COVID

ช่วงเวลาสำคัญที่ไทยและบางประเทศอย่างเวียดนาม สิงคโปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมทั้งนอร์เวย์ เดนมาร์กเริ่มผ่อนคลายการควบคุมทางระบาดวิทยา จากผลกระทบของ COVID19… ถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่จะต้องช่วยกันค้นหา Best Practice หรือ แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อให้เศรษฐกิจและชีวิตผู้คน ได้ไหลเวียนให้เป็นปกติ แม้จะเป็นความปกติที่ต่างออกไปจากเดิม หรือที่เรียกกันว่า New Normal ก็ตาม… 

การเดินทางถือเป็นหัวใจสำคัญของการไหลเวียนเปลี่ยนเคลื่อน ที่ต้องพูดถึงและหาทางในวันที่ใครก็ไม่สามารถกลับไปเดินทางแบบเดิมได้อีก… ในห้วงเวลานี้จึงได้ยินคำว่า Traveling Bubble หนาหูขึ้นทุกวัน แม้ว่าประเทศอื่นๆ ค่อนโลกยังคงวุ่นวายอยู่กับหน้ากากอนามัยและตัวเลขผู้ติดเชื้อยังมีเพิ่มทุกวัน

เวบไซต์ BBC ได้เผยแพร่บทความจากข่าวชื่อ Coronavirus: ‘Travel bubble’ plan to help kick-start flights อ้างอิงการสัมภาษณ์ Alan Joyce ในฐานะ CEO สายการบิน Qantas และ Chris Roberts ในฐานะ CEO ของ Tourism Industry Aotearoa หรือการท่องเที่ยวแห่งนิวซีแลนด์ ซึ่งใช้ภาษาเมารีที่เรียก New Zealand ว่า Aotearoa ในชื่อหน่วยงาน

ซึ่งบุคคลสำคัญในแวดวงการท่องเที่ยวจากสองชาติให้ความเห็นตรงกันถึงการพัฒนา และร่วมมือทำ Travel Bubble ระหว่าง Australia และ New Zealand และเสนอให้ทำ Quarantine-Free หรือยกเว้นการกักตัวระหว่างสองเพื่อนบ้าน Down Under

ส่วนความเคลื่อนไหวของจีนและสิงคโปร์ มีการพูดคุยเพื่อเปิดเส้นทางการบินเชื่อมต่อระหว่างกัน ภายใต้ชื่อมาตรการ “COVID-19 Travel Bubble”

ภายใต้มาตรการ Travel Bubble ระหว่างจีนและสิงคโปร์นี้ คนเดินทางจะต้องได้รับการรับรองที่เชื่อถือได้ที่จะกำหนดรายละเอียดอีกครั้ง เพื่อใช้สำหรับการเดินทางที่จำเป็น โดยไม่ต้องมีการกักตัวเพื่อดูอาการ 2 สัปดาห์ ซึ่งชาวสิงคโปร์สามารถเดินทางไปยัง 6 เมืองใหญ่ในประเทศจีน ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง เทียนจิน ฉงชิ่ง เจียงซู่ และซีเจียง และยังจำกัดเพื่อธุรกิจหรือเดินทางภายใต้ภารกิจของทางการเท่านั้น 

ส่วนความเคลื่อนไหวฝั่งสแกนดิเนเวียอย่าง เดนมาร์กกับนอร์เวย์ก็กำลังดำเนินการให้มีการไปมาหาสู่กันแบบ Travel Bubble ซึ่งนายกรัฐมนตรีหญิง Mette Frederiksen แห่งเดนมาร์กออกมายืนยันการเปิดพรมแดนระหว่างเดนมาร์กกับนอร์เวย์… โดยไม่รวมสวีเดนที่ไม่ใช้มาตรการควบคุม COVID19 ที่เหมาะสม

ไทยเองก็มีกระแสเรื่อง Travel Bubble และ Travel Corridor โดยหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเคลื่อนไหวคึกคัก และดูเหมือนจะไม่มีใครคัดค้าน ซึ่งต่างก็กำลังค้นหา Best Practice หรือ แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อช่วยกันนำโอกาสการทำมาหากินกลับมาด้วยกัน

คงมีข่าวดีมาอีกเรื่อยๆ และหวังว่าผู้มีบารมีทั้งหลายจะไม่ปล่อยให้สิ่งมีชีวิตชุบเลี้ยงดูแลมาทำเสียบรรยากาศช่วงนี้ก็พอ

อ้างอิง

https://www.bbc.com/news/business-52526272
https://www.bbc.com/news/world-europe-52853556
https://www.thaipost.net/main/detail/68524

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Libra 2

LibraCoin 2.0… การเกิดใหม่เพื่อไปสุดทาง

ก้าวใหม่ของ Libra Coin เริ่มด้วยการขอใบอนุญาตเป็น “ระบบการชำระเงิน” จาก The Swiss Financial Market Supervisory Authority หรือ FINMA หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของประเทศสวิตเซอร์แลนด์… ต่อด้วยการขอใบอนุญาตเป็น “ผู้ให้บริการเงินสด” จากเครือข่ายดูแลอาชญากรรมทางการเงินของสหรัฐ หรือ The Financial Crimes Enforcement Network หรือ FinCEN

Segway-Ninebot… ที่สุดของ eScooter

Segway-Ninebot ถือเป็น eScooter ระดับพรีเมี่ยมที่ใส่เทคโนโลยีการขับขี่ที่ลูกค้าของ Segway KickScooter ทั้งแบบยืนขับ ต่างก็ยืนยันว่า… การขับขี่ KickScooter ทำให้เดินทางสนุกขึ้นมาก… นอกจากนั้น Segway-Ninebot ยังมี eScooter แบบนั่งขับซึ่งเรียกได้เต็มปากว่าเป็นจักรยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งนักการตลาดทั่วโลกเชื่อว่าจะแข่งขันดุเดือดนับจากนี้ไปอย่างแน่นอน… โดยเฉพาะในประเทศที่ใช้งานมอเตอร์ไซด์บนถนนหลักได้อย่างถูกกฏหมาย เช่นกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างอินโดนิเซีย ไทย หรือ เวียดนาม และ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในแอฟริกา

MFI

Money Flow Index…

การใช้ดัชนี MFI หรือ Money Flow Index จะอ่านค่าไม่ต่างจากการอ่านค่าดัชนี RSI ซึ่งใช้พิจารณาภาวะ Overbought หรือ ซื้อมากเกินไป และ ภาวะ Oversold หรือ ขายมากเกินไป… โดยค่าดัชนี “ต่ำกว่า 20 หมายถึง Oversold” และดัชนี “สูงกว่า 80 หมายถึง Overbought”

Wage Price Spiral… วังวนของแพงค่าแรงขึ้น

ข้อเท็จจริงของกลไกทางเศรษฐกิจไม่ได้ง่ายและตรงไปตรงมาให้สามารถขึ้นค่าแรงตามเงินเฟ้อที่มาจากตัวแปรอื่นได้ง่ายๆ เพราะค่าแรงเองก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะดันราคาสินค้าและบริการให้แพงขึ้นกว่าเดิมได้ทันทีที่ปรับขึ้นจนตามไม่ทันอยู่ดี… และที่สำคัญกว่านั้น ยังมีโอกาสจะเกิด “Wage Price Spiral หรือ วังวนราคาสินค้าที่ยิ่งจะปรับสูงขึ้น” จนอัตราเงินเฟ้อกระชากเพิ่มขึ้นหนีค่าแรงไปอีกด้วย…