การลงทุนในตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์เพื่อการลงทุน ที่มีซื้อขายในตลาดรอง หรือ Secondary Market ในโลกของการลงทุนที่นับวันจะเติบโตทั้งในเชิงคุณค่าและมูลค่า รวมทั้งเติบโตในเชิงปริมาณทั้งสินทรัพย์และจำนวนนักลงทุน… ซึ่งก็คือการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทางการตลาด หรือ Market Capital ของสินทรัพย์เพื่อการลงทุนรวมกัน และ มีจำนวนและประเภทสินทรัพย์เกิดขึ้นใหม่เรื่อยๆ พร้อมกับการเข้าตลาดของนักลงทุนหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ… สถิติมากมายจากตัวแทนค้าหลักทรัพย์ หรือ Brokers ที่รับเปิดบัญชีลงทุนล้วนระบุตรงกันว่า… นักลงทุนหน้าใหม่มักจะสูญเงินลงทุนก้อนแรกตั้งแต่เดือนแรก หรือ อย่างน้อยก็ขาดทุนอย่างหนักในเดือนแรกเสมอ… โดยจุดตายของพอร์ตใหม่ที่ล้มเหลวเหล่านี้ทั้งหมด มาจากการเทรดโดยไม่มีการวางแผนบนพื้นฐานที่จะทำกำไรอะไรได้เลย… ทั้งสิ้น!!!
คำถามคือ… แผนการเทรด หรือ Trading Plan ที่มีพื้นฐานดีพอจนไม่ล้มเหลวตั้งแต่แรกควรจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? และจะมั่นใจได้อย่างไรว่ามี และ ใช้แผนพารวยอยู่!
ข่าวร้ายก็คือ ไม่มีแผนพารวย หรือ ไม่มีแผนการเทรดแบบไหนจะสมบูรณ์แบบจนรับประกันความสำเร็จได้เลย… ส่วนข่าวดีหน่อยก็คือ พอจะมีแผนการเทรดแบบที่มีรูปร่างและองค์ประกอบที่จำเป็นต่อการ “รักษาเงินลงทุนก้อนแรกในพอร์ต” ไม่ให้ตกอยู่ในสภาพขาดทุนยับ จนกลายเป็น “เม่าละอ่อน” จิตตกตั้งแต่เดือนแรกๆ ในโลกของการลงทุนที่ยังเหลือทางข้างหน้าอีกยาวไกล… องค์ประกอบของแผนการเป็นนักเทรด หรือ แผนการเทรดควรประกอบไปด้วย…
1. Trading System หรือ ระบบเทรด
ระบบเทรด หรือ Trading System จะหมายถึงขั้นตอนการลงทุนที่นักลทุนคนหนึ่งออกแบบไว้เพื่อตัดสินใจ กับทุกกลไกการตัดสินในการเทรดหลักทรัพย์เป้าหมาย… ซึ่งโดยปกติแล้ว นักลงทุน หรือ แม้แต่คนทั่วไปจะมีรูปแบบการตัดสินใจอยู่ 2 รูปแบบคือ ตัดสินใจแบบกลไก หรือ Mechanical Decision หรือ System Decision และ ตัดสินใจด้วยดุลพินิจ หรือ Discretionary Decision… ซึ่งนักลงทุน “ต้องตัดสินใจแบบ System Decision” โดยมี Guideline หรือ แนวทางการตัดสินใจที่ถูกต้อง และ ไม่ขัดแย้งกับวิธีคิดส่วนตัว ซึ่ง Guideline หรือ แนวทางการตัดสินใจที่ดี และ ถูกต้องจะเป็นแนวทางที่ใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ โดยเปลี่ยนเพียงข้อมูลและเป้าหมายการลงทุน
2. Trading Journal หรือ บันทึกรายการซื้อขาย
ในปัจจุบัน… รายการซื้อขาย และ ข้อมูลราคาหลักทรัพย์ หรือแม้แต่ข่าวสารที่สัมพันธ์กับราคา และ พฤติกรรมราคาล้วนหาไม่ยาก เว้นแต่จะเป็นข้อมูลของหลักทรัพย์ที่ใหม่มาก หรือ พวกหลักทรัพย์แปลกๆ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก และ ควรอยู่ให้ห่าง… ที่เหลือน่าจะสืบค้นข้อมูลข่าวสารได้หมด และท่านควรศึกษาหลักทรัพย์ที่ท่านสนใจให้เข้าใจและรู้จักให้ดีที่สุด… ถ้าสามารถค้นคว้า และ รวบรวมข้อมูลได้ระดับเดียวกับการทำวิจัย หรือ ระดับทำรายงานดีๆ สักเล่ม เพื่อส่งขอตังค์ตัวเองไปลงทุนจะดีที่สุด… และถ้าสามารถหาโปรแกรมจำลองการลงทุนตามสภาพตลาดจริงได้ ก็อย่าพลาดที่จะทดลอง บันทึก และ เรียนรู้ให้มากโดยไม่ต้องรีบร้อน
3. Trading Strategy หรือ กลยุทธ์การเทรด
กลยุทธ์การเทรด หรือ ชั้นเชิงเทคนิคการเทรดนั้น… นักลงทุนต้องออกแบบ “เงื่อนไข วิธี และ รูปแบบ” เฉพาะของตนเองในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเงื่อนไขการจัดการความสูญเสีย หรือ การบริหารความเสี่ยง หรือ Risk Management ที่นักลงทุนต้องใช้แทน “ความกลัว และ ความโลภ” อย่างเคร่งครัด… ย้ำอีกครั้งว่าต้องใช้การบริหารความเสี่ยงแทนความกลัว และ ความโลภอย่างเคร่งครัด!!!
โครงร่างและองค์ประกอบของแผนการลงทุนในตลาดเทรด หรือ ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยหลักๆ จะมีอยู่ 3 ส่วนประมาณนี้… แต่บางครู หรือ บางตำราอาจจะแยกย่อยลงรายละเอียดมากกว่านี้ แต่ส่วนตัวผมเชื่อว่ามีเพียง 3 องค์ประกอบใหญ่ๆ นี้ในไว้ในแผนการเป็นนักลงทุนก็เพียงพอแล้ว
จะเหลือก็แต่สิ่งที่สำคัญที่ต้องเข้าใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ… ต้องเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่า การเป็นนักลงทุนที่ต้องวางเงินจำนวนน้อย เพื่อทำกำไรเป็นเงินจำนวนมากนั้น… แตกต่างจากการเป็นนักพนันหลายอย่างตั้งแต่กลไกการตัดสินใจที่เป็นระบบ ใช้ข้อมูลที่เพียงพอ และ มีกลยุทธ์ในการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆ ที่ชัดเจน… โดยเฉพาะการจัดการความเสี่ยง และ การตัดสินใจเกี่ยวกับเงินจำนวนน้อยที่ท่านวางเป็นเงินลงทุน ซึ่งท่านสูญเสียไปแล้วตั้งแต่ตัดสินใจลงทุน… ถ้าผิดพลาดขาดทุนควรตัดใจด้วยเงื่อนไขแบบไหนอย่างไร และ ถ้าดีงามกำไรเพิ่มควรเก็บเกี่ยว ณ ตอนไหนและอย่างไร
เรียนรู้ให้มาก วางแผนให้ดี และ อย่าลืมรายละเอียดในแผน…
ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นครับ… โปรดใช้วิจารณญาณ!
References…