การเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญของชีวิต และตลอดชีวิตล้วนเต็มไปด้วยการเรียนรู้ โดยมีองค์ความรู้มากมายสะสมอยู่ในรูปของสาร หรือ Message ผูกติดอยู่กับตัวกลางหรือสื่อ หรือ Media หลายรูปแบบ ที่มนุษย์คนหนึ่งเรียนรู้ หรือ Learn ทั้งที่เข้าใจและไม่เข้าใจ ทั้งเป็นประสบการณ์ที่ดีและเป็นประสบกรรมหรือกรรมที่ประสบจนอยากแบ่งปัน… คนที่ได้รู้บางอย่างมาจึงมีสารบอกเล่าแบ่งปันคนอื่นๆ เสมอ
แต่ไหนแต่ไรมา การเรียนจะเกิดขึ้นคู่กับการสอนเสมอ และไม่ว่าจะผ่านมานานเท่าไหร่หรือเทคโนโลยีจะก้าวหน้าแค่ไหน การเรียนก็ยังอยู่คู่กับการสอน ซึ่งเปลี่ยนแปลงเพียงตัวกลางหรือสื่อ หรือ Media ซึ่งจะเรียกว่าเป็นวิธีสื่อสารถ่ายทอดความรู้ก็ได้… แต่การเรียนการสอนที่เผ่าพันธ์มนุษย์ใช้ถ่ายทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานนั้น จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครค้นพบแนวทางที่ยอดเยี่ยมจนบอกได้ว่า “ทำแบบนี้ดีกว่าแบบนั้น”
อุตสาหกรรมการศึกษาจึงเติบโตอย่างหลากหลายแนวทางและวิธีการ จนไม่จำเป็นต้อง “กรอบ หรือ Frame” เพื่อวัตถุประสงค์อะไรอื่นอีกนอกจาก… การได้ส่งต่อและสืบทอดองค์ความรู้ที่คนสอนหรือคนส่งต่ออยากแบ่งปันสู่คนที่อยากสืบทอด เพื่อเอาองค์ความรู้นั้นไปสร้างประโยชน์ให้ตัวเองหรือส่วนรวม
ประเด็นก็คือ… การส่งต่อและสืบทอดองค์ความรู้ในนาม “การเรียนการสอน” เป็นเรื่องของ “สติปัญญา” ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการทำงานของสมองส่วนหน้าหลังจากได้รับสาร หรือ Message ทุกรูปแบบจากทุกสื่อและต้นทางของสาร… รวมทั้งความรู้และประสบการณ์ที่ต่างออกไปจากเดิม ที่สมองเคยมีข้อมูลสะสมเก็บไว้อยู่ก่อน
แนวทางหรือรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้ได้ผลที่สุด ซึ่งยืนยันจากทฤษฎีการศึกษาทุก Paradigm หรือ ทุกกระบวนทัศน์ จึงยืนยันตรงกันหมดว่า… ท้ายที่สุดแล้ว การเรียนรู้ทั้งมวลก็เพื่อสะสมเป็นประสบการณ์ใส่สติปัญญา ตั้งแต่ประสบการณ์ระดับเคยได้ยินได้เห็นหรือเคยได้อ่าน ไปจนถึงเคยได้ทำมาแล้วกับมือจนสอนใครต่อก็ยังได้
เคยมีคำกล่าวจาก Benjamin Franklin… มหาบุรุษผู้ร่วมสร้างสหรัฐอเมริกาที่ถูกเรียกว่า Founding Fathers of the United States หรือ บิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ หรือกลุ่มผู้ร่างและลงนามในคำประกาศอิสรภาพในปี 1776… ก็เคยพูดเกี่ยวกับการศึกษาเอาไว้หลายแง่มุม โดยเฉพาะแง่มุมการเรียนรู้ที่ว่า Tell Me And I Forget, Teach Me And I May Remember, Involve Me And I Learn… บอกข้าฯ เดี๋ยวข้าฯ ก็ลืม สอนข้าฯ… ข้าฯ อาจจะจำ ฝึกข้าฯ… ข้าฯ ได้เรียนรู้… ซึ่งสะท้อนขั้นตอนการเรียนรู้ที่มีอยู่ 3 ขั้นตั้งแต่ บอกเล่า สอนสั่งและฝึกฝน… โดยขั้น “การบอกเล่าและสอนสั่ง” ถือว่ายังไปไม่ถึง “เรียนรู้ หรือ Learn” จนกว่าจะได้นำความรู้นั้นไปปฏิบัติ ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดว่าต้องฝึกกับครูบาอาจารย์อย่างเดียว… ฝึกและทำด้วยตัวเองก็ได้จนเกิดการเรียนรู้
Benjamin Franklin หรือ เบนจามิน แฟรงคลิน เป็น ช่างพิมพ์ นักเขียน นักปรัชญา นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ นักปฏิรูป และนักการทูตคนสำคัญของสหรัฐอเมริกา
