ภัยแล้ง 2020… ถึงเวลา AgTech เพื่อเกษตรยั่งยืน

Thailand Drought 2020

การเขย่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมอันเนื่องมาจากผลกระทบในวิกฤต COVID-19 ที่ทำให้ทุกคนต้องจำยอมกับเงื่อนไขที่หลายคนรู้ว่า พ้นวิกฤตไปแล้วก็คงไม่มีอะไรกลับไปเหมือนเดิม… การสั่งปิดพื้นที่เสี่ยงเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นที่หายากเหลือเกินในภาวะแบบนี้ ที่สุดท้ายก็ต้องเดินหน้าจัดการสถานการณ์ทางระบาดให้ได้ก่อน

การปิดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้หลายคนตัดสินใจเดินทางกลับภูมิลำเนา ในขณะที่หลายจังหวัดก็ต้องปิดพื้นที่เสี่ยงมากมายไม่แตกต่าง… แต่ที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้กันคือปากท้องและรายได้ ที่ผมเชื่อว่า จะมีคนเดือดร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสะสมมากขึ้นทุกวันจนมีปัญหาให้ทุกภาคส่วน ต้องแก้ไขยาวไปอีกหลายเดือนนับจากนี้… 

เรื่องปากท้องน่ากังวลมากกว่าไวรัสโคโรน่าสำหรับหลายๆ คนแน่นอน… ประเด็นก็คือ คนส่วนใหญ่ไม่ได้มีรายได้จากการทำงานที่บ้าน หรือยืนห่างคนอื่นสองเมตรนอกชุมชน โดยเฉพาะแรงงานรายวันที่กำลังแห่กลับภูมิลำเนาที่โชคร้ายซ้ำเข้าไปอีกเมื่อประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะภัยแล้งที่คาดว่า… จะยาวนานจนถึงมิถุนายนของปีเลยทีเดียว

ผมกำลังพูดถึงแนวโน้มค่าครองชีพทั้งข้าวปลาอาหารพืชผัก ที่ย่อมจะแพงขึ้นกว่าเดิมเพราะภัยแล้งคุกคามผลผลิต ทั้งนาปรัง มันสัมปะหลัง อ้อยหรือพืชผักมากมายไม่ได้อุดมสมบูรณ์… และอาชีพเกษตรเพื่อหลบภัย COVID-19 ของหลายๆ คนก็คงเป็นไปไม่ได้เช่นกัน

EIC หรือ Economic Intelligence Center โดยธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ออกรายงานการประเมินสถานการณ์ภัยแล้งปีนี้ว่า… สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2020 เริ่มเร็ว รุนแรง และมีแนวโน้มที่จะยาวนานกว่าปีที่ผ่านมา… ในช่วงปลายปี 2019 ระดับน้ำเก็บกักในเขื่อนหลายภูมิภาคเริ่มลดลงก่อนที่จะผ่านพ้นช่วงฤดูฝน สะท้อนว่าประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ฤดูแล้งเร็วกว่าปกติ โดยข้อมูลจากศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงเดือนกันยายน 2019 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2020 ว่า…

มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายรวม 1,624,501 ไร่… ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1,442,674 ไร่ คิดเป็นสัดส่วน 89% ของพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายโดยรวม ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ 180,684 ไร่ และพื้นที่เพาะปลูกพืชสวนและอื่นๆ อีก 1,143 ไร่

เมื่อพิจารณาระดับน้ำในเขื่อน ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2019 พบว่า ภูมิภาคที่มีปริมาณน้ำในเขื่อนน้อย ได้แก่ ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออก ในขณะที่ภาคกลางเผชิญภาวะน้ำในเขื่อนน้อยเข้าขั้นวิกฤติแล้ว โดยทั้งภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก และกลาง มีปริมาณน้ำในเขื่อนต่ำกว่าระดับน้ำเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี และยังต่ำกว่าระดับน้ำเก็บกักของปี 2014 ซึ่งเป็นปีที่ไทยเผชิญภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งสะท้อนว่า… ประเทศไทยกำลังเผชิญภัยแล้งระดับรุนแรง โดยปัจจุบัน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินด้วยภัยแล้งแล้ว รวมทั้งหมด 22 จังหวัดไปแล้ว… 

และกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ภัยแล้งในปี 2020 จะยาวนานกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีแนวโน้มแล้งยาวไปถึงเดือนมิถุนายน 2020

สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการเกษตรไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้…  EIC จึงได้ประเมินผลกระทบของภัยแล้งต่อผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน โดยสัดส่วนจำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่เพาะปลูกพืช 5 ชนิดดังกล่าวรวมกันคิดเป็น 97% ของจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งประเทศ 

ผลการวิเคราะห์ในเบื้องต้น พบว่า ภัยแล้งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตข้าวนาปรัง อ้อย และมันสำปะหลังเนื่องจากมีการเพาะปลูกมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยข้าวนาปรังเริ่มเพาะปลูกตั้งแต่ช่วงปลายปี 2019 แล้ว ในขณะที่อ้อยและมันสำปะหลังสามารถเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยข้าวนาปรัง อ้อย และมันสำปะหลังจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมกราคม – เดือนมิถุนายน ปี 2020 ในปริมาณมาก

ผมแนบลิงค์รายงานฉบับเต็มไว้ให้ใต้อ้างอิงเช่นเดิมครับ… สำหรับข้อมูลทั้งหมด!

