Tokenomics… เศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยราคาและมูลค่าของโทเคน

bitcoin vs gold

นับตั้งแต่การเกิดของ Bitcoin และตามมาด้วย Ethereum และ Alternative Coin หรือ Altcoin มากมายจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจดั้งเดิมที่มี “เงิน และ สถาบันการเงิน” เป็นตัวกลางและศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่า ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์รุ่นก่อนๆ ได้หาทางทำให้ความหลายหลายของตัวกลางการแลกเปลี่ยนมูลค่าอย่างเงิน ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสกุลเงินบนโลก และ มีความแตกต่างเชิงมูลค่าอย่างซับซ้อน… ให้มีหลักยึดในการอ้างอิงมูลค่า โดยใช้เพียง Demand และ Supply อันเป็นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ในการประเมินมูลค่าของเงิน รวมทั้งการวางหลักประกันมูลค่าเช่นทองคำ เอาไว้อ้างอิงการกำหนดมูลค่าเงินแบบมีหลักประกัน

เงินตรา หรือ Money หรือ  Fiat Money ในโครงสร้างทางเศรษฐกิจดั้งเดิมจึงไม่ได้มีอะไรซับซ้อนในการกำหนดมูลค่า เพราะทั้งหมดต่างก็เป็นเพียง Demand และ Supply ของเงินตราที่เห็นชัดว่า… มีเงินตราบางสกุลเช่น USD, EUR, JPY เป็นที่ต้องการทั่วโลกอย่างไม่จำกัด ในขณะที่เงินตราบางสกุลเช่น Myanmar Kyat MMK หรือ Venezuela VEF กลับไม่ค่อยมีใครอยากได้นัก แม้แต่คนในประเทศที่ใช้สกุลเงินตรานั้นเป็นหลัก ซึ่งถ้าเลือกรับดอลลาร์สหรัฐได้ก็เลือกดอลลาร์ไว้ก่อนแน่นอน… และ คริปโตก็ไม่ได้มีอะไรต่างกัน ถ้าไม่นับเรื่องการรับรองตามกฏหมายของแต่ละประเทศซึ่งก็แก้กฏหมายได้เสมอถ้าจำเป็น

คริปโต หรือ Cryptocurrency หรือ Digital Money ที่เกิดช่วงสิบปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 โดยมี Bitcoin เป็นปรากฏการณ์ของคริปโตที่สร้างการเปลี่ยนแปลง และ กระทบถึงกลไกทางเศรษฐกิจเดิมที่เคยมีแต่ “เงิน และ สถาบันการเงิน” เป็นตัวกลางและศูนย์กลางการให้บริการแลกเปลี่ยนมูลค่ามานาน… ซึ่งความใหม่มาก และ การขาดความเข้าใจอันดีต่อ Cryptocurrencies มากมายที่เกิดขึ้นจนถึงทุกวันนี้… ทำให้เกิดคำถามเรื่อง “มูลค่า และ ราคา” ของ Cryptocurrencies ทั้งหมดที่เคลื่อนไหวหวือหวาเป็นข่าวคราวอยู่ทั้งหมดตลอดมา

คำตอบ… ซึ่งต้องตอบว่าราคาและมูลค่าของ Cryptocurrency ไม่ได้มีอะไรต่างจากกลไกเงินตรา หรือ Fiat Money เลย… เพราะ Cryptocurrencies ล้วนออกแบบด้วยกลไกทางเศรษฐศาสตร์อ้างอิง Demand และ Supply อันเป็นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์เหมือนกันทุกอย่าง แถมยังได้เปรียบเรื่องการจัดการ Demand และ Supply ผ่านเทคโนโลยข้อมูล และ Blockchain ซึ่งถ้าดำเนินการอย่างโปร่งใสได้จริง ทั้งหมดจะเห็นข้อมูลแบบ Real Time สำหรับจัดการ Demand และ Supply ได้ไม่ยาก… ซึ่งในท้ายที่สุดก็สะท้อนให้เห็นผ่านตลาดแลกเปลี่ยนคริปโต ซึ่งก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากตลาด Forex เลยแม้แต่น้อย