ในฐานะนักวิทยาศาสตร์… Benjamin Franklin มีผลงานหลายอย่างที่โดดเด่น โดยเฉพาะผลงานที่สำคัญอย่าง ทดลองและพิสูจน์เรื่องปะจุไฟฟ้าในเมฆฝน จนถือว่าเป็นผู้ออกแบบคิดค้นสายล่อฟ้า… นอกจากนั้นยังเป็นคนประดิษฐ์แว่นตา Bifocals หรือแว่นสายตาสองระยะโฟกัส หรือแว่นตาแบบเลนส์สองชั้น โดยออกแบบให้พื้นที่ส่วนล่างของเลนส์มีไว้อ่านหนังสือ ในขณะที่ส่วนบนเอาไว้มองระยะไกล ซึ่งเป็นปัญหาสายตาที่คนส่วนใหญ่ต้องเจอเมื่ออายุสูงขึ้น
นอกจากนั้นยังมีผลงานการออกแบบ Franklin Stove หรือเตาผิงในบ้านเมืองหนาวที่พัฒนามาใช้เหล็กกล้าเป็นขอบเตาเพื่อสะสมความร้อนจากฟืนหรือถ่านหินได้นานกว่าและให้ความร้อนสูงกว่าเตาผิงก่ออิฐหรือหินเป็นโครงสร้าง นอกจากนั้น Franklin Stove ยังออกแบบการไหลของอากาศตามหลักอากาศพลศาสตร์อย่างดี ทำให้สามารถระบายควันออกปล่องไฟได้ดีกว่าและมีควันม้วนในบ้านน้อยกว่าเตาผิงแบบอื่นมาก
ในกลุ่ม Founding Fathers of the United States หรือ บิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ ซึ่งประกอบไปด้วย John Adams, Benjamin Franklin, Alexander Hamilton, John Jay, Thomas Jefferson, James Madison, และ George Washington นั้น… Benjamin Franklin มีความสำคัญในฐานะนักการทูตผู้ดูแลความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับฝรั่งเศส จนนำไปสู่การประกาศอิสรภาพ และแยกตัวจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษในที่สุด… ซึ่งก่อนหน้านั้น Benjamin Franklin ก็ได้ใช้โรงพิมพ์และความโดดเด่นในฐานะนักเขียนและนักสื่อสารมวลชน เผยแพร่แนวทางการรวมกันเป็นสหพันธรัฐ เพื่อโน้มน้าวเขตปกครองอื่นๆ ให้เข้าร่วมสหพันธ์ โดยเฉพาะการ์ตูนการเมืองใน Pennsylvania Gazette ฉบับวันที่ 9 เดือนพฤษภาคม ปี 1754 ชื่อ Join, or Die ซึ่งเป็นรูปงูถูกหั่นเป็นท่อนๆ มีชื่อเขตปกครองต่างๆ กำกับแต่ละท่อนตั้งแต่หัวถึงหาง
Benjamin Franklin เริ่มต้นชีวิตจากการเป็นนักเรียงพิมพ์ในฟิลาเดลเฟีย และโด่งดังร่ำรวยขึ้นจากผลงานการพิมพ์หนังสือของตัวเองชื่อ Poor Richard’s Almanack และ หนังสือพิมพ์เพนน์ซิลเวเนียแกเซตต์ หรือ Pennsylvania Gazette… ซึ่ง Benjamin Franklin ในฐานะนักสื่อสารมวลชนก็โดดเด่นอย่างยิ่ง
ความเคลื่อนไหวของกลุ่ม United States Declaration of Independence ซึ่งเข้มข้นเด่นชัดมาตั้งแต่ 11 มิถุนายน ปี 1776 ก็ชัดเจนถึงขั้นประกาศอิสรภาพในวันที่ 4 กรกฎาคม ปี 1776 ซึ่งรู้จักกันในชื่อ The Fourth of July หรือวันชาติสหรัฐอเมริกานั่นเอง… ซึ่งแกนนำกลุ่ม Founding Fathers of the United States หรือ บิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ ได้ร่วมกันนำสหรัฐอเมริกาเข้าสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม… Benjamin Franklin แม้จะโดดเด่นหลายเรื่องจนนับผลงานมากมายที่ชายคนนี้สร้างขึ้นไม่ไหว โดยเฉพาะการเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองจนปลดปล่อยสหรัฐอเมริกาเป็นอิสระจากการเป็นอาณานิคมได้สำเร็จ… แต่คนส่วนใหญ่รู้จักและยกย่อง Benjamin Franklin ในฐานะนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์มากกว่า และยกย่อง Benjamin Franklin ให้เป็นนักการศึกษาที่ดิ้นรนก่อตั้งมหาวิทยาลัยและห้องสมุดหลายแห่ง โดยเฉพาะการก่อตั้งยูเพ็น หรือ UPENN หรือ University of Pennsylvania จนกลายเป็นเสาหลักทางปัญญาให้คนอเมริกันและนักศึกษาจากทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
