Strengthening Resilient Future… แผนยุทธศาสตร์ 2564–2566 จาก กลต

SEC ก.ล.ต.

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ณ โรงแรม ดิแอทธินีโฮเทล… สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้เปิดเวทีแถลงแผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ปี 2564–2566 ภายใต้แนวคิด “Strengthening Resilient Future” โดยท่านอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนาและปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “บทบาทตลาดทุนกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศปี 2564” ด้วย… และมอบรางวัลภายใต้โครงการ ASEAN Corporate Governance Scorecard ให้แก่บริษัทจดทะเบียนไทย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ก.ล.ต. ถือเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของไทยให้มีความน่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ และทุกภาคส่วนเข้าถึงได้ เพื่อให้ตลาดทุนเป็นกลไกที่เชื่อมโยงระหว่างกิจการที่ต้องการเงินทุนและผู้ลงทุน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายกิจการ การจ้างงาน การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของกิจการในประเทศ และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่อไป และที่ผ่านมา ก.ล.ต.ทำงานใกล้ชิดกับภาครัฐมาโดยตลอด

ในส่วนของตลาดทุนมี 5 เรื่องสำคัญ ดังนี้ 

  1. การอำนวยความสะดวกให้กิจการที่ประสบปัญหา โควิด-19 สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
  2. การสร้างความเข้าถึงตลาดทุนทั้งการลงทุนและการระดมทุน เพื่อช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ (inequality) ของประเทศ
  3. การยกระดับความเชื่อมั่นและเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของตลาดทุน
  4. การพัฒนาการเงินที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Finance โดยตลาดทุนสามารถขับเคลื่อนการจัดสรรเงินทุนไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และมีธรรมาภิบาล หรือ ESG และ 
  5. การมีเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งในมิติของการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและกำกับดูแลคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ในส่วนของสินทรัพย์ดิจิทัล ก.ล.ต. ต้องดูแลและให้ความรู้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้รู้เท่าทันและมีการบริหารความเสี่ยงด้วย

ส่วนปาฐกถาโดยประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คุณพิชิต อัคราทิตย์  กล่าวว่า… “ตลาดทุนมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ก.ล.ต. ได้วางยุทธศาสตร์ของ ก.ล.ต. ในปี 2564–2566 ให้สอดรับกับบทบาทดังกล่าว พร้อมทั้งประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ หรือ Megatrends รวมถึงรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน เพื่อมุ่งหวังที่จะตอบโจทย์ของประเทศและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กร ก.ล.ต. ให้เข้มแข็ง มีศักยภาพพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง และสามารถขับเคลื่อนภารกิจได้”

และแน่นอนว่า… ไฮไลท์ของงานย่อมเป็นการแถลงถึง “แผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ปี 2564–2566” โดยท่านเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คุณรื่นวดี สุวรรณมงคล…

แผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ปี 2564–2566 ที่จัดทำขึ้นได้คำนึงถึงความเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาตลาดทุนไทย รวมถึงบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป และโลกการเงินในยุคใหม่ อันนำมาซึ่งโอกาสและความท้าทายต่อทั้งภาคธุรกิจในตลาดทุนไทยและหน่วยงานกำกับดูแล

โดยกำหนด 5 เป้าหมายและจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้สามารถทุ่มเททรัพยากรได้อย่างเหมาะสมตอบโจทย์ที่เป็นปัจจุบันและมีความสำคัญทั้ง 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนในการเสริมสร้างสภาพคล่องและสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นฟู เข้มแข็ง และมีความสามารถในการแข่งขันต่อไปได้ หรือ Recovery & Strengthening… และประเด็นที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตลาดทุนไทยน่าเชื่อถือและมีรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อตลาดทุนไทยเติบโตอย่างยั่งยืน Resilience

แผนยุทธศาสตร์ของ ก.ล.ต. ในปี 2564–2566 ยังคง 4 เป้าหมายและ 7 ยุทธศาสตร์สำคัญ จากแผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ปี 2563–2565 โดยได้เพิ่มเป้าหมาย “ฟื้นฟูและเข้มแข็ง” และเพิ่มยุทธศาสตร์เฉพาะกิจ เพื่อให้ตลาดทุนมีกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นอุปสรรคและมีเครื่องมือช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับกิจการที่ประสบปัญหาจากโควิด-19 รวมเป็น 5 เป้าหมาย 8 ยุทธ์ศาสตร์ ดังนี้

