Transformative Tourism… เมื่อนักท่องเที่ยวตามหาประสบการณ์และแรงบันดาลใจ

ปีนี้เป็นปีที่การท่องเที่ยวน่าจะเป็นพระเอกในวงการอสังหาริมทรัพย์ฝั่งการลงทุน ที่แนวโน้มการท่องเที่ยวแบบ Slo-Mo หรือ Slow Missing Out และการตามหาแรงบันดาลใจของเหล่านักท่องเที่ยว ที่อยากสัมผัสประสบการณ์เพื่อเปลี่ยนตัวเองให้ต่างไปจากเดิม

คุณสุรพร เกิดสว่าง ได้ทำบทความไว้ใน JohJaiOnline.com เกี่ยวกับ Transformative Tourism ไว้อย่างน่าสนใจว่า

พฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้คนมี 2 เหตุผลที่น่าสนใจคือ แบบแรกเป็นการเที่ยวแบบจารีต ที่พบได้ทั่วไปในคนส่วนใหญ่ คนเที่ยวอาจไม่ได้มีอาการ “อิน” อะไรมากมายในสิ่งที่พบเห็น ไม่ได้สนใจลึกในสิ่งที่ผ่านตา เพียงขอให้ได้ไปตาม checklist ครบภายในเวลาที่มี ไปช้อปปิ้ง กินอาหารอร่อย กับเพื่อนฝูงที่ถูกใจ เปลี่ยนที่กินที่นอน และที่สำคัญได้ selfie ลงโลกโซเชียล ก็ถือว่า happy

กับอีกกลุ่มคือคนที่ออกไปค้นหาตัวเอง โดยเน้นว่า “ไปทำอะไร” มากกว่าจะ “ไปที่ไหน” ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมองหากิจกรรมก่อนจุดหมายปลายทาง มีคำถามมีความสงสัยใคร่รู้ เราจึงนิยามนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ว่า Transformative Tourism

งานวิจัยจาก East Carlolina Unversity ร่วมกับ ATTA หรือ Adventure Travel Trade Associaltion และ Outside Magazine สื่อที่เกี่ยวกับกีฬาและกิจกรรม Outdoor รายงานว่า… จุดประสงค์ของคนที่ชอบเที่ยวแบบมีกิจกรรม Adventure เปลี่ยนไปจากเดิมเมื่อปี 2008 ที่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ต้องการ ความสะใจ ความหวาดเสียว บ้าพลัง… เปลี่ยนไปเป็น เรียนรู้  ความหมาย และ วัฒนธรรมตั้งแต่ปี 2015

ศูนย์ข้อมูลจาก Transformational Travel Council องค์กรที่โปรโมทการเที่ยวแบบนี้ ได้นิยามการท่องเที่ยวแบบ Transformational Travel จะมีองค์ประกอบหรือหัวใจสำคัญที่เรียกว่า HERO ที่ถอดมาจาก Keywords 4 คำคือ

1. Heart… เที่ยวด้วยหัวใจ

2. Engagement… มีส่วนร่วม

3. Resolve Challange… ตอบโจทย์ความท้าทาย

4. Open to the Unknown…  เปิดโลกทัศน์กับสิ่งที่ไม่รู้

รายงานปี 2018 ของ World Tourism Organization พบว่า… คนเที่ยวแบบ Transformative ทั่วโลก 82% ไม่ยอมเที่ยวกับกลุ่มใหญ่… เป็นคนโสด 59% มีคู่แล้ว 35%… เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย… มีฐานะดีกว่าคนส่วนใหญ่ และมีการศึกษาดี โดยเป็นคนยุโรป 61%… เอเชีย 24% และอเมริกาเหนือแค่ 11% เท่านั้น

ที่จริงข้อมูลที่คุณสุรพร เกิดสว่างเรียบเรียงไว้ยังมีที่น่าสนใจอีกมาก… แต่ก็สรุปได้ว่า กระแส Transformative Tourism กำลังมีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ… ผมวางลิงค์ไว้ใต้อ้างอิงครับถ้าท่านสนใจตัวเลขและสถิติละเอียดขึ้นกว่านี้

เพราะประเด็นที่น่าสนใจกว่าสำหรับผมก็คือ… Keywords คำว่าท่องเที่ยวและเรียนรู้… เพราะการจะพัฒนาตัวเองได้ คนเราต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่บริบทที่ดีกว่าเดิม… โดยมีความรู้และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เป็นทั้งแนวทางและการรับประกันผลของการเปลี่ยนแปลง

คนส่วนใหญ่ล้วนอยากเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจากสภาพที่เป็นอยู่เสมอ… แต่คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้กล้าลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง… การออกไปเรียนรู้และซึมซับประสบการณ์ใหม่ๆ และท่องเที่ยว จึงเป็นทางออกหนึ่งที่ท้าทายโดยไม่ต้องเสี่ยงอะไรจนเกินไป… ที่จริงการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้และหาประสบการณ์ตรงก็เหมือนทริปเจ้าสัวดูงานนั่นแหละครับ… เจ้าตัวจะมีความรู้และความรู้สึกฝักใฝ่อยู่ระดับหนึ่ง และต้องการไปสัมผัสเพื่อ Inspired ความเชื่อตัวเองเป็นส่วนใหญ่

