สถานีธนบุรี…

Thonburi Railway Station

วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564… การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน หรือ Market Sounding เพื่อทบทวนผลการศึกษาและปรับปรุงเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี (ครั้งที่ 2) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคเอกชนประมาณ 25 ราย มีทั้งกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจทางการแพทย์ ธุรกิจด้านสุขภาพ เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ ทีซีซี ซี.พี.แลนด์ อารียา ปตท. กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี โรงพยาบาลปิยะเวท โรงพยาบาลศิริราช รวมถึง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น

คุณเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเผยกับนักข่าวว่า… การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีการศึกษาและจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีธนบุรี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561 แล้วเสร็จเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 และได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน หรือ Market Sounding ไปแล้ววันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ด รฟท. ตั้งแต่เดือน กันยายน พ.ศ. 2563… แต่เนื่องจากสถานการณ์โดวิด บอร์ด รฟท. จึงให้ปรับปรุงและทบทวนการแสดงความคิดเห็นของภาคเอกชนอีกครั้ง

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้าง บจก.โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ เป็นที่ปรึกษา ซึ่งจะนำความเห็นจากภาคเอกชนไปทำการปรับปรุงและสรุปรายงานผลการศึกษาภายใน 2 เดือน เสร็จสิ้นราว พฤษภาคม พ.ศ. 2564… และเข้าสู่ขั้นตอนการจัดทำเอกสารประกาศเชิญชวนประกวดราคา หรือ TOR… คาดว่าจะขาย TOR ได้ในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยจะให้เวลาเอกชนจัดทำข้อเสนอ 2 เดือน ยื่นข้อเสนอในเดือนพฤษจิกายน พ.ศ. 2564 และได้ตัวเอกชนผู้ลงทุนประมาณเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2564 

จากนั้นนำเสนอบอร์ด รฟท. อนุมัติ พร้อมกับจัดทำร่างสัญญา คาดว่าจะสามารถลงนามได้ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดยเป็นสัญญาเช่า 34 ปี แบ่งเป็นช่วงก่อสร้าง 4 ปี สัญญาเช่าหาประโยชน์ระยะ 30 ปี โดยประเมินมูลค่าโครงการประมาณ 3,500 ล้านบาท

โดยการศึกษาจะกำหนดรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ และ Business Model มีการประเมินมูลค่าการลงทุนและผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่คาดว่าจะได้รับไว้ โดยเอกชนที่เสนอผลตอบแทนให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดีที่สุดจะเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก

สำหรับเนื้อที่บริเวณโครงการบ้านพักพนักงานสถานีธนบุรีมีจำนวน 21 ไร่ 3 งาน… มีส่วนที่ถูกเวนคืนและถนน เหลือประมาณ 20 ไร่ โดยมีที่ดินพัฒนาเชิงพาณิชย์ จำนวน 14.76 ไร่… ราคาตลาดอยู่ที่ตารางวาละ 300,000 จึงมีมูลค่าประเมินได้ที่ 1,770.76 ล้านบาท ผลตอบแทนตลอด 30 ปี คิดที่ 64% หรือมีมูลค่าประมาณ 1,125 ล้านบาท โดยแบ่งชำระผลประโยชน์ตอบแทน ค่าธรรมเนียมเมื่อลงนามสัญญา 337.66 ล้านบาท ที่เหลือทยอยจ่ายโดย ปีแรกจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำที่ 47.78 ล้านบาทปรับเพิ่มทุก 3 ปี อัตรา 10 % โดยปีสุดท้ายจะมีผลตอบแทน 196.69 ล้านบาท รวม 30 ปีได้รับผลตอบแทนรายปี รวม 3,174.91 ล้านบาท และรวมกับค่าธรรมเนียม… การรถไฟแห่งประเทศไทยจะได้รับผลตอบแทนรวมทั้งสิ้น 3,584.26 ล้านบาท

ส่วนผังแม่บทแบ่งเป็น 4 โซน ได้แก่ 

  1. พื้นที่โรงแรมและศูนย์การค้าสูง 13 ชั้น พื้นที่ 6.2 ไร่ หรือ 40,360 ตร.ม. จะเป็นโรงแรม 3 ดาว จำนวน 720 ห้อง มีศูนย์การค้าอำนวยความสะดวกภายใน กลุ่มเป้าหมายคือ ญาติผู้ป่วย โรงพยาบาลศิริราช และ โรงพยาบาลธนบุรี รองรับได้ 8,000-10,000 คนต่อวัน มีที่จอดรถ 501 คัน
  2. ศูนย์พักฟื้นและพื้นฟูสุขภาพหรือเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ 1 เป็นอาคาร 13 ชั้น พื้นที่ 4 ไร่ จำนวน 280 ห้องรอง มีที่จอดรถ 232 คัน เปิดบริการในระดับลักซ์ชัวรี สำหรับผู้พักฟื้นต้องการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิดที่เข้ามารับบริการจากโรงพยาบาลใกล้เคียงที่ตั้งของโครงการ เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลธนบุรี และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ในพื้นที่ใกล้เคียงและย่านฝั่งธนบุรี
  3. เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ 2 อาคาร 13 ชั้น พื้นที่ 3.1 ไร่ บริการสำหรับกลุ่มแพทย์และผู้พักพื้นต้องการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิดในย่านธนบุรี จำนวน 300 ห้อง ที่จอดรถ 235 คัน จากการศึกษาโครงการเบื้องต้น จะเป็นที่พักรูปแบบ 1 ห้องนอน ขนาดพื้นที่ 33 ตารางเมตร ส่วนรูปแบบ 2 ห้องนอน ขนาดพื้นที่ 45-50 ตารางเมตร กำหนดค่าเช่าในระดับกลางและระดับสูง
  4. บ้านพักสำหรับพนักงานการรถไฟ อาคาร 13 ชั้น พื้นที่ 3.3 ไร่ จำนวน 315 ห้อง รูปแบบของที่พักอาศัย 35-50 ตารางเมตรทดแทนบ้านพักแนวราบเดิม ที่จอดรถ 265 คัน ซึ่งเป็นงานที่ต้องเริ่มก่อน เนื่องจากปัจจุบันบ้านพักพนักงานรถไฟ 305 ครัวเรือนกระจายอยู่ทั่วพื้นที่โครงการ โดย เอกชนจะต้องจัดหาที่อยู่ชั่วคราวให้พนักงานในระหว่างที่ก่อสร้าง และเมื่อก่อสร้างเสร็จจะโอนให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดูแล

อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นแพทย์ เจ้าหน้าที่ และญาติผู้ป่วย โรงพยาบาลศิริราช… โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ และ โรงพยาบาลธนบุรี รวมไปถึงประชาชนที่อยู่อาศัยและทำงานในพื้นที่ฝั่งธนและเกาะรัตนโกสินทร์รัศมี 5 กิโลเมตร ประมาณกว่า 2 แสนคนที่สามารถเดินทางเชื่อมถึงโครงการได้ในเวลา 5-10 นาที

และพื้นที่โครงการยังสามารถดินทางเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้า 2 สถานี 3 สายเส้นทางซึ่งทั้ง 2 สถานี ได้แก่ สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช… สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และ สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-สุวินทวงศ์ ซึ่งประเมินเฉพาะสายสีแดงจะมีผู้โดยสารประมาณ 50,000 คนต่อวัน

ข่าวต้นฉบับจาก https://mgronline.com 

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Coinbase NFT

Coinbase เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตยุคแรกๆ ที่มีส่วนทำให้ BitCoin หลุดออกมาจากด้านมืดของอินเตอร์เน็ต จนกลายเป็นรากฐานของเศรษฐกิจคริปโตอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน… กระทั่ง Coinbase เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาด Nasdaq… ซึ่งก็ได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนคลิปโตได้ก้าวไปอีกขั้น และ เมื่อวันพุธที่ 20 เมษายน 2022 ที่ผ่านมา… พวกเขาก็ได้เปิดตัว Coinbase NFT เวอร์ชั่น Beta อย่างเป็นทางการ…

THOR Chain & RUNE

THORChain และ RUNE Token

THORChain นิยามตัวเองว่าเป็น Decentralized Liquidity Protocol หรือโปโตคอลสภาพคล่องแบบกระจายศูนย์ ซึ่งก็คือแพลตฟอร์ม Decentralized Exchange หรือ DEX ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนคริปโตแบบกระจายศูนย์ และ สามารถแลกเปลี่ยนข้ามบล็อกเชนได้ทันทีโดยไร้คนกลาง และ โดดเด่นจากเงื่อนไขให้นักลงทุนจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลของตนได้โดยตรงตลอดเวลา

Bill William Alligator Indicator

Alligator Indicator ของ Bill Williams

Alligator Indicator ใช้ทำนายการกลับตัวของแนวโน้มราคา… เมื่อเส้น Lips หรือเส้นสั้นสุด หรือ เส้นสีเขียวในค่า Default ตัดเส้น Teeth และ Jaws ขึ้นจะ ก็จะเป็นสัญญาณ BUY เพราะจระเข้ได้ตื่นขึ้น และถ้าตัดลงก็จะเป็นสัญญาณ SELL เพราะจระเข้หลับแล้ว

RTE Food

RTE Farming… แนวทางเกษตรอาหารพร้อมรับประทาน

ก่อนจะมาเป็นชุดอาหาร RTE ในชั้นปรับอุณภูมิใน Convenience Services Point ทุกแบบนั้น… วัตถุดิบและเครื่องปรุงอาหารมากมายจะถูกขนถ่ายจากแหล่งผลิต ไปสู่ปากท้องของทุกคนในหลายรูปแบบ ซึ่งภูมิปัญญาและองค์ความรู้ในการผลิตอาหารและขนส่งจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งหรืออีกหลายๆ จุดหมายปลายทาง… มักจะมีโครงสร้างต้นทุนซับซ้อน ซึ่งมาพร้อมกับบริบทด้านคุณภาพและความน่าเชื่อถือของวัตถุดิบอาหาร ไปจนถึงห่วงโซ่การใช้ทรัพยากรอื่นๆ ในการแปรรูปและปรุงอาหารอีกมาก