ประเด็นก็คือ… Cryptocurrencies ในตลาดแลกเปลี่ยนมีความเป็นสินทรัพย์ลงทุนลูกผสมระหว่างหุ้นกับทองคำและสกุลเงินตราในตลาดแลกเปลี่ยน… กรณีของ Bitcoin หรือ BTC ซึ่งเป็น Cryptocurrency ยุคแรกที่ใช้เก็บและโอนมูลค่าคล้ายทองคำ ซึ่งมีปริมาณจำกัด และ กำลังถูกขุดเพิ่มเรื่อยๆ ผ่านกลไก PoW ของ Bitcoin แต่ก็หายากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคุณค่าและมูลค่าของ Bitcoin ในปัจจุบันได้เข้าถึงอุปสงค์ หรือ Demand ระดับเดียวกับทองคำไปแล้ว จึงไม่แปลกที่จะได้ยินการเรียกบิตคอยน์ว่าเป็น Digital Gold…

ส่วนกรณีของ Ethereum หรือ ETH รวมทั้ง Altcoin และ Token อื่นๆ  ซึ่งเป็น Cryptocurrencies ในยุคต่อจากบิตคอยน์ที่สร้างขึ้นบน Smart Contract Blockchain เพื่อใช้เป็นตัวกลางเก็บมูลค่าในการใช้งานบล็อกเชนเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีลักษณะแบบเดียวกับสกุลเงินในโลกดิจิทัลที่ใครอยากใช้งานบล็อกเชนโครงข่ายไหนก็ต้องแลกคริปโตสกุลที่บล็อกเชนเครือข่ายนั้นยอมรับ ไม่ต่างจากการแลกเงินเพื่อค้าขายข้ามชาติที่มีเงื่อนไขกำหนดสกุลเงินในการซื้อขายระหว่างกันนั่นเอง…  นั่นแปลว่า บล็อกเชนที่มีการใช้งานเชิงพาณิชย์ หรือ ใช้ในเชิงอุตสาหกรรมอยู่ ก็ไม่ต้องสงสัยว่าจะมีอุปสงค์ หรือ Demand อยู่หรือไม่… ส่วนประเด็นมี Demand มากน้อยพอจะดันราคาในตลาดแลกเปลี่ยนไปไกลแค่ไหนอย่างไร… อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

และในกรณีของ DeFi Token หรือ โทเคนที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนในโมเดลธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจกู้ยืมแบบต่างๆ ที่แฝงอยู่ในโมเดล DeFi และ GameFi ซึ่งชัดเจนว่ามีการใช้งานเป็น “เบี้ย หรือ Token” ที่การมีอยู่และหายไปจะขึ้นอยู่กับธุรกิจที่ใช้ “เบี้ย หรือ Token” เหล่านั้นว่ายังอยู่ หรือ ล้มหายตายจาก หรือ เจ๊งไปแล้ว… ส่วนราคา หรือ อัตราแลกเปลี่ยนก็ไม่ต่างกันคือ… ขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply ที่โมเดลธุรกิจนั้นจัดการและดำเนินการอยู่

การลงทุนในตลาดคริปโตจึงจำเป็นต้องเรียนรู้กลไก Demand และ Supply ที่หนุนหลังราคาและมูลค่าของคริปโตแต่ละสกุลอยู่ ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกกลไก Demand และ Supply ทั้งหมดในโลกคริปโตว่า Tokenomics… และนักลงทุนควรเรียนรู้ทั้งเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และ สร้างโอกาสการลงทุนให้ตัวเอง โดยเฉพาะกลไกของสินทรัพย์ที่สนใจจะลงทุนซึ่งจะมีโมเดล Tokenomic ของสินทรัพย์รายตัวแจงไว้บน Whitepaper เสมอ

