ร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ

space walker

วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2563 โดยมีคุณพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเข้าร่วมด้วย 

รองนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งที่ประชุมว่า ไทยได้รับการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของเขตเศรษฐกิจทั่วโลก ประจำปี 2563 อยู่ที่ลำดับที่ 39 จาก 63 ประเทศ สูงขึ้นกว่าเดิม 1 ลำดับ จากการประกาศผลของสถาบันการจัดการนานาชาติ หรือ International Institute for Management Development หรือ IMD สะท้อนความสำเร็จในการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศไทย ที่พร้อมผลักดันนโยบายและขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศให้ดียิ่งขึ้น 

โดยที่ประชุมได้รับทราบผลการประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการดำเนินการเฝ้าระวังและบริหารจัดการการจราจรทางอวกาศ หรือ Space Situational Awareness and Space Traffic Management ครั้งที่ 1/2563 และได้พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. ……. เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคใหม่ของกิจการอวกาศ หรือ New Space Economy… โดยมีการปรับปรุงแก้ไข 9 ประเด็น ได้แก่ 

1. เพิ่มการพัฒนากิจการอวกาศเชิงพาณิชย์และความมั่นคงปลอดภัย
2. เพิ่มรายละเอียดการอนุญาต/การให้ใบอนุญาตในการดำเนินกิจการอวกาศและโครงสร้างพื้นฐานอวกาศให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น
3. เพิ่มคำนิยามโครงสร้างพื้นฐานกิจการอวกาศและประเภทของดาวเทียมให้รวมถึงสิ่งที่อยู่ในอวกาศและภาคพื้นดิน
4. เพิ่มลักษณะประเภทอุตสาหกรรมดาวเทียม
5. เพิ่มวิธีการกำกับดูแล แบ่งปันข้อมูล การเรียกดูข้อมูล และสิทธิประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ 

6. เพิ่มรายละเอียดการดำเนินการเกี่ยวกับด้านวัตถุอวกาศ ได้แก่การค้นหาและการส่งคืน หรือยึดไว้ให้อยู่ในอำนาจของผู้แทนของรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
7. เพิ่มความรู้ด้านการศึกษา เป้าหมาย และแนวทางในการกำหนดนโยบายของกิจการอวกาศ
8. เพิ่มรายละเอียดอำนาจหน้าที่ของกิจกรรมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ให้มีอำนาจในการออกระเบียบ หลักเกณฑ์ในประเด็นที่มีนัยสำคัญ เพื่อให้เกิดการดำเนินการต่อไปในทางปฏิบัติที่ชัดเจน และ
9. เพิ่มอำนาจหน้าที่ของสำนักงานกำกับดูแลกิจการอวกาศแห่งชาติ ให้เป็นหน่วยงานที่สามารถให้ทุนสนับสนุน และดำเนินกิจการอวกาศได้ 

นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำการดำเนินงานด้านกิจการอวกาศของประเทศ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการการทำงานโดยคำนึงถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดในนโยบายรัฐบาล นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และไม่ให้เกิดผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง สิ่งแวดล้อม ประชาชนผู้ใช้บริการ และเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ

การรอคอยและลอยคอรอมานานของวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ไทย ที่สนใจกิจการด้านอวกาศ ซึ่งที่ผ่านมาได้แต่ดิ้นรนไปดูงานเหมือนไปชมพิพิธภัณฑ์ หรือเด็ดสุดก็ได้เป็นผู้ร่วมวิจัยในรายชื่อท้ายๆ ที่เจ้าภาพหลักยอมใส่ชื่อให้เพื่อเอาภาพนานาชาติไปหากินต่อเท่านั้น… ตอนนี้ก็ใกล้จะเป็นจริงเข้าไปอีกขั้น… ภาวนาว่าอย่ายุบสภาก่อนร่างนี้จะผ่านก็พอ เพี้ยง!

อ้างอิง…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Proprietary Trading และ Prop Trader หรือ ปอป

ประเด็นก็คือ… Prop Trader ในปัจจุบันกำลังเป็นอาชีพอิสระที่หลายคนสนใจทั่วโลก เพราะ Prop Trader สามารถดึง หรือ ใช้เงินลงทุนจากสถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเก็งกำไรมาเทรดแบ่งกำไรแบบจับเสือมือเปล่าได้นั่นเอง… แต่เกณฑ์การคัดตัวเข้าร่วมทีม Proprietary Trading ทั้งแบบงานประจำมีค่าจ้างเงินเดือนโบนัส และ แบบอิสระแบ่งค่าคอมมิชชั่นดิบกันเลยนั้น… เท่าที่ผมพอจะมีข้อมูลก็สุดเคี่ยวและเข้มข้นไม่ธรรมดา โดยเฉพาะ Proprietary Trading Firm ที่เปิดรับ Prop Traders ออนไลน์จากทั่วโลก เช่น FTMO… TOPSTEPFX… FIDELCREST… The5ers… CityTradersImperium

ปุ๋ยแห่งชาติ และ เหมืองโปแตช

ประเทศไทยยังไม่มีการทำเหมืองแร่โพแทชเพื่อนำมาสกัดเป็นโพแทสเซียมคลอไรด์ และ นำไปผลิตปุ๋ยเคมีใช้ในประเทศอย่างเป็นทางการมาก่อน… และ ข้อมูลที่พอจะเชื่อถือได้ชี้ว่า… ข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนตุลาคมปี 2021 มีการนำเข้าโพแทสเซียมคลอไรด์เพื่อผลิตปุ๋ย 100% ด้วยปริมาณ 789,594 ตัน… โดยนำเข้าจากแคนาดา 301,895 ตัน… เบลารุส 193,075 ตัน… อิสราเอล 88,895 ตัน และ รัสเซียอีก 6,838 ตัน

Construction

Big Data for Construction Industry

ในอุตสาหกรรมก่อสร้างก็หนีไม่พ้นที่จะต้องขับเคลื่อนด้วยดิจิตอลเช่นกัน แม้ข้อจำกัดเรื่องการก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ซึ่งเป็นงาน Onsite Operations เป็นส่วนใหญ่ แต่งาน Management หรืองานการจัดการมากมาย องค์กรที่พร้อมปรับไปสู่ดิจิตอลก็ได้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงกันอย่างคึกคักไปแล้วทั่วโลก…