การบังคับใช้กฏหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใต้พระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 รวมทั้งกฏหมายอื่นๆ ที่มีคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ใช้ทำงานเพื่อดูแลผลประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวกับการลงทุน… โดยมีคำถามและการพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการออกโทเคนดิจิทัล หรือ Token เพื่อใช้กับโมเดลธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งหลายท่านก็ยังงุนงงสงสัยเกี่ยวกับ “โทเคนเพื่อการระดมทุน หรือ Security Token และ โทเคนอรรถประโยชน์ หรือ Utility Tokens” โดยเฉพาะโทเคนเพื่อการระดมทุนที่จำเป็นจะต้องจัดการโทเคนผ่าน ICO Portal ที่รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต.
บทสรุปจากคุณนเรศ เหล่าพรรณราย ในฐานะเลขาธิการสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และ CEO ของ Ricco Wealth ให้ข้อมูลว่า… หลักเกณฑ์สำคัญที่ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะออกโทเคนดิจิทัลต้องรู้ก็คือ… โทเคนประเภท Utility Token ที่อ้างอิงกับโปรเจกต์ หรือ ธุรกิจ… ต้องเป็นโทเคนที่พร้อมใช้งานกับโครงการ หรือ ธุรกิจนั้นทันที… ตัวอย่างเช่น โทเคน A ระบุว่าสามารถนำมาแลกสินค้าและบริการได้ เมื่อมีการเสนอขายโทเคน ผู้ถือโทเคนจะสามารถนำไปใช้แลกสินค้าและบริการตรงตามคุณสมบัติของโทเคนได้ทันที ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวจะเรียกว่า โทเคนดิจิทัลพร้อมใช้… ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าขั้นตอนการออกโทเคนผ่าน ICO Portal และ ไม่ต้องเข้าขั้นตอนการพิจารณาใดๆ จากทาง ก.ล.ต. ก็ใช้ได้… แต่มีผลผูกพันธ์กับกฏหมายธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอยู่
ในกรณีของการออกโทเคนเพื่อทำ ICO หรือ Initial Coin Offering ซึ่งเป็นการออกโทเคนเสนอขายเพื่อนำเงินไปพัฒนาโครงการ และ นักลงทุน หรือ ผู้ซื้อโทเคนจะได้รับสิทธิตามที่ระบุในคุณสมบัติของโทเคนอย่างสมบูรณ์ในอนาคต รวมทั้ง Utility Token แบบไม่พร้อมใช้… กรณีนี้จะเข้าข่ายการเป็นโทเคนเพื่อการระดมทุน หรือ Security Token หรือ Investment Token ผู้ออกโทเคนต้องเข้าสู่ขั้นตอนการทำ ICO โดย ICO Portal ที่ได้รับการอนุมัติจาก ก.ล.ต. และ ต้องเข้าสู่ขั้นตอนในการพิจารณาจาก ก.ล.ต. โดยตรงด้วย
ส่วนกรณีของการออก “โทเคนประเภทที่มีสินทรัพย์หนุนค่า หรือ Asset Backed Tokens” ไม่ว่าจะเป็นหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ พันธบัตร และ สินทรัพย์มีมูลค่าอื่นๆ ซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้ “มีคุณสมบัติของการเป็นหลักทรัพย์” ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และ ผู้ที่ต้องการออกโทเคนดิจิทัลประเภทมีหลักทรัพย์หนุนค่า ต้องผ่านกระบวนการออกโทเคนดิจิทัลกับ ICO Portal เช่นกัน
ที่สำคัญ… การออกโทเคนดิจิทัลทุกแบบจะต้องไม่ผูกพันธ์เกี่ยวข้องกับเงินบาท ทั้งระบุค่าอ้างอิง หรือ การใช้ทดแทนเงินบาทที่เข้าข่ายต้องห้ามตามกฎเกณฑ์จากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่อนุญาติให้มีสกุลเงินอื่นที่เทียบเคียงทดแทนเงินบาทอันเป็นการสร้างระบบการเงินทับซ้อน…
หลักๆ เกี่ยวกับการออกโทเคนในประเทศไทยมีเท่านี้ครับ… ท่านที่สนใจออกโทเคนอรรถประโยชน์ หรือ Utility Tokens รวมทั้งเทคโนโลยี และ โมเดลธุรกิจ… ทักทางไลน์ส่วนตัวที่ ID: dr.thum ครับ
References…