เศรษฐกิจไทย… ซึมยาว!

Cashflow

ผมร่างต้นฉบับบทความตอนนี้ในเช้าวันที่ 1 ตุลาคม ปี 2020 หลังจากอ่านข่าวประจำวันและฟังพ็อดคาสท์เพื่ออัพเดทและเรียนรู้… เวบไซต์ข่าวคุณภาพของคุณโหน่ง วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ชื่อ thestandard.co ถือเป็นแหล่งอาหารสมองยามเช้าที่ผมไม่พลาด… ผม Bookmark หน้าข่าวเศรษฐกิจที่คุณชุตินันท์ สงวนประสิทธิ์ เขียนไว้บน thestandard.co ตั้งแต่สัปดาห์ก่อน ซึ่งตอนแรกผมไม่คิดว่าตัวเองจะต้องเอามาเขียนถึงประเด็นเศรษฐกิจมหภาค เพราะเนื้อข่าวโทนเดียวกันนี้ จากข้อมูลชุดนี้มีเผยแพร่ทั่วไปและทำไว้ดีอยู่แล้ว

แต่เช้าวันที่ 1 ตุลาคม วันแรกของไตรมาสสุดท้าย… นอกจากข่าวสารที่ไม่มีอะไร “ให้รู้สึกว่าเปลี่ยนแปลงดีขึ้นบ้าง” เกิดขึ้นเลย… การไม่มีอะไรดีขึ้นเลยแต่เวลาผ่านไปเรื่อยๆ แปลว่าเรากำลังถดถอยเพราะเวลาถูกใช้ไปเท่าเดิม

ผมเปิด Bookmark รายงานสรุปของคุณชุตินันท์ สงวนประสิทธิ์มานั่งอ่านอย่างละเอียด โดยเฉพาะข้อมูลเล็กๆ ที่เป็นข่าวคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ และ กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยปี พ.ศ. 2563 อาจหดตัว 7.8% น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 8.1%… เพราะไตรมาส 2/63 GDP ติดลบเพียง 12.2%… น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้

แต่ข้อมูลที่กล่าวถึงศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ EIC คาดการณ์ถึงมาตรการที่เตรียมไว้จากธนาคารแห่งประเทศไทย หากเศรษฐกิจไทยปรับแย่ลงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก หรือ ภาวะการเงินไทยปรับตึงตัวขึ้น… ซึ่งเครื่องมือทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องงัดออกมาใช้ลำดับถัดไป เช่น การเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน หรือ Quantitative Easing หรือทำ QE… ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม… หรือ ดำเนินมาตรการ Yield Curve Control ซึ่งทั้งหมดนั้นแปลว่า

ตัวเลขหลักๆ ในมือฝ่ายเศรษฐกิจมองว่า… เศรษฐกิจไทยยังจะซึมยาวต่อไปอีกค่อนข้างชัด… และถ้าดูคู่กับภาวะการระบาดของ COVID19 ทั่วโลก… ปี 2021 ก็ยังไม่ใช่ปีที่จะเห็นอะไรๆ พลิกกลับไปดีกว่านี้ได้แน่ๆ 

ประเด็นที่จะออกความเห็นวันนี้คือ… ถ้าจะถอย ก็รีบถอยไปตั้งหลักเหมือน Disney ดำเนินการขั้นตอนเลิกจ้างพนักงาน Disneyland มากถึง 28,000 คนไปแล้ว… ถ้าจะสู้ต่อต้องถนอมพลังเพื่ออึดให้ได้ยาวๆ ถือเงินสดไว้ อย่าให้ Cashflow สดุด… และให้กำลังใจกันเยอะๆ! ส่วนโอกาสที่เข้ามา พิจารณาเป็นรายกรณีไป… ความเสี่ยงแม้น้อยนิด ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องแลก… ดูอย่างไฟแนนซ์หรือธนาคารที่ถือคติ… เงินท่วมดีกว่าหนี้สูญกันทุกแห่งในตอนนี้

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Pangenome… แผนที่พันธุกรรมมนุษย์ฉบับแพนจีโนม

การตีพิมพ์เผยแพร่ร่างแรกของแผนที่พันธุกรรมมนุษย์ฉบับ “Pangenome หรือ แพนจีโนม” หัวข้อ A Draft Human Pangenome Reference ในวารสาร Nature และวารสารวิชาการในเครือ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2023 ที่ผ่านมา อันถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ นับตั้งแต่การรวบรวม ข้อมูลพันธุกรรม หรือ Genome ของมนุษย์ได้สำเร็จครั้งแรกเมื่อปี 2003 ซึ่งต่อมานักวิทยาศาสตร์ยังสามารถถอดรหัสพันธุกรรมของ Genome มนุษย์ดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ ในปี 2022 อีกด้วย

ทิศทางและแนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศ… ไตรมาส 3/2022

ความเคลื่อนไหวต่อกระแสการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชดเชยอัตราเงินเฟ้อที่ทั่วโลกเผชิญอยู่ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งความเห็นที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย… ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ให้ข้อมูลกับสำนักข่าวหลายแห่งไปเมื่อสัปดาห์ก่อนพอสรุปได้ว่า… ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจนขึ้น คาดว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพราะหากดูทิศทางเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปี พ.ศ. 2565 คาดว่ามีทิศทางฟื้นตัวดีต่อเนื่องโดยคาดว่าการขยายตัวจะเติบโตเกินระดับ 3% ได้อยู่ โดยแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทยจะควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ระดับต่ำ ไม่ผันผวน และ การขึ้นดอกเบี้ยของไทยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับต่างประเทศ

มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น… โดยกรมสรรพากร

อธิบดีกรมสรรพากร… คุณเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ กล่าวว่า… กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากร ได้ให้ความสำคัญแก่การระดมทุนของวิสาหกิจเริ่มต้น จึงได้เสนอ… ร่างพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ …) พ.ศ. … (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup)) ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการลงทุนใน Startup ไทย ที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามที่คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายประกาศกำหนด

Cashflow

เศรษฐกิจไทย… ซึมยาว!

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ EIC คาดการณ์ถึงมาตรการที่เตรียมไว้จากธนาคารแห่งประเทศไทย หากเศรษฐกิจไทยปรับแย่ลงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก หรือ ภาวะการเงินไทยปรับตึงตัวขึ้น… ซึ่งเครื่องมือทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องงัดออกมาใช้ลำดับถัดไป เช่น การเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน หรือ Quantitative Easing หรือทำ QE… ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม… หรือ ดำเนินมาตรการ Yield Curve Control