยู่ถูกที่ถูกเวลาในช่วงที่สถานการณ์ Lockdown จากโคโรน่าไวรัสที่ผ่านมา ทำให้องค์กรที่รู้จัก Vonder เข้ามาขอใช้บริการเพื่อใช้เป็นช่องทางพัฒนาความรู้เร่งด่วนให้ทีมที่จำเป็นต้อง Work From Home ในขณะนั้น
คุณชิน วังแก้วหิรัญ ในฐานะ Founder และ CEO ของแพลตฟอร์ม Vonder เล่าว่า… ช่วงก่อน COVID19 จะมีผู้ใช้งานที่แอ็กทิฟในแต่ละวันประมาณ 60-70% แต่พอช่วง COVID19 ทุกคนมาใช้ Vonder กันหมด มีการปล่อยคอนเทนต์ในระบบเต็มไปหมดเลย ฝ่าย HR ส่งเกมไปให้เล่นในระบบทุกวัน…
Vonder เป็น EdTech ที่ให้บริการแพลตฟอร์มในรูปแบบของ Gamifications จาก Pain Point ของ Video Based eLearning… ซึ่งการดูวิดีโอไม่ใช่ธรรมชาติของการเรียนรู้ เพราะไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความตื่นตัว ที่สำคัญคือ การดูวิดีโอบ่อยครั้งทำให้เกิดความเบื่อหน่าย จึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้เขาจึงเสนอช่องทางการเรียนรู้แบบ Microlearning ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่มีคอนเทนต์แบบสั้นๆ ใช้เวลารวดเร็ว ไม่น่าเบื่อ เหมือนเล่นเกมที่มีความสนุกสนานไปด้วย
คุณชิน วังแก้วหิรัญ อธิบายเพิ่มเติมว่า… จุดแข็งของ Vonder คือ สามารถเข้าถึงได้ง่ายหลายช่องทาง โดยสามารถเล่นผ่านแอปพลิเคชันของ Vonder หรือ แอปขององค์กรก็ได้… และที่นิยมที่สุดคือ การเล่นบน LINE โดยปัจจุบันมีบริการ 4 รูปแบบ คือ
- Vonder Flash ซึ่งทำเป็นแบบทดสอบแบบเร็วๆ ด้วยรูปแบบคำถาม และเป็น Adaptive Learning
- Vonder Jump ทดสอบการตอบสนองของผู้เรียน ด้วยการตอบคำถามแต่ละข้อในเวลาจำกัด 3 วินาที
- Vonder Quest การเรียนรู้ในลักษณะเกม ที่ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นการผจญภัย
- Vonder Go เป็นการตอบคำถามแบบต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม ทั้งนี้ในแต่ละเกมจะตอบโจทย์วิธีการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน บางเกมวัดความแม่นยำ บางเกมวัดความเร็วและความคล่องตัว
เชียร์ครับ…
References…