สำนักงานนโยบายขนส่งและการจราจรหรือ สนข. เปิดตัวเวบไซด์ thailandtod.com ขึ้น เพื่อสานนโยบาย Transit Oriented Development หรือ TOD
Transit Oriented Development (TOD)
เป็นหนึ่งในแนวคิดในการพัฒนาเมือง และชุมชนเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง กำหนดรูปแบบการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างชุมชนรอบสถานีให้เป็นชุมชนคุณภาพ น่าอยู่อาศัย น่าใช้ชีวิต น่าลงทุนทำธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเดินทาง ทั้งเข้า-ออกพื้นที่ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และส่งเสริมการเดินทางในพื้นที่ด้วยการเดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์

TOD แก้ปัญหาได้อย่างไร?
- TOD เปลี่ยนการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวเป็นการขนส่งอย่างยั่งยืน
- TOD พัฒนาพื้นที่ใหม่ ลงตัวกับทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต
เครื่องมือทางผังเมือง ที่นำมาใช้ในการพัฒนา TOD

- การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ (Planned Unit Development : PUD)
- การโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of Development Right : TDR)
- การกำหนดพื้นที่เพื่อส่งเสริมและควบคุมแบบซ้อนทับ (Overlay Control)
- ผังเมืองเฉพาะ
- ข้อบัญญัติท้องถิ่น
- การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
- การจัดกรรมสิทธิ์เพื่อการฟื้นฟูเมือง
- พระราชบัญญัติพื้นที่เฉพาะ
- การแก้ไขโซนนิ่ง
TOD สร้างสุขได้อย่างไร?
ประเทศชาติได้อะไร?
- ความคุ้มค่าในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
- เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน
- ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน
รัฐได้อะไร?
- กระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น
- เก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น
เอกชน/นักลงทุนได้อะไร?
- โอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาพื้นที่และระบบขนส่งมวลชน
- ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้น
- โอกาสในการจ้างงานและธุรกิจใหม่ที่มากขึ้น
ชุมชนและประชาชนในพื้นที่จะได้อะไร?
- มี “ความปลอดภัย” ที่มากขึ้น
- “ค่าใช้จ่าย” ลดลง “รายได้” เพิ่มขึ้น
- มี “ความสะดวกสบาย” ที่เพิ่มขึ้น
- มี “สุขภาพจิต” ที่ดีขึ้น
- จากการมี “เวลา” ที่มากขึ้น
- มี “สุขภาพกาย” ที่ดีขึ้น
- มี “ชีวิต” ที่ดีขึ้น
เอาหล่ะครับ… นั่นคือข้อมูลคร่าวๆ ที่ผมเพียงแต่ย่อความมาให้อ่าน รายละเอียดยังมีให้ติดตามอีกพอสมควรที่ thailandtod.com ครับ
…ประเด็นก็คือ นี้คือทำเลในอนาคตที่คนรุ่นเราจะได้สัมผัส และนิยามการครอบครอง ถือครอง อสังหาริมทรัพย์ก็จะเปลี่ยนไปอีกมากทีเดียว