Benjamin Franklin ในมิติทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ จึงควรค่าที่จะเอ่ยถึงและกล่าวอ้างอิงในความเกี่ยวข้องจากวิสัยทัศน์และผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ชัด… โดยเฉพาะความจริงใจในการศึกษาค้นคว้าผ่านการลงมือทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ซึ่ง Benjamin Franklin ได้เขียนไว้เป็นคำคมว่า Well done is better than well said… ลงมือทำให้เสร็จเด็ดกว่าพูดให้ดูดี
โดยส่วนตัวผมเรียนรู้แนวคิดและผลงานของ Benjamin Franklin ในหลายมิติ โดยเฉพาะในมิติทางการศึกษา ซึ่งผมสนับสนุนแนวทางการจัดการเรียนการสอนด้วยการให้ทั้งความรู้และฝึกทักษะถึงขั้นพร้อมทำงานมากกว่า เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ของผม เจอแต่นักศึกษาจบใหม่ที่รับเข้ามาเป็นเพื่อนร่วมงาน ล้วนขาดทักษะทำงาน แถมยังมากับความรู้ล้าหลังถึงขั้นต้องสอนกันใหม่หมดก็มี… ยิ่งในช่วงที่เกิดการ Lockdown จากวิกฤตโควิดทั้งสองช่วงที่ผ่านมา ผมได้เห็นคนในระบบการศึกษาบ้านเราส่วนหนึ่ง ละเลยการสอนและจัดระบบขั้นตอนการเรียนรู้ให้นักเรียนนักศึกษาแบบไม่รับผิดชอบหลายกรณีจนเอ่ยถึงไม่ไหว… ซึ่งส่วนใหญ่ก็อ้างปัญหาโควิดทำให้การเรียนการสอนเหมือนเดิมไม่ได้ ก็เลยทำให้ได้เท่าที่ทำได้… จนเห็นการยอมให้การเรียนการสอนออกมาแย่ๆ โดยไม่คิดจะปกป้อง “สิทธิพึงได้ของผู้เรียน” อย่างน่าละอาย
พูดถึง Benjamin Franklin แล้ว ยอมรับตรงๆ ว่าผมเขียนถึงชายคนนี้ได้ไม่หมด แม้แต่เท่าที่ผมรู้จักและมีข้อมูลอยู่ซึ่งถือว่าน้อยนิด… และที่ลืมไม่ได้คือ Thirteen Virtues หรือ สิบสามคุณธรรม ของ Benjamin Franklin ที่มหาบุรุษท่านนาม Benjamin Franklin ใช้นำทางสร้างเรื่องยิ่งใหญ่มากมายมาตั้งแต่อายุ 20… ผมคิดว่าคงต้องทำข้อมูลไว้อ้างอิงในมุม “ส่งเสริมการพัฒนาตัวเอง” ในเวบไซต์ Reder.red บ้างแล้วหล่ะ อย่าลืมแวะติดตามด้วยครับ…
สุดท้ายนี้… Properea.com มีเรื่องอยากแจ้งให้มิตรสหายและท่านผู้อ่านที่ Ad line Properea เพื่อติดตามกันมาอย่างต่อเนื่องนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 เป็นต้นไป… Line OA Properea จะลดการส่งข้อความเป็น Rich Message ลงจากวันละ 1 ข้อความเหลือ 3 วันต่อหนึ่งข้อความ โดยยังเป็นการส่งลิงค์บทความที่จะรวมลิงค์ของ 3 บทความใหม่ล่าสุด ให้ท่านเช่นเดิม เพียงลดจำนวนข้อความรบกวนทุกท่านลง 3 เท่า… แต่การเผยแพร่บทความใหม่ทุกเช้าวันใหม่เวลา 01:01 นาฬิกา ยังคงต่อเนื่องทุกวันเช่นเดิมที่ https://properea.com รวมทั้งเผยแพร่ลิงค์บทความใหม่ผ่าน Line Timeline Properea เวลา 08:08 ทุกวันแทนการส่งข้อความครับ… ส่วนเป้าหมายใหม่ของ Properea.com ในปี 2021 เป็นต้นไป จะมีการเพิ่มมิติองค์ความรู้ด้านการลงทุนในโลกดิจิทัลและความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ ที่เป็นประโยชน์กับการวางแผนค้าขายทำธุรกิจและการลงทุนให้มากขึ้น… อย่าลืมติดตามและแบ่งปันแชร่ต่อด้วยครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม!