The Proper Study Of Mankind Is The Science Of Design ~ Herbert A. Simon

Herbert A. Simon

การตัดสินใจเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องมีสมองใหญ่ๆ เอาไว้เปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่… บางครั้งเป็นข้อมูลที่คนตัดสินใจมีอยู่กับตัวถึงขั้นใช้ได้โดยไม่รู้ว่าต้องคิดหรือตัดสินใจก็ได้ผลลัพธ์หรือข้อสรุปไปแล้ว แต่บางครั้งก็จะเป็นข้อมูลที่ต้องหาเพิ่มเติมใหม่ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ… ซึ่งบ่อยครั้งที่หาได้ไม่ดีพอหรือมากพอ จนเห็นธรรมชาติของผลการตัดสินใจส่วนใหญ่ มักจะมีความบกพร่องเป็นเรื่องคาดไม่ถึง หรือ แม้แต่ความเสี่ยงมากมายแฝงอยู่จนมันปรากฏให้เห็นจึงได้รู้… บ่อยๆ

Herbert A. Simon นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ประจำปี 1978 ระบุว่า… แท้จริงแล้วคนเราไม่ได้ตัดสินใจด้วยเหตุผลอย่างสมบูรณ์อันเนื่องมาจาก “ข้อจำกัดทางปัญญา หรือ Intellectual Limitations” ซึ่งเป็นความยากที่จะมีข้อมูลมากพอเพื่อสนับสนุนการไตร่ตรองก่อนการตัดสินใจอย่างรอบด้านจริงๆ นอกจากนั้น ยังมีข้อจำกัดทางสังคมซึ่งเห็นเป็นความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และหรือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอยู่เป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการตัดสินใจเสมอ

Herbert A. Simon เป็นศาสตราจารย์ประจำอยู่ที่ Carnegie Mellon University มาตั้งแต่ 1949 จนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ปี 2001 ซึ่งเป็นวันสิ้นอายุไขของปราชญ์คนสำคัญคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ผู้ทิ้งองค์ความรู้เอาไว้กับตำรามากถึง 27 เล่ม… ครอบคลุม  Cognitive Science หรือ วิทยาการพุทธิปัญญา… Computer Science หรือ วิทยาการคอมพิวเตอร์… Political Science หรือ รัฐศาสตร์… Public Administration หรือ รัฐประศาสนศาตร์… Management หรือ การจัดการ รวมทั้ง Educational Psychology หรือ จิตวิทยาการศึกษา

ทฤษฎีการตัดสินใจ หรือ Decision Making Theory ของ Herbert A. Simon ซึ่งถูกแนะนำใช้ และ ประยุกต์ใช้ในทางเศรษฐศาสตร์และการจัดการจนได้รับรางวัลโนเบล โดยเฉพาะข้อสรุปใช่ๆ ที่บอกว่า “Decision Making Is The Core Of Management หรือ แก่นของการบริหารคือการตัดสินใจ” 

ซึ่งทฤษฎีการตัดสินใจของ Herbert A. Simon ถือว่าท้าทายแนวคิดการตัดสินใจดั้งเดิมที่เชื่อว่า คนเราตัดสินใจใดๆ ตามเหตุตามผลอ้างอิงผลประโยชน์ที่ดีที่สุดสำหรับตน หรือ ตัดสินใจด้วยผลลัพธ์ที่จะได้ประโยชน์สูงสุด… ในขณะที่ Herbert A. Simon เชื่อว่า การตัดสินใจที่ดีของปัจเจกบุคคลด้วยธรรมชาติที่มักจะมีข้อมูลจำกัดในตนภายใต้การรักษาสมดุลผลประโยชน์ระหว่างตนกับผู้อื่นนั้น ต้องการเพียง “ความพอใจ หรือ Satisfied” เป็นทางเลือก โดยมี “ความเพียงพอ หรือ Sufficiency” ช่วยสร้างสมดุลปนกันอยู่

ผมรู้จักชื่อ Herbert A. Simon จากการรวบรวมเอกสารทำรายงานเกี่ยวกับ AI หรือ Artificial Intelligence นานมาแล้ว ซึ่งการค้นคว้าทำให้เจอเอกสารต้นทางของคำว่า AI ชื่อ Logic Theory Machine ฉบับปี 1956 และ General Problem Solver ฉบับปี 1957 ซึ่ง Herbert A. Simon ตีพิมพ์เป็นผลงานเอาไว้ร่วมกับ Allen Newell ซึ่งเป็นคู่หูในการพัฒนา Simulation of Human Problem Solving ซึ่งถือเป็นหลักการหรือทฤษฎีจำลองการแก้ปัญหาของมนุษย์ จนได้แบบจำลองถึงขั้นนำไปใช้พัฒนา AI เล่นหมากรุกในยุคแรกๆ มาแล้ว

ในบันทึกประวัติและผลงานของ Herbert A. Simon ยังได้รับการยกย่องให้เป็นนักจิตวิทยาการศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนา EPAM Theory หรือ Elementary Perceiver and Memorizer Theory หรือ ทฤษฎีการรับรู้ขั้นต้นและการจดจำ ซึ่งใช้ในการออกแบบ CBT หรือ Computer Based Teaching ยุคแรกที่มีหลักการเหตุผลและจิตวิทยาการศึกษา พร้อมทฤษฎีการเรียนรู้อธิบายเชื่อมโยงไว้ให้ค่อนข้างสมบูรณ์ จนเกิดการยอมรับครูตู้ และ ถูกประยุกต์ใช้กับการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่ายการสื่อสารอื่นๆ ด้วยอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา

โดยส่วนตัวชอบแนวคิดและการผลิตผลงานด้านการศึกษาของ Herbert A. Simon มาก เพราะผมมองว่า… การศึกษาและการพัฒนากลไกการเรียนรู้ หรือ Learning และ การศึกษา หรือ Education ของ Herbert A. Simon มีการแลกเปลี่ยนเปรียบเทียบกลไกสมองและการเรียนรู้ของมนุษย์ กับ กลไกการเรียนรู้และใช้ข้อมูลของคอมพิวเตอร์… ซึ่งทั้งสมองคนและขั้นตอนทางคอมพิวเตอร์ ล้วนผลิตผลลัพธ์ชุดหนึ่งหลังขั้นตอนการตัดสินใจเรื่องหนึ่งหรือประเด็นหนึ่งเสร็จสิ้น… ออกมาให้เห็นจากข้อมูลเท่าที่มีอยู่เท่านั้นเสมอ

แต่การศึกษาวิจัยมากมายของ Herbert A. Simon ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ ซึ่งโยงกลับไปที่สติปัญญา และโยงกลับไปที่ข้อมูลความรู้และประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มา… เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลไกสมองของมนุษย์ และ ขั้นตอนการประมวลผลของปัญญาประดิษฐ์กลับพบว่า … ที่จริงแล้วสิ่งที่มนุษย์แตกต่างจากปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ก็คือการออกแบบ หรือ Design… ซึ่งคำพูดสำคัญของ Herbert A. Simon ที่บอกว่า The Proper Study Of Mankind Is The Science Of Design หรือ การศึกษาที่เหมาะสมสำหรับมนุษยชาติที่สุดก็คือศาสตร์แห่งการออกแบบ… ซึ่งการออกแบบเป็นผลลัพธ์ของการบูรณาการข้อมูลความรู้และประสบการณ์เข้าด้วยกัน โดยมีวิธีคิดแบบมนุษย์ที่มองหาคำตอบแบบ​​ความพอใจ หรือ Satisfied ให้ผลลัพธ์ออกมาได้ในแบบที่ AI หรือ Supercomputer ยากจะทำได้… เพราะการออกแบบเริ่มต้นที่จินตนาการ ซึ่งผลงานที่ใส่การออกแบบไปด้วย ก็จะมี “ความหมายแฝง” ที่มีเพียงจินตนาการของมนุษย์เท่านั้นที่จะเข้าถึง…

เห็นด้วยมั๊ยครับ!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Stir Frying

Stir Frying Machine… ผัดให้ได้ไม่ต้องใช้แรงคน

เมื่อคนตกงานจะมีสองอย่างที่คนส่วนใหญ่กลับไปทำก็คือ ทำเกษตร และ ทำอาหารขาย… ซึ่งร้านอาหารและโมเดลทำอาหารขายหลังวิกฤตโควิดจบลง โมเดลร้านที่จ้างพนักงานทั้งหน้าร้านหลังร้านมากมายเหมือนแต่ก่อนก็คงจะหายไป… ค่อนข้างชัด แม้ว่าจะมีแรงงานต่างด้าวราคาไม่แพงให้จ้างใช้อยู่บ้าง แต่การทำธุรกิจที่ต้องใช้คนเยอะๆ น่าจะลดลงมาก โดยเฉพาะในขนาดธุรกิจร้านอาหารระดับ SMEs

Margaret Thatcher

Plan Your Work For Today and Every Day, Then Work Your Plan – Margaret Thatcher

Margaret Thatcher ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษตลอดสิบปีเศษ เธอคือเสาหลักของสันติภาพโลก และแม่มดของพ่อค้าสงคราม ที่อยู่เบื้องหลังการทำลายกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 ในฐานะผู้นำโลกตะวันตกอังกฤษสหรัฐ ที่เธอมีพรรษาและบารมีมากที่สุดในการผลักดันสันติภาพในยุโรปอย่างต่อเนื่อง… แต่ Margaret Thatcher ก็ต่อต้านการรวมอังกฤษกับสหภาพยุโรป หรือ EU จนหมดอำนาจ

แนวทางการปรับปรุงกฎหมายจัดจ้างก่อสร้างภาครัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย

11 ตุลาคม 2022… สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ TCA ได้ร่วมกันจัดงานสัมมนาสาธารณะเรื่อง “ปรับกฎหมายจัดจ้างก่อสร้างภาครัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย” โดย ลิซ่า งามตระกูลพานิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย เปิดงานสัมมนาถึงความเป็นมาของการศึกษานี้ โดยที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีบทบาทอย่างสูงต่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในโอกาสที่กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับใช้มาครบระยะ 5 ปี ตามที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้ต้องมีการทบทวน สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย จึงร่วมกับ TDRI จัดให้มีการศึกษาเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุง ร่วมกับการปรึกษาหารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

Voder

Vonder… Microlearning EdTech Startup สายเลือดไทย

Microlearning เป็นคำใหม่ในวงการศึกษา ที่ผมเองก็สนใจและเฝ้าติดตามพัฒนาการของเทคนิคการ Relearn และ Upskill ด้วยหน่วยความเรียนรู้ย่อยๆ ที่ไม่เข้าไปใช้เวลาและทรัพยากรของผู้เรียนมากเกินไป… Microlearning ถือเป็นพัฒนาการของ eLearning อีกขั้น ที่องค์ความรู้ชุดเล็กที่สุด ถูกผลิตและแจกจ่ายเป็น Digital Content ในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อใช้รูปแบบเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยไม่รบกวน “เวลา” ของเป้าหมายถึงขั้นต้องวางแผนก่อนค่อยมีโอกาสได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตัวเอง