หนังสือที่มีคนกล่าวถึงมากมายที่สุดเล่มหนึ่งของโลก คงจะเป็น Mindset ของ Carol S. Dweck ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาสังคมจาก Stanford University ซึ่งแนะนำชาวโลกให้รู้จักกับคำว่า Growth Mindset ผ่านหนังสือที่เธอเขียน จนมีการนำแปลเผยแพร่ในหลายสิบภาษาทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทย
หลายท่านที่เป็นนักอ่านคงไม่พลาดหนังสือที่ Bill Gates แนะนำเล่มนี้… และยังเป็นคำภีร์ที่ Satya Nadella ในฐานะ CEO ของ Microsoft ผู้พาองค์กรที่อยู่ในภาวะวิกฤติพลิกฟื้นกลับมายิ่งใหญ่เหมือนยุค 90 อีกครั้ง ด้วยการนำ Growth Mindset เข้ามาปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กร… และ Satya Nadella อ้างถึงหนังสือเล่มนี้บ่อยครั้ง
ผมจะไม่รีวิวหนังสือหรือลงรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือของ Carol Dweck เพราะมีข้อมูลการรีวิวหนังสือเล่มนี้มากมายแล้ว และการอ่านทั้งเล่มด้วยตัวเองยังเป็นคำแนะนำแรกที่ผมอยากบอก เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้… แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ก่อนจะเข้าประเด็นเรื่อง การสอนและช่วยเด็กๆ สร้าง Growt Mindset ผมคิดว่าควรจะเล่าอะไรเกี่ยวกับ Mindset เผื่อท่านที่ยังใหม่กับเรื่องนี้สักเล็กน้อย
คำว่า Mindset หรือชุดความคิด หรือกรอบคิด… โดยทั่วไปก็คือมุมมองในการตัดสินประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวเองบ้าง เกี่ยวกับคนอื่นบ้าง และหลักๆ จะวนเวียนอยู่กับรักเกลียดโกรธชอบและระแวงสงสัยไว้ใจเชื่อถือ… ที่คนมีต่อกัน
ประเด็นก็คือ Mindset มีทั้งที่เป็นคุณและเป็นโทษต่อตัวเอง ซึ่ง Carol Dweck ได้ถอดกลไกของ Mindset หรือชุดความคิด ทั้งสองด้านมาอธิบายผ่านคำสองคำคือ Fixed Mindset และ Growth Mindset
คนที่มี Fixed Mindset หรือ มีชุดความคิดแบบตายตัว มักจะคิดว่าอะไรเป็นอย่างไร ก็จะเป็นอย่างนั้น… เปลี่ยนไม่ได้ หรือแม้แต่หามุมมองใหม่ก็ไม่ได้… เหมือนคนที่เชื่อว่าตัวเองเรียนไม่เก่ง ก็แค่เลิกเรียนไปทำอย่างอื่นที่เชื่อว่าดีกว่า… แม้จะรู้เต็มอกว่า การเรียนจะพัฒนาอาชีพการงานไปไกลได้แค่ไหน… ในขณะที่ Growth Mindset ในบางคนกลับมีมุมมองเรื่องเดียวกันที่สามารถยืดหยุ่น และสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอย่างมีเหตุผล ตัวอย่างกรณีการเรียนไม่เก่ง จึงไม่มีในความคิดของคนที่มี Growth Minset แต่จะมีเพียง “เรียนให้เข้าใจ และพยายามหาทางให้เข้าใจสิ่งที่ควรเรียน” เพราะมุมมองระยะยาว “เห็นโอกาส” ที่ท้าทายรออยู่
หนังสือ Mindset ของ Carol Dweck สร้างการเปลี่ยนแปลงมากมายต่อมุมมองการบริหารจัดการด้านบุคคล ความสัมพันธ์ รวมทั้งวิธีร่วมมือและประสานงานระดับองค์กรจนเราได้เห็น องค์กรมากมายขับเคลื่อนด้วย Growth Mindset แทนการ “ควบคุมบังคับบัญชา” ซึ่งกลายเป็นความล้าหลังแม้จะกล่าวอ้างอย่างไรก็ตาม
Carol Dweck เกิดวันที่ 17 ตุลาคม ปี 1946ใน New York… และจบปริญญาเอกด้านจิตวิทยาจาก Yale University ในปี 1972 และเริ่มงานสอนใน University of Illinois ตั้งแต่ปี 1972–1981 และย้ายมาเป็นศาสตราจารย์ที่ Harvard’s Laboratory of Human Development ในปี 1981–1985 แล้วย้ายมาทำงานให้กับ Columbia University… กระทั่งปี 2004… มูลนิธิ Lewis and Virginia Eaton ก็สนับสนุนเธอให้มาเป็นศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่ Stanford University
Carol Dweck สนใจและค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับแรงจูงใจ บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคคล เธอสอนหลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพและสังคมรวมทั้งการสร้างแรงจูงใจในแนวทางจิตวิทยาสังคม… งานของ Carol Dweck เกือบทั้งหมดพัฒนาด้วยแนวคิด Implicit Theories of Intelligence หรือ ทฤษฎีความฉลาดส่วนบุคคล จนเป็นที่มาของงานอันลือลั่นอย่างหนังสือเล่มสีฟ้าชื่อ Mindset: The Psychology of Success ในปี 2006… และทฤษฎีความฉลาดส่วนบุคคลที่เธอค้นพบ ก็กลายเป็นเครื่องมืออย่างสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ขับเคลื่อนด้วยจิตวิทยา มากกว่าจะขับเคลื่อนด้วยความเชื่อและเรื่องเล่าเบาบางเหมือนคำสอนในศาสนาต่างๆ และได้ “บุคคลอันพึงประสงค์” ให้สังคมได้ไม่ต่างกัน
วันนี้ผมมี 2 อย่างจาก Carol S. Dweck มาฝาก Reder Fans หลายๆ ท่านที่อ่านและชื่นชอบหนังสือของเธอเหมือนกัน… อันแรกเป็น คำกล่าวเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กที่บอกไว้ว่า
If parents want to give their children a gift, the best thing they can do is to teach their children to love challenges, be intrigued by mistakes, enjoy effort, and keep on learning. That way, their children don’t have to be slaves of praise. They will have a lifelong way to build and repair their own confidence. ถ้าพ่อแม่อยากให้ของขวัญกับลูกๆ สิ่งประเสริฐที่สุดคือ สอนให้เด็กๆ รักความท้าทาย หลงไหลความผิดพลาด สนุกกับความพยายาม และเรียนรู้ต่อเนื่องไป ในเส้นทางนี้ เด็กๆ จะไม่ตกเป็นทาสของเสียงยกยอสรรเสริญ พวกเขาจะมีวิธีสร้างและซ่อมแซมความเชื่อมั่นของตัวเองไปตลอดชีวิต
และอันที่สองเป็นคลิปที่ Professor Carol S. Dweck บรรยายในปี 2013 ในงาน Happiness & Its Causes 2013… ขออภัยที่ผมไม่สามารถหาหรือทำภาษาไทยให้ได้ครับ
อ้างอิง