Thai Secret Cooking School เชียงใหม่
Thaicharm Cookingschool กระบี่

ในเชียงใหม่มีชาวต่างชาติมากมายมาเรียนมวยไทย ซึ่งมีทั้งมาเช่าเกสต์เฮาส์หรืออพาร์ทเม้นท์อยู่ และกลุ่มที่กินนอนในค่ายมวย… มีทั้งมาเรียนมวยเพื่อลดความอ้วนและเข้าค่ายมวยเพื่อขึ้นเวทีทั้งสมัครเล่นเป็นกีฬาและแบบอาชีพ

ในขณะที่ฟาร์มสเตย์หลายๆ แห่งในเชียงใหม่ มีนักท่องเที่ยวมาเรียนทำอาหาร ที่มีทั้งแบบทำเมนูเดียวกินเองหรือเททิ้งแล้วก็จบ… และหลักสูตรเปิดร้านอาหารที่ต้องกินนอนและฝึกฝนกันจริงจังก็มี

และทั้งหมดนั้น… ทำบนที่ดินซักแปลงหรือบ้านซักหลัง โดยใครซักคน… และผมเชื่อมาตลอดว่า นี่จะเพิ่มมูลค่าให้อสังหาริมทรัพย์ได้ไม่มากก็น้อย

อ้างอิง

JohJaiOnline.com

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Andrew Carnegie

Ninety Percent of All Millionaires Become So Through Owning Real Estate… Andrew Carnegie

Andrew Carnegie เป็นมหาเศรษฐีชาวอเมริกันที่บั้นปลายชีวิตได้บริจาคทรัพย์สินมากมายเพื่อสาธารณะประโยชน์หลากหลาย ตั้งแต่ห้องสมุด โรงเรียนและมหาวิทยาลัยจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดาและอีกหลายประเทศ

Protean360+ and ProteanDrive… มอเตอร์ติดล้อกำลังสูงสำหรับ EV ยุคถัดไป

Hub Motor หรือ มอเตอร์ติดดุมล้อ ถือเป็นเทคโนโลยีเก่าแก่ที่เคยถูกออกแบบใช้กับยานพาหนะไฟฟ้ามาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยมีสิ่งประดิษฐ์ของ Ferdinand Porsche กับผลงานรถยนต์ไฮบริดโมเดลแรกของโลก รุ่น Lohner-Porsche Semper Vivus ที่มาพร้อม Hub Motor ในดุมล้อมคู่หน้า… นอกจากนั้น ก็ยังมีสิ่งประดิษฐ์ของพี่น้อง Ledwinka…  Hans Ledwinka และ Joseph Ledwinka ซึ่งเป็นญาติห่างๆ กับ Ferdinand Porsche โดยทั้งสองได้อพยพมาอยู่ชิคาโก ก็ได้พัฒนายานพาหนะไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วย Hub Motor ขึ้นหลายรุ่นจนกลายเป็นตำนานของ EV ที่นักออกแบบยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นปัจจุบันล้วนกลับไปศึกษาแนวคิดยุคคลาสสิคอันล้ำสมัยเหล่านี้

C/2022 E3 (ZTF)… ดาวหางแสงเขียวโคจรใกล้โลกในรอบ 50,000 ปี

28 มกราคม 2023… สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. หรือ NARIT ได้ออกแถลงเชิญชวนชาวไทยที่สนใจวัตถุท้องฟ้าได้ร่วมสังเกตุการมาเยือนของดาวหางซีสองศูนย์สองสอง อีสาม แซดทีเอฟ หรือ C/2022 E3 (ZTF) ซึ่งเป็นดาวหางประกายเขียว ที่เดินทางเข้าใกล้โลกจนสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้จากน่านฟ้าทั่วทุกมุมโลก… รวมทั้งน่านฟ้าเมืองไทย

SLO-MO 2020

SLO-MO แนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยว 2020

เทศกาลปีใหม่เป็นช่วงเดินทางท่องเที่ยวที่คึกคักที่สุดของไทยและผู้คนส่วนใหญ่ทั้งโลก… ยิ่งปีนี้เป็นปีที่ค่าเงินบาทของไทยแข็งโป๊กไม่ว่าจะเทียบกับเงินสกุลไหน ทำให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศกันคึกคัก… ในขณะที่คนส่วนใหญ่ก็ยังเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ผสมกับการเดินทางเยี่ยมเยียน ที่นักเดินทางส่วนหนึ่งเลือกแวะระหว่างทาง เพื่อสัมผัสประสบการณ์ของแถม หรือไม่ก็เลี่ยงการจราจรหนาแน่นในบางช่วงบางตอนและจังหว่ะเวลา… ซึ่งพฤติกรรมการเดินทางแบบนี้เข้าข่ายแนวโน้มการเดินทางใหม่ที่ชื่อว่า Slo-Mo หรือ Slow-Mo Travel หรือ Slow Of Missing Out Travel