Space Farming และ Plant Factories… โอกาสใหม่ของธุรกิจการเกษตรที่ยั่งยืน

Space Farming 2015

บล็อกส่วนตัวของ Don Pettit หรือ Donald Roy Pettit วิศวกรเคมี และ นักบินอวกาศอาวุโสของ NASA ผู้มีประสบการณ์หลากหลายบนสถานีอวกาศนานาชาติ… เขยเขียนบล็อกส่วนตัวเรื่อง Diary of a Space Zucchini เอาไว้ราวกลางปี 2012 ซึ่งเป็นช่วงภาระกิจท้ายๆ ของ Don Pettit ตำนานอีกคนหนึ่งของสถานีอวกาศนานาชาติ

Diary of a Space Zucchini เป็นการเล่าเรื่องการทดลองปลูกบวบซูกินีบนสถานีอวกาศ ซึ่งข้อความชุดนี้ของ Don Pettit ได้กลายเป็นแรงบัลดาลใจให้คนที่มีแนวคิดเรื่อง AgTech หรือ Agriculture Technology ซึ่งเป็นความหวังอีกหนึ่งแนวทางสำหรับแนวคิด “เกษตรยั่งยืน” ที่มนุษย์ต้องพัฒนาประสิทธิภาพการเพาะปลูกเพื่อเป็นอาหาร และ เก็บเกี่ยวเอาเส้นใย โดยเบียดเบียนหน้าดิน และ แหล่งน้ำของโลกใบนี้ให้น้อยลงกว่าที่เป็นอยู่ โดยหวังว่าการวิจัยพันธุ์พืชและการเพาะปลูกนอกแรงโน้มถ่วง และ สภาพแวดล้อมของโลกจะเปิดคำตอบอีกมากมายที่จักรวาลยังเก็บซ่อนไม่ให้มนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเราเข้าใจได้ง่ายๆ

Don Pettit

Dr.Robert J. Ferl และ Dr.Anna-Lisa Paul ผู้เชี่ยวชาญด้าน Horticultural Sciences หรือ วิทยาการพืชสวนจาก University Of Florida เป็นนักวิทยาศาสตร์หลักในโครงการวิจัยพืชในสถานีอวกาศนานาชาติมากว่า 20 ปี และร่วมงานกับนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติมาแต่ต้น… ผลงานวิจัยเรื่องพฤติกรรมรากของพืชที่งอกบนโลก และ งอกบนสถานีอวกาศในสภาพไร้แรงโน้มถ่วงของทั้งคู่ นอกจากจะเปิดศักราชของการทำสวนบนสถานีอวกาศนานาชาติแล้ว… องค์ความรู้หลายอย่างนำมาซึ่งวิวัฒนาการโรงงานผลิตพืชชั้นสูง จนนำไปสู่การลงทุนกับ Plant Factory Technology และ Agriculture Technology อย่างน่าสนใจ

ส่วนผลงานของ Dr.Toyoki Kozai จาก Chiba University ซึ่งทั่วโลกยกให้เป็น “บิดาของโรงงานผลิตพืช” เจ้าของผลงาน PFALs หรือ Plant Factories with Artificial Lighting หรือ แสงเทียมสำหรับโรงงานผลิตพืช ซึ่งในปัจจุบันถูกถ่ายทอดเทคโนโลยีไปทั่วโลก รวมทั้งศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ BioTech ของไทย และรวมทั้งโครงการผลิตพืชนอกดาวโลกด้วย

ปัจจุบัน… พัฒนาการของโรงงานผลิตพืช และ การเพาะปลูกโดยไม่ยึดติดกับสภาพแวดล้อมดินฟ้าอากาศเหมือนเกษตรดั้งเดิม กำลังนำไปสู่การพัฒนาพันธุ์พืช และ เทคนิคการเพาะปลูกแบบใหม่ โดยมีเทคโนโลยี และ แนวปฏิบัติเพื่อการควบคุมปัจจัยแวดล้อม เพื่อให้ได้ผลผลิตตามความต้องการสูงสุด… ซึ่งทั้งหมดกำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าการเกษตรแบบเรือกสวนไร่นาบนพื้นดิน ซึ่งมีไม่มากพอสำหรับการเกษตรวิถีดั้งเดิมอีกแล้ว… สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ก็คือ แหล่งอาหาร หรือ ที่มาของอาหารสำหรับมนุษย์ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่มันควรจะเปลี่ยนเป็น เหมือนที่ยุคแหล่งอาหารจากป่าและธรรมชาติ เปลี่ยนมาหาได้จากเรือกสวนไร่นา

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… โมเดลธุรกิจโรงงานผลิตพืช หรือ Plant Factories ที่มองไกลข้ามข้อจำกัดทั้งมวล ยังถือว่าน่าลงทุนอย่างมากในปี 2022 ที่กำลังจะมาถึงนี้… โดยมีตลาดพืชผักราคาแพงหายาก และ พืชผักนำเข้าไม่ต่อเนื่องนับร้อยรายการ รวมทั้งมูลค่าผักสดจากจีน ซึ่งเอาแค่ตัวเลขในมือผมจากด่านเชียงของ เดือนตุลาคม ปี 2021 หมาดๆ รายการเดียวก็มากถึง 17,848 ตัน มูลค่า 