TyBot… หุ่นยนต์งานผูกเหล็กก่อสร้าง

Advanced Construction Robotics

เหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง เสา คาน และส่วนต่างๆ ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักอาคาร โดยเหล็กเสริมจะประกอบด้วยเหล็กข้ออ้อย และเหล็กเส้นกลมซึ่งถูกจัดวางตามระยะการติดตั้งที่วิศวกรกำหนด เพื่อให้เหล็กแต่ละเส้นอยู่ในตำแหน่งโดยไม่ขยับตัวในขณะที่เทคอนกรีตไปจนถึงคอนกรีตเซตตัว ส่วนใหญ่จึงยึดเหล็กแต่ละเส้นเข้าด้วยกันด้วยการผูกเหล็กโดยใช้ลวดผูกเหล็ก มัดตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการก่อสร้าง 

การผูกเหล็กข้ออ้อยซึ่งเป็นเหล็กเสริมหลักเข้ากับเหล็กเส้นกลมซึ่งเป็นเหล็กปลอกในงานโครงสร้างฐานราก เสา และคาน หรือการผูกเหล็กข้ออ้อยกับเหล็กข้ออ้อยในงานพื้นคอนกรีตหล่อในที่ ซึ่งลวดผูกเหล็กที่ใช้ในการผูกเหล็ก ไม่ได้มีผลต่อการรับแรงหรือรับน้ำหนักของโครงสร้างแต่อย่างใด เพียงแต่ทำหน้าที่ในการยึดเหล็กเส้นให้อยู่ในตำแหน่งระหว่างเทคอนกรีตไปจนถึงคอนกรีตเซตตัวเท่านั้น หลายกรณีวิศวกรอาจแนะนำหรือออกแบบให้ใช้วิธีเชื่อมไฟฟ้าทดแทนการผูกเหล็กได้โดยต้องระมัดระวังไม่ให้เหล็กสูญเสียเนื้อเหล็กจนกระทบความแข็งแรงของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กได้

แต่ทางที่ดีที่สุดก็ยังแนะนำให้ใช้การผูกเหล็กดีกว่า แต่งานผูกเหล็กโดยแรงงานช่าง ถือว่าเป็นงานที่สิ้นเปลืองเวลาอย่างมากโดยเฉพาะกรณีของการเตรียมพื้นที่หล่อคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ต้องวางเหล็กเส้นและผูกเหล็กในที่ทั้งหมด

Advanced Construction Robotics, Inc. จาก Allison Park, Pennsylvania จึงพัฒนาเครื่องกลอัตโนมัติเพื่องานผูกเหล็กเส้นเรียกว่า Rebar-Tying Robot ที่เพียงแค่ยกไปติดตั้งและสั่งให้ทำงานโดยไม่ต้องตั้งค่าอะไรเพิ่มเติม เพราะ Rebar-Tying Robot ขับเคลื่อนด้วย AI ที่ทาง Advanced Construction Robotics ระบุว่าการใช้งานเป็นแบบ Plug and Play แค่นั้น

ดูคลิปเพิ่มน๊ะครับ!

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

แอปทางรัฐ… แอปผู้ช่วยคนไทย

บริการของภาครัฐมากมายจากหลากหลายหน่วยงานในยุคที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาบริการทุกอย่างให้เป็นดิจิทัลกันหมด… ซึ่งที่ผ่านมาก็จะปรากฏแพลตฟอร์ม และ แอปพลิเคชั่นมากมายจากหน่วยงานรัฐที่ต่างคนต่างก็ทำของตัวเองออกมาบริการประชาชน… DGA หรือ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จึงได้รวบรวมบริการดิจิทัลจากรัฐทั้งหมดเอาไว้ในแอป “ทางรัฐ” แบบรวบรวมทุกอย่างไว้ที่เดียว… ซึ่งดูทรงแล้วจะเรียกว่า Super App จากรัฐบาลดิจิทัลก็ไม่ผิด ทางรัฐ เป็นแอปเพื่อเข้าถึงบริการจากภาครัฐได้ที่รวบรวมบริการกว่า 80 บริการจากภาครัฐเอาไว้ในแอปเดียว เช่น ตรวจสอบเครดิตบูโร จัดการค่าน้ำ–ค่าไฟ ข้อมูลผู้ประกันตน เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เช็กใบสั่งจราจร

AgTech IoT… ยุคของการเพาะปลูกในร่มมาถึงแล้ว

กลางสัปดาห์ที่แล้วผมเจอคำถามที่น่าสนใจ จากบทความที่เผยแพร่บน Foundersguide.com ใช้คำถามเปิดหัวข้อว่า “Could The Future of Farming Be Indoors?”… ซึ่งหลายท่านจะทราบว่าผมสนใจ AgTech มานานและกระแสหลายอย่างชี้ชัดว่า… ปี 2020 จะเป็นปีทองของ AgTech StartUp ที่การทำเกษตรจะเปลี่ยนนิยามไปเป็นการผลิตอาหารอย่างยืดยุ่นและยั่งยืนกว่าที่เคยเป็นมา

Property Tax

กฎหมายลูกภาษีที่ดิน และกติกาที่ดินว่างเปล่าปลูกพืชเพื่อใช้สิทธิจ่ายภาษีที่ดินเพื่อเกษตกรรม

การประเมินการจัดเก็บภาษีเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่จะไปประเมินประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ซึ่งในกฎหมายระบุไว้ชัดเจน กฎหมายไม่ได้ระบุว่า เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องมาแจ้งประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนั้นประชาชนทั่วไปไม่ต้องเดินทางไปแจ้งที่สำนักงานเขต แม้ว่าจะเลื่อนการยื่นเสียภาษีออกไปเป็นเดือนสิงหาคม 2563 ก็ตาม

ปัญหาคุณภาพอากาศ กับโอกาสจากปัญหา

วันที่ 4 กรกฎาคมที่จะถึงนี้เป็น “วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย” ครับ ซึ่งกรมควบคุมมลพิษได้เลือกเอาวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจ้าฟ้านักพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของพวกเรา… เป็นโอกาสในการผลักดันและรณรงค์ใหญ่เพื่อให้ทุกภาคส่วน ใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่เราและลูกหลานต้องอยู่อาศัย