สมุนไพร… โอกาสและแนวทางเริ่มต้น

Mitragynina Speciosa

สมุนไพรหรือพืชสมุนไพร… สำหรับประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทย ถือว่ามีศักยภาพมากไม่ธรรมดา และยังมีความหลากหลายของชนิดสมุนไพรและการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งฐานข้อมูลทางยาในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษของไทยเราเอง… และสมุนไพรเกือบทุกชนิด ถูกนำเข้าสู่ขั้นตอนการศึกษาวิจัยทางเภสัชศาสตร์ จนสมุนไพรบางชนิดกลายเป็นยาและวัตถุดิบผลิตยาไปแล้ว

ปัจจุบันความต้องการใช้สมุนไพรในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเนื่องมาจากความสนใจในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพร สามารถเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยสมุนไพรเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและสามารถสร้างความยั่งยืนในฐานะส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งนี้ยังเกิดจากการเปลี่ยนแปลงบริบทที่คาดการณ์ว่า จะส่งผลต่อความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ซึ่งเป็นส่วนของลักษณะการเจ็บป่วย และการเข้าสู่งสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ ทำให้มีแนวคิดในการใช้สมุนไพรเพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพและรักษาโรค

ตลาดสมุนไพรในโลกมีมูลค่ารวมกันประมาณ 9.18 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศที่มีมูลค่าทางการตลาดของสมุนไพรที่สูง ได้แก่ เยอรมนี ภูมิภาคเอเชีย ญี่ปุ่นและฝรั่งเศส ซึ่งกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพมากที่สุดในตลาดสมุนไพรคือ อาหารเสริมและเวชสำอาง นอกจากนี้ประเทศที่กำลังพัฒนาก็ยังมีความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้สมุนไพรและยาแผนโบราณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีการคาดการณ์อีกว่า ตลาดสมุนไพรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นตลาดสมุนไพรที่มีอัตรการขยายตัวที่มากที่สุดที่ 9.1% ต่อปี

สำหรับประเทศไทย พืชสมุนไพรที่ชุมชนรู้จักสรรพคุณและนำมาใช้ประโยชน์ มีประมาณ 1,800 ชนิด และมี 300 ชนิด ที่เป็นวัตถุดิบสมุนไพรหมุนเวียนในท้องตลาด แต่การบริหารจัดการสมุนไพรที่ไม่เป็นระบบที่ผ่านมา ทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบหลายชนิด คุณภาพวัตถุดิบไม่ผ่านมาตราฐาน และปัญหาด้านการกำหนดมาตรฐานคุณภาพวัตถุดิบ และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก มีความสามารถในการแข่งขันน้อย ทำให้สัดส่วนสถานประกอบการผลิตสมุนไพรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตมีน้อยมาก เพียงแค่ 4.47% เท่านั้น…

และจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือด้านเงินทุนเพื่อให้เกิดศักยภาพตามข้อกำหนด อีกปัญหาหนึ่งคือ ปัญหาความท้าทายจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและข้อตกลงทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต และจำหน่ายสินค้า รวมถึงการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรที่ค่อนข้างกระจัดกระจาย และไม่เพียงต่อการรองรับการพัฒนาสมุนไพรของประเทศ

จากความต้องการและปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมการปลูกให้ได้คุณภาพ สม่ำเสมอ ปลอดสารพิษ และมีกระบวนการผลิตเป็นที่ยอมรับ 

หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อว่า ตลาดในประเทศไทยเองสามารถเติบโตได้ จากภาพรวมการผลิตและจำหน่ายโดยคาดว่าผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรจะมีมูลค่าตลาด 2.69 หมื่นล้านบาท… ส่วนยารักษาโรคจากสมุนไพรมีมูลค่าตลาด 5.8 พันล้านบาท

ข้อมูลของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกสมุนไพรไทยอยู่ในหลักแสนล้านบาท โดยสมุนไพรไทยในกลุ่มอาหารเสริมมีมูลค่าการใช้และส่งออกรวมกว่า 80,000 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มสปาและผลิตภัณฑ์มีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท และกลุ่มยาแผนโบราณตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท ทั้งยังมีสมุนไพรกลุ่มสารสกัด กลุ่มที่ใช้ในอาหารสัตว์และกลุ่มที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอีกด้วย

การที่สมุนไพรไทยจะไปตลาดโลกได้นั้น จะต้องอาศัยกลยุทธ์ด้านการตลาดที่มุ่งเน้นลูกค้าคือ ต้องมีการวิจัยตลาดเพื่อค้นหาความต้องการของลูกค้า แล้วนำพฤติกรรมของผู้บริโภคมาค้นหาสินค้าและบริการที่ตรงตามความต้องการ เปลี่ยนจากการเพิ่มมูลค่า หรือ Value Adding… ไปสู่การสร้างมูลค่า หรือ Value Creating… และเปลี่ยนจาก Product Orientation ไปเป็น Customer Orientation… ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ต้องเปลี่ยนจาก Product Marketing ไปเป็น Strategic Branding และเน้นการสร้างมูลค่าในเชิงผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้งในประเทศและภูมิภาค และไทยต้องชิงการเป็นผู้นำด้านการผลิต จำหน่ายและบริการสมุนไพรครบวงจร เพื่อเป็นช่องทางในการแข่งขันในทุกๆ ด้าน เพื่อดึงรายได้เข้าประเทศและสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข็มแข็ง

ปัจจัยบวกอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสมุนไพรอย่างยิ่งก็คือ สัดส่วนประชากรสูงอายุของคนไทยที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งคนรุ่นใหม่นิยมใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ตลาดสมุนไพรที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมยาเติบโตขึ้น จากเดิมมีมูลค่า 18,000 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2562 มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเป็น 20,000 ล้านบาท ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2563… 

เครดิตภาพ: https://www.springnews.co.th

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ให้การสนับสนุนสมุนไพร 4 ชนิดเป็นพิเศษ ได้แก่  ก.กระชายดำ พ.ไพล บ.ใบบัวบก และ ข.ขมิ้นชัน หรือสมุนไพร ก.พบ.ข. โดยเฉพาะขมิ้นชัน นับเป็นสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ มีความโดดเด่น เพราะทั่วโลกให้ความสนใจนำมาใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพและการแพทย์ ถือเป็นโอกาสทางการตลาดให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากขมิ้นชันในรูปแบบออแกนิค หรือสารสกัดที่ได้มาตรฐานรับรองด้านความปลอดภัย ทั้งหมดนี้จึงถือเป็นโอกาสที่สำคัญหากประเทศไทยสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาผลักดันสมุนไพรไทยให้ไปไกลระดับโลกได้อย่างมีมาตราฐาน 

คำแนะนำวันนี้จากผมและ Properea.com สำหรับท่านที่กำลังสนใจผลิตพืชสมุนไพรก็คือ เริ่มที่ ก.พบ.ข. และปรึกษาเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่านได้หมดตั้งแต่เตรียมปลูกจนถึงตลาดหรือแปรรูป หรืออยากเรียนรู้ดูงานด้านออแกนิค… หลังไมล์มาทาง Line: @properea ได้เลยครับ

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

รถไฟฟ้าระยอง…

ระยองเป็นส่วนหนึ่งของ EEC ที่ถือว่าอยู่ใกล้ศูนย์กลาง EEC ไม่ต่างจากชลบุรี เพราะพื้นที่พัฒนารอบสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา มีพื้นที่ของระยองติดอยู่ในแผนเยอะทีเดียว

Ricult สตาร์ทอัพเพื่อเกษตรกร

Ricult อ่านว่า รีคัลท์ เป็นชื่อที่ “โคตรเก๋ไก๋” ในความคิดของผม Ricult เป็นชื่อที่ตัดมาจากคำเต็มของ Agriculture โดยการตัด Ag ด้านหน้าคำทิ้ง และตัด ure ด้านหลังคำทิ้งด้วยจึงเหลือเพียง ricult… ที่ผมคิดว่า คนคิดชื่อช่างมีความคิดสร้างสรรค์ที่ล้ำเลิศ

Cardano ADA

Cardano Blockchain และ ADA Coin

Cardano Blockchain ซึ่งริเริ่มและพัฒนาโดย Charles Hoskinson นักคณิตศาสตร์คนสำคัญที่ร่วมทีมพัฒนา Ethereum Blockchain และเชื่อมั่นในแนวทาง Proof-of-Stake และริเริ่มจนเกิด Cardano Blockchain ซึ่งเป็น PoS Blockchain โครงข่ายแรก ที่ใช้ระบบตรวจสอบธุรกรรมโดยผู้ตรวจสอบ หรือ Validator ที่ต้องลงเหรียญค้ำประกันการเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรม เพื่อทำหน้าที่ หลอม หรือ Forge และ สร้างบล๊อก หรือ Mint Block บน Cardano Blockchain

Writing for Social Media จาก BerkeleyX

งานเขียนไม่เคยง่าย… โดยเฉพาะงานเขียนเผยแพร่ทางออนไลน์ที่มุ่งทำข้อมูลให้น่าอ่าน ซึ่งปัจจุบันก็มีคนไม่มากที่ยังนิยมอ่านอะไรยาวๆ ที่ตัวเองไม่ได้สนใจจริง หรือ ไม่ได้ประโยชน์โดยตรง ยกเว้นการอ่าน Text Message หรือ ข้อความบนแอพแชท และ การอ่านข้อความทางโซเชี่ยลมีเดีย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของ “สารในรูปข้อความ” ที่นักสื่อสารมวลชน นักนิเทศก์ และ นักการตลาดในยุคโซเชี่ยลมีเดียต้องเรียนรู้ใหม่ หรือ Re-Learn กันตั้งแต่ “แนวคิด” ไปจนถึง “การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการสื่อสาร” ของงานเขียนที่ทำขึ้นเพื่อใช้งานทางโซเชี่ยลมีเดีย