โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คุณอนุชา บูรพชัยศรี แถลงข่าวประเด็นสั่งการโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลา ในระหว่างการประชุมบอร์ดบีโอไอหลายเรื่อง โดยมีประเด็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่ต้องการผลักดันไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนอุตสาหกรรมก้าวหน้า ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์อัจฉริยะ
ซึ่งนายกรัฐมนตรียังเสนอให้มีการใช้รถ EV หรือ Electric Vehicles ในส่วนราชการเป็นการนำร่อง ก่อนจะขยายไปรถขนส่งสาธารณะในปี พ.ศ. 2564 ด้วย ซึ่งรายละเอียดการส่งเสริมการลงทุนการผลิตยานพาหนะไฟฟ้ารอบใหม่ ครอบคลุมการส่งเสริมยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อ รถโดยสารและรถบรรทุก รวมถึงเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า มุ่งเน้นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่เป็นหลัก หรือ Battery Electric Vehicles หรือ BEV ให้มีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมควบคู่ไปด้วยกันได้ สำหรับการลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ หรือ BEV จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี หากน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ทั้งนี้ จะมีได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตรถยนต์ภายในปี 2565 หรือมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา หากมีโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Plug-in Hybrid Electric Vehicles หรือ PHEV ด้วย จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยต้องการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างน้อย 3 ชิ้น
2. กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี
3. กิจการผลิตสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี
4. กิจการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี นอกจากนี้ ยังปรับปรุงขอบข่ายและสิทธิประโยชน์ของประเภทกิจการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า เพิ่มเติมรายการชิ้นส่วนสำคัญอีก 4 รายการ ได้แก่
4.1 High Voltage Harness
4.2 Reduction Gear
4.3 Battery Cooling System และ
4.4 Regenerative Braking System
นอกจากนั้น ยังมีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้จูงใจมากขึ้น สำหรับกิจการผลิตแบตเตอรี่ที่มีการลงทุนในขั้นตอนที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น โดยลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ไม่มีการผลิตในประเทศ ในอัตราร้อยละ 90 เป็นระยะเวลา 2 ปี… กรณีที่มีขั้นตอนการผลิต Module หรือ Cell เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในภูมิภาค… ส่วนการผลิตเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี
ประเทศไทยมีโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ที่ได้รับการอนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุนไปแล้วระหว่างปี พ.ศ. 2560–2562 ทั้งสิ้น 26 โครงการ… มูลค่าการลงทุนกว่า 78,099 ล้านบาท โดย 7 โครงการที่มีการผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว แบ่งเป็น HEV หรือ Hybrid Electric Vehicles 3 ราย ได้แก่ นิสสัน ฮอนด้า และโตโยต้า… PHEV หรือ Plug-in Hybrid Electric Vehicles 2 ราย ได้แก่ เมอร์เซเดส เบนซ์ และบีเอ็มดับเบิลยู และ BEV หรือ Battery Electric Vehicles 2 ราย ได้แก่ ฟอมม์ และ ทาคาโน
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คุณอนุชา บูรพชัยศรี ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า… ในอนาคต โลกมีแนวโน้มการใช้รถ EV มากถึง 60% ของจำนวนรถยนต์ทั้งหมด ด้วยความชัดเจนในการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ไทยจะสามารถรักษาความเป็นศูนย์กลางฐานการผลิต EV ของอาเซียนไว้ได้ โดยในปัจจุบัน มีนักลงทุนหลายราย หลายสัญชาติแสดงความพร้อมที่จะเข้าลงทุนใช้ไทยเป็นฐานผลิตรถ EV… ซึ่งล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ยังเผยว่า ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกาเข้ามาติดต่อรับข้อมูลด้วย
… เป็นข่าวและข้อมูลเพิ่มเติมเจาะลึกเฉพาะกรณี EV ซึ่งที่ประชุมบอร์ดบีโอไอได้ผลักดันผ่านวาระการประชุมรอบวันที่ 4 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา…
อ้างอิง