  1. การสร้างสภาพแวดล้อมตลาดทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Capital Market
  2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพทางการเงินในระยะยาว มีการออมและการลงทุนระยะยาวที่เพียงพอรองรับการเกษียณอายุ หรือ Financial Well-being
  3. สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ หรือ SMEs & Startups Growth and Financing
  4. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และสร้างโอกาสจากความเชื่อมโยงกับต่างประเทศ หรือ Enabling Regulatory Framework & Connectivity
  5. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มศักยภาพตลาดทุนและยกระดับการกำกับดูแล หรือ Digital for Capital Market
  6. เพิ่มศักยภาพในการกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายในตลาดทุนไทย หรือ Effective Supervision &  Enforcement
  7. ติดตามประเมินความเสี่ยงเชิงระบบได้อย่างเท่าทัน หรือ Systemic Risk
  8. สร้างกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นอุปสรรคและส่งเสริมการมีเครื่องมือช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับกิจการที่ประสบปัญหาจากสถานการณ์ โควิด-19 หรือ Supporting Liquidity ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์เฉพาะกิจ

ผมถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับตลาดทุนที่ถึงคราว… “คนตัวเล็ก” เอื้อมถึงได้ง่ายขึ้นแล้วครับ และคงถึงเวลาที่แบบแผนคำแนะนำเรื่องการทำธุรกิจในประเด็น “ทุน การระดมทุนและตลาดทุน” ควรถูกใส่ไว้ในทุกชุดความรู้ในการทำธุรกิจแบบต่างๆ เพื่อข้าม “ระบอบเงินกู้” ที่กลไกธุรกิจพึ่งพากันมานานเกินไปแล้ว

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Find Trade

The Anatomy of A Trading Plan… โครงร่างแผนการเทรด

สถิติมากมายจากตัวแทนค้าหลักทรัพย์ หรือ Brokers ที่รับเปิดบัญชีลงทุนล้วนระบุตรงกันว่า… นักลงทุนหน้าใหม่มักจะสูญเงินลงทุนก้อนแรกตั้งแต่เดือนแรก หรือ อย่างน้อยก็ขาดทุนอย่างหนักในเดือนแรกเสมอ… โดยจุดตายของพอร์ตใหม่ที่ล้มเหลวเหล่านี้ทั้งหมด มาจากการเทรดโดยไม่มีการวางแผนบนพื้นฐานที่จะทำกำไรอะไรได้เลย…

Seedify

Seedify และ Initial Game Offerings

Seedify ประกาศตัวเป็นแพลตฟอร์มการหาทุนในระยะเริ่มต้น หรือ Seed Stage สำหรับนักพัฒนาเกมที่ต้องการเงินลงทุนในระยะเริ่มต้นโครงการ โดย Seedify จะเปิดรับโครงการผ่านกลไก DAO หรือ Decentralized Autonomous Organisation เพื่อให้ชุมชนที่ Stake เพื่อสิทธิ์การออกเสียงด้วย SFUND Token ได้ร่วมกันพิจารณาลงมติ เพื่อนำโครงการเข้าโปรแกรม IGO หรือ Initial Game Offers… ซึ่งเป็นการออกโทเคนของโครงการเกมเพื่อขายให้นักลงทุน

Cloud

การลงทุนกับเทคโนโลยี… หลักคิดและแนวทาง

มีกรณีศึกษามากมายที่ระบุว่า การลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กร มักจะกลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า จึงมีการค้นคว้าวิจัยกันเป็นเรื่องเป็นราวจนพบทฤษฎีสำคัญ ที่สามารถถอดเป็นโมเดลเพื่อใช้วางแผนการลงทุนและนำใช้งานเทคโนโลยีใหม่ให้ราบรื่นกว่า

Data… เมื่อข้อมูลไม่สำคัญเท่าเข้าใจข้อมูล

หลายวันก่อนผมพูดถึง Omnichannel Marketing ไปแบบ Introduce คร่าวๆ พอเป็นเชื้อให้ท่านที่สนใจ ไปต่อยอดศึกษาค้นคว้าต่อ ซึ่งหลายท่านยอมรับว่า ถึงเวลาที่อสังหาริมทรัพย์จะต้องพึ่ง Omnichannel เหมือนธุรกิจอื่นๆ เช่นกัน… ผมได้ข้อความจากเพื่อนท่านหนึ่ง สอบถามเพิ่มเติมเข้ามาว่า… การจะเลือก Channel ที่เหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์การตลาด ควรตัดสินใจจากปัจจัยใดบ้าง