การก่อตั้งและมีอยู่ของธนาคารกลาง หรือ ธนาคารแห่งชาติอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแม้แต่ FED หรือ Federal Reserve หรือ ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกาก็คือ… การทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีหลักสำคัญ หรือ หัวใจของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจก็คือระดับราคาของตัวแปรทางเศรษฐกิจ… อันเป็นที่มาของการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ หรือ Inflation Targeting ซึ่งได้กลายเป็นมาตรฐานการเงินการคลัง และ ตัวแปรทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญทั่วโลกในยุคหลังโวคเคอร์ หรือ Post Volcker… ซึ่งตั้งชื่อตามอดีตประธานเฟด และ บุคคลสำคัญในวงการเศรษฐศาสตร์มหภาคของสหรัฐอเมริกาอย่าง Paul Volcker
บทบาทของ Paul Volcker ในฐานะประธานเฟดในช่วงปี 1979-1987 ได้กลายเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินนโยบายการเงินและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีกฏการควบคุม “การซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อการเก็งกำไร หรือ Proprietary Trading” ของสถาบันการเงิน รวมถึงการห้ามไม่ให้สถาบันการเงินจัดตั้ง Hedge Fund ซึ่งรู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อว่ากฎของโวคเคอร์ หรือ Volcker Rule
ปัญหาเศรษฐกิจในยุค 70s ซึ่งเศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาได้เผชิญหน้ากับวิกฤตราคาน้ำมัน หรือ Oil Crisis ครั้งเลวร้ายยิ่งกว่าวิกฤตน้ำมันที่เรากำลังเผชิญหน้าในปี 2022… ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวในยุค 70s ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Federal Reserves ซึ่ง William G. Miller นั่งเป็นประธานระหว่างปี 1978–1979 เลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นเพิ่มขึ้นสูงถึง 11.3% ในปี 1979… และด้วยเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐในยุคนั้นคือการทำให้อัตราการว่างงานต่ำกว่าร้อยละ 4… แต่อัตราการว่างงานในขณะนั้นกลับอยู่ในระดับสูงอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว สิ่งที่ธนาคาร FED ทำในตอนนั้นจึงทำการ “ลดอัตราดอกเบี้ย” เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่รัฐบาลเองก็เผชิญกับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง จึงใช้วิธีการควบคุมระดับราคาและค่าจ้างเป็นกลไกหลักในการควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งก็ไม่ได้ผลและยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจที่กำลังมีปัญหา
นโยบายในแนวทางที่กระทำในขณะนั้น ดูเหมือนจะสวนทางกับความเชื่อ และ แนวคิดของ Paul Volcker ที่มองว่าธนาคารกลางควรมุ่งมั่นไปที่การรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม… แนวคิดดังกล่าวทำให้ Paul Volcker ถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ หรือ Jimmy Carter ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ ในเดือนสิงหาคมปี 1979… และ ภาพในวันรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการของ Paul Volcker ในฐานะประธานธนาคารกลางคนใหม่ที่ผู้มีส่วนสูง 2.01 เมตร กำลังจับมือกับประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ที่สูงเพียง 1.77 เมตร จึงทำให้ Paul Volcker ได้รับฉายาจากสื่อมวลชลว่า Tall Paul…
ด้วยความสามารถบวกกับวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจที่ชัดเจน ประธานธิบดีคนต่อมาอย่างประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน หรือ Ronald Reagan ก็ยังคงวางใจการทำงานของ Paul Volcker จนทำให้การปฏิรูปเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกายุคประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ประสบความสำเร็จจนกลายเป็นมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมกับพันธมิตรมหาอำนาจทางทหารจากสงครามโลกครั้งที่สองอย่างอังกฤษ ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีมาร์กาเรต แทตเชอร์ หรือ Margaret Thatcher และ Paul Volcker ลงจากตำแหน่งประธาน FED ในวันที่ 11 สิงหาคม ปี 1987
แต่ในวิกฤติ Subprime Mortgage Crisis ซึ่งเป็นวิกฤตการเงินของสหรัฐอเมริกาครั้งใหญ่ในปี 2007–2008 ในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา หรือ Barack Obama นั้น… Paul Volcker ถูกขอให้ดำรงค์ตำแหน่งประธานคณะที่ปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือ Economic Recovery Advisory Board ในปี 2009… โดยคณะทำงานภายใต้การนำของ Paul Volcker ได้เสนอให้ ควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อการเก็งกำไรแบบที่เรียกว่า Proprietary Trading ของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะการจัดตั้งเพื่อเป็นเจ้าของและหรือลงทุนกับ Hedge Fund หรือ Private Equity Fund โดยมุ่งจำกัดหนี้สินที่ธนาคารสามารถถือครองได้… ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวถูกเรียกว่า… กฎของโวคเคอร์ หรือ Volcker Rule… ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นแก่นสำคัญของกฎหมายที่เรียกกันว่า Dodd-Frank Wall Street Reform and Consumer Protection Act of 2010 โดยประกาศใช้ในวันที่ 21 มกราคม 2010… ซึ่งเป็นการปฏิรูปเดียวที่ประสบความสำเร็จภายหลังวิกฤตการเงินที่นายธนาคารยังคงรวยล้นต่อมาได้โดยไม่สะเทือน
Paul Volcker จากไปในวันที่ 8 ธันวาคม ปี 2019 โดยทิ้งแนวทางการจัดการปัญหาเงินเฟ้อที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันเอาไว้ให้ พร้อมกับกฏเหล็กที่ธนาคารทรงอิทธิพลระดับ “ใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ล้ม หรือ Too Big To Fail” ก็ถูกกฎของโวคเคอร์ หรือ Volcker Rule กำกับเอาไว้แล้ว… แต่ตัวแปรเงินเฟ้ออย่างสงคราม และ การตอบโต้ในสงครามเศรษฐกิจระหว่างชาติมหาอำนาจในวิกฤตเงินเฟ้อจากผลของสงครามรัสเซีย–ยูเครน… ดูเหมือนจะไม่มีใครทำอะไรได้มากนอกจากรอให้สงครามสงบ
References…