ปี พ.ศ. 2562… ศูนย์วิจัยธนาคาร TMB พบตัวเลขมูลค่ายอดขายผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อยู่ที่ 1.37 แสนล้านบาท เป็นตัวเลขการบริโภคในประเทศถึง 72% ส่งออก 28% และยังพบแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่องปีละไม่น้อยกว่า 3% ถึงปี พ.ศ. 2565… ถึงแม้ว่าการวิเคราะห์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นก่อนวิกฤตโควิด ที่ต้องทบทวนตัวเลขใหม่ทั้งหมด แต่ก็ใช้ข้อมูลนี้อ้างอิงคุยกันเบื้องต้นถึงแนวโน้มด้านอื่นๆ ที่ไม่ต้องจริงจังกับตัวเลขตลาดและยอดขายได้ดีอยู่… โดยเฉพาะขนาดของตลาดที่มีอยู่ไม่ต่างจากเดิม ถึงแม้อุปสรรคจากโรคระบาดจะกระทบห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมจนรวนไปเหมือนธุรกิจหมวดอื่นๆ ก็ตาม
ความจริง… วิกฤตโควิดเองก็มีส่วนในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์อย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะประเด็นการตัดแต่งเนื้อสัตว์ที่พึ่งพาแรงงานมนุษย์ ที่มีโอกาสทำให้เนื้อสัตว์ปนเปื้อนเชื้อโรคอย่าง Sar-Cov-2 หรือ COVID-19 ที่พบจากโรงฆ่าสัตว์ในเยอรมนีและจีนจนตื่นตัวกันไปทั่วโลก
Professor Peter Brett ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์ผ่าตัดจากเมือง Bath ในแคว้น Somerset ประเทศอังกฤษ เจ้าของผลงานหุ่นยนต์ผ่านตัดเปลี่ยนประสาทหูเทียมอัตโนมัติอันลือลั่น ซึ่งได้รับการยกย่องมากมาย… และเมื่อ University of Southern Queensland’s Centre for Agricultural Engineering ประกาศหาผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์ตัดแต่งเนื้อ เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปเนื้อสัตว์ด้วยหุ่นยนต์… Professor Peter Brett จึงให้ความสนใจที่จะได้นำทักษะและองค์ความรู้ด้านการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ มาช่วยภาคอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรในออสเตรเลีย อันเป็นดินแดนผลิตเนื้อแดงชั้นเลิศส่งออกไปทั่วโลก
USQ’s Centre for Agricultural Engineering ของ University of Southern Queensland ได้เริ่มโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์ฯ กับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์กลุ่มหนึ่งในออสเตรเลียมาตั้งแต่กลางปี 2020
ประเทศไทยจะมีหมอหรือวิศวกรเก่งๆ อยากมาทำหุ่นยนต์แล่เนื้อขายบ้างมั๊ยน๊ะ?
References…