ส่วนกรณีของสินทรัพย์ NFT ซึ่งปัจจุบันได้มาถึงยุคของการใช้เก็บมูลค่าได้ไม่ต่างจาก “ทรัพย์สินหายาก และหรือ ใช้แสดงสิทธิ์การถือครองสินทรัพย์” ซึ่งความต้องการ หรือ Demand เป็นเรื่องเฉพาะคนไม่ต่างจากนักสะสมงานศิลปะ พระเครื่อง หรือ ของเก่า หรือ แม้กระทั่งการเก็งกำไรที่ดิน… ซึ่งกลุ่มคนที่ยังมองว่าคริปโต และ NFT นั้นไร้ค่าในทางเทคนิค ก็ไม่ต้องเหนื่อยมาเป็นห่วงหรือวิพากษ์วิจารณ์ก็ได้

แต่ประเด็นฟองสบู่ราคา และ การต้มตุ๋นหลอกลวงในวงการคริปโต และ DeFi…  ซึ่งที่จริงก็เป็นเรื่อง Demand และ Supply ที่เกิดบนข้อเท็จจริงอันผิดพลาด หรือ เจตนาอำพรางข้อเท็จจริงล้วนๆ ซึ่งก็มีมิจฉาชีพแฝงอยู่กับทุกวงการไม่ต่างกันนั้น… ยังไงๆ ก็ต้องพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงให้รอบคอบเป็นรายกรณี เพื่อไม่ให้ตัวเองกลายเป็นเหยื่อ และ ควรพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงเป็นรายกรณี เพื่อไม่ให้ตนเองกลายเป็นแมลงเม่าในตลาดคริปโตด้วย…

และอย่ากังวลว่าเสาหลักใน Tokenomics ทั้งระบบจะพาพังหลังตื่นนอนในเช้าวันหนึ่ง… เพราะถึงตอนนี้ถือว่ายากแล้วที่จะพังทลายจากอะไรง่ายๆ อย่างที่คนเข้าใจไม่มากคิด

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Mohsin Hamid

Empathy Is About Finding Echoes Of Another Person In Yourself ~ Mohsin Hamid

ความใส่ใจ หรือ Empathy ได้กลายเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกตำรายืนยันว่า… จะทำให้ตัวเราเป็นมนุษย์ที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ จากมุมมองของเราที่มีต่อผู้คนรอบตัวเรา ซึ่งล้วนต้องการได้รับการยอมรับตามความคาดหวัง และเพียงมองดูผู้อื่นโดยไม่ตัดสิน และหรือ ใส่อคติเข้าไปในมุมมองที่เรามีต่อผู้อื่น

Facebook Digital Collectibles… NFT บน Facebook

Navdeep Singh ในฐานะผู้จัดการฝ่ายเทคนิคโปรแกรมของ Meta ซึ่งเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียรายใหญ่อย่าง Facebook และ InstaGram ได้แจ้งข้อมูลผ่าน Twitter ส่วนตัวเมื่อ 30 มิถุนายน 2022 ว่า… Facebook จะรองรับการแสดงรายการของสะสมดิจิทัลแบบ NFTs หรือ NonFungible Tokens บนแท็ป Digital Collectibles บน Timelines ของ Creator แล้ว

Binance Smart Chain

Binance Smart Chain และ Decentralized Application

การพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ต้องการใช้ DApp หรือ Decentralized Application ซึ่งต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานของ Blockchain ในการขับเคลื่อนนั้น… การใช้งาน Blockchain ไม่ได้มีแต่การใช้ทำ Token เพื่อระดมทุนอย่างเดียว แต่ยังสามารถสร้างระบบนิเวศน์เพื่อขับเคลื่อนโมเดลธุรกิจรูปแบบอื่นๆ ได้อีกมาก… กรณีการใช้งาน Blockchain เพื่อสร้าง DeFi หรือ Decentralized Finance Platform เพื่อให้บริการฝากถอนกู้ยืม… กรณีการใช้งาน Blockchain เพื่อทำโฉนดที่ดินดิจิทัลแบบของรัฐบาลประเทศสวีเดน หรือ กรณีการใช้งาน Blockchain เพื่อทำหนังสือรับรองวุฒิการศึกษาและใบประกาศของบางมหาวิทยาลัยในบางประเทศที่กำลังดำเนินการอยู่ เป็นต้น