ขยายเวลาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 90% รอบปี 2564

Property Tax

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ท่านอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ได้ขอบรรจุวาระการพิจารณาขยายเวลาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 90% รอบปี 2564 จากปี 2563 ออกไปอีก 1 ปี พร้อมขยายเวลาลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ เหลือ 0.01% สำหรับราคาบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อภาคอสังหาริมทรัพย์ เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

การลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กระทรวงการคลังจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา จะมีการออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2564 ในที่ดินทุกประเภท ได้แก่ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ นอกจากเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย รวมถึงที่รกร้างว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์  ซึ่งจะทำให้เจ้าของหรือผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเสียภาษีเพียง 10% ของภาระภาษีที่ต้องจ่าย ประกอบด้วย

  1. ที่ดินประกอบการเกษตร ถ้าเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา กฎหมายกำหนดให้ 3 ปีแรก (ปี พ.ศ. 2563–2565) จะได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษี แต่ถ้าเจ้าของเป็นนิติบุคคล จะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.01 หากมูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท คิดเป็นค่าภาษี 500 บาท แต่เมื่อลดภาษี 90% แล้ว จะชำระภาษีเพียง 50 บาท
  2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย สำหรับบ้านหลังหลักที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นบุคคลธรรมดาและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท และ 10 ล้านบาท กรณีเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน สำหรับบ้านหลังอื่น หากมูลค่าประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.02 คิดเป็นค่าภาษี 1,000 บาท แต่เมื่อลดภาษี 90% แล้ว จะชำระภาษีเพียง 100 บาท 
  3. ดินรกร้างว่างเปล่า รวมถึงกรณีที่ใช้ประโยชน์ประกอบการพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม หากมูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.3 คิดเป็นค่าภาษี 15,000 บาท แต่เมื่อลดภาษี 90% แล้ว จะชำระภาษีเพียง 1,500 บาท

ส่วนมาตรการลดธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์เหลือ 0.01% กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 และได้สิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ดังนั้น หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติ คาดว่าน่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 โดยการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ เพื่อช่วยลดภาระรายจ่ายผู้ซื้อบ้าน โดยมีอัตรากำหนดดังนี้  

  1. ลดค่าธรรมเนียมการโอน อัตราปกติ 2.00% เหลือ 0.01%
  2. ลดค่าธรรมเนียมการจำนอง อัตราปกติ 1.00% เหลือ 0.01%  

ส่วนกรณีซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมการโอนจากปกติต้องจ่าย 2% เป็นเงิน 60,000 บาท เมื่อลด 0.01% จะจ่ายเพียง 300 บาท และการลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ จากปกติต้องจ่าย 1% เป็นเงิน 30,000 บาท เมื่อลดเหลือ 0.01% จะจ่ายเพียง 300 บาท รวมแล้วจากที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองสำหรับบ้านราคา 3 ล้านบาท ในอัตรา 3% เป็นเงิน 90,000 บาท  ก็จะจ่ายในอัตราเพียง 0.02% เป็นเงินเพียง 600 บาท หรือจ่ายล้านละ 200 บาทเท่านั้น

ท่านที่หาจังหวะเข้าสะสมอสังหาริมทรัพย์เข้าพอร์ต… ส่วนตัวเชื่อว่าโปรโมชั่นเที่ยวนี้น่าจะสุดท้ายในฐานรูปตัวยูก่อนที่กราฟเศรษฐกิจจะยกตัวขึ้นในโอกาสถัดไป… ที่ที่สนใจก็เริ่มทำการบ้านได้แล้วครับ!

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Customer Decision Journey ขั้นตอนการตัดสินใจของลูกค้า

หลังจากปิดงานเขียนเรื่องบรรยากาศตอนที่แล้วไป ผมก็นึกถึงคำอีกคำหนึ่งขึ้นมาได้… คือคำว่า Decision Journey หรือขั้นตอนการตัดสินใจ ที่การขายสินค้าแต่ละประเภท ก็จะมีขั้นตอนการตัดสินใจที่มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไป

shipping container

ภาคส่งออกขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์… เราตายน้ำตื้นขนาดนี้ได้อย่างไร?

ประเทศไทยมีตู้ส่งออกประมาณ ปีละ 5 ล้าน TEUs ในขณะที่มีตู้นำเข้าประมาณ 3.5 ล้าน TEUs บริษัทเรือจึงต้องมีการนำเข้าตู้เปล่าปีละประมาณ 1.5 ล้าน TEUs ต่อปี… และปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าที่เกิดขึ่นระหว่างมิถุนายน-สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา มีปริมาณตู้นำเข้าลดลง 20% โดยตู้สินค้าไปตกค้างที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปมากกว่า 1 ล้านตู้ เนื่องจากปัญหาโควิด19 เพราะขาดแคลนบุคลากรในภาคขนส่งจากผลกระทบของวิกฤตโควิดทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรป

UP/DOWN

A/D Indicator

A/D Indicator เป็นดัชนีที่ประเมินจากแนวคิดง่ายๆ ว่า… เมื่อมีปริมาณการซื้อขายมากขึ้น หรือ หนาแน่นขึ้น ก็จะทำให้ราคาหลักทรัพย์ในตลาด “เคลื่อนไหวมาก” ขึ้นสัมพันธ์กัน… นั่นแปลว่า A/D Indicator ชันขึ้นก็จะเห็นราคาหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นไปแทบจะพร้อมๆ กัน ซึ่งถ้า A/D Indicator กลับตัวลาดลงด้วยแนวชันเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเห็นราคาหลักทรัพย์ไหลลงอย่างมากตามกันและกันเสมอ

The InterPlanetary File System และ Protocol Labs

ในทางเทคนิค… การเปิดไฟล์ที่ถูกเก็บเอาไว้บน IPFS รวมทั้ง Non-Fungible Token ก็จะคล้ายกับการเปิดไฟล์ HTML หรือ ไฟล์ภาพบนอินเตอร์เน็ตผ่าน Web Browser… เพียงแต่ไฟล์บนอินเตอร์เน็ตทั่วไปจะเป็นแบบ Centralized คือมี Web Server เป็นศูนย์กลาง เวลาเรียกเปิดก็จะมี Path หรือ URL ชัดเจนในการเข้าถึง… แต่ไฟล์บน IPFS มักจะจัดเก็บเอาไว้หลาย Server หรือเก็บกระจายแบบ Peer-to-Peer ซึ่งอาจจะเก็บเอาไว้ทุก Server ที่เป็น IPFS Node ก็เป็นไปได้ การเปิดไฟล์จึงต้องใช้ Cryptographic Hash ให้ Web 3 Browser ไปค้นหาจาก Node ที่ใกล้ที่สุดมาแสดงผล