เรื่องของเรื่องคือ ไม่ว่าจะอ่านมุมไหนก็ไม่มีข่าวดีเสียเลยกับภาคเกษตรที่นับวันเราจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไปเรื่อยๆ หากภาคเกษตรของประเทศไทยยังทำกินกันแบบพึ่งธรรมชาติมากมายขนาดนี้… 

ท่านที่กลับภูมิลำเนาเพื่อหลบภัยเหมือนได้พักร้อนผมยินดีกับท่านด้วยก็แล้วกัน… ส่วนท่านที่กลับภูมิลำเนาเพื่อรื้อฟื้นอาชีพทางการเกษตร หรือแม้แต่ท่านที่ทำนาทำสวนทำไร่อยู่เดิมและได้รับผลกระทบ แบบปีไหนมีของขาย ก็ราคาตก… ส่วนปีไหนน้ำแล้งแทบไม่มีของจะขายค่อยราคาแพงอย่างปีนี้ ซึ่งงานวิจัยทุกสำนักเศรษฐกิจชี้ว่า… สินค้าเกษตรจะแพงขึ้นทุกชนิด แต่เกษตรกรคงจนเท่าเดิมเพราะแห้งแล้งและไม่มีอะไรจะขาย… 

ถึงตรงนี้ผมก็ไม่ทราบว่าจะพูดถึงอะไรต่อดี… มีก็ข่าวดีเรื่องงานหนึ่งข่าว ที่ไม่เกี่ยวกับน้ำแล้งมาฝาก… ได้ยินมาว่าช่วงปิดเมืองสู้ COVID-19 คราวนี้… 7-11 รับคนส่งของจำนวนมาก ซึ่งถ้าท่านใดพร้อมก็ลองแวะไปสอบถามที่ 7-11 ใกล้บ้านดู

ส่วนท่านที่อยากปรับไร่นาไปทำเกษตรสมัยใหม่ที่พึ่งพาธรรมชาติน้อยลงแบบที่เรียกว่า AgTech Driven หรือการทำเกษตรกรรมด้วยเทคโนโลยี และอยากรู้ข้อมูลอะไรแค่ไหน… Add line @properea ทักเข้ามาและทิ้งข้อความไว้ได้เลยครับ ช่วงนี้ตอบช้าหน่อยแต่ตอบทุกท่านแน่นอน… และผมคิดว่าโอกาสนี้เหมาะมากที่เราจะพลิกไปใช้เทคโนโลยีการเกษตร ที่พึ่งพาได้มากกว่าทั้งฝนแล้ง น้ำท่วมหรือโรคระบาด…

เพราะสุดท้ายแล้ว… พืชผักข้าวปลาล้วนของจริงของชีวิต!

อ้างอิง

https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/6659/fl65qe2x1g/EIC-Note_drought_TH_20200302.pdf
https://brandinside.asia/7-eleven-delivery-service-test/

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Private Astronauts and LEO Economy… นักบินอวกาศเอกชน และ เศรษฐกิจบนวงโคจรลีโอ

วิสัยทัศน์การเป็นเผ่าพันธ์ข้ามอวกาศของมนุษย์โลก จะเริ่มต้นก้าวแรกด้วยการก่อสร้างที่อยู่อาศัยบนชั้นบรรยากาศระต่ำของโลก หรือ Low Earth Orbit หรือ LEO ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางจากพื้นโลกขึ้นไปไม่เกิน 2,000 กิโลเมตร… โดยสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ได้จริงแห่งแรกก็คือสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS หรือ International Space Station ซึ่งก่อสร้างอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 340 กิโลเมตร…

Winston Churchill

We Shall Fight on the Beaches ― Sir Winston Churchill

การประกาศปิดประเทศ หรือ Shut Down อย่างเป็นทางการในศตวรรษที่ 21 ของประเทศต่างๆ ค่อนโลกรวมทั้งประเทศไทย ถือเป็นเรื่องไม่ปกติในโลกยุคโลกาภิวัฒน์… ซึ่งการ Shut Down เป็นเรื่องเหมาะสมแล้วในยามยากลำบาก ที่พวกเราทั้งหมด ต้องลืมวิธีคิดแบบชีวิตปกติ ซึ่งคงไม่ต่างจากสถานการณ์ในภาวะสงครามนัก… ผมเกิดไม่ทันสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ผมคิดถึงสงครามโลกครั้งที่สอง และคิดถึงชายคนหนึ่งและคิดถึงสุนทรพจน์อันลือลั่นของเขาที่ได้อ่านและฟังมาหลายรอบ… Sir Winston Churchill

ที่ดินกว่าร้อยไร่… สถานีขอนแก่น

สถานีรถไฟขอนแก่น เป็นอีกหนึ่งชุมทางใหญ่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่รับเที่ยวรถไฟทั้งระบบทางคู่และรถไฟความเร็วสูง สถานีรถไฟขอนแก่นจึงเป็นชุมทางกลุ่มแรกๆ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย จับลอกคราบต้อนรับศัตวรรษแห่งการเดินทางและขนส่งทางราง… 

Drought 2020

ภัยแล้ง… ตัวแปรสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบ

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าประเทศไทยต้องเผชิญฝนแล้งยาวนานจนถึงเดือน มิถุนายน โดยคาดว่าปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าปกติ 3-5% ในพื้นที่แล้งซ้ำซาก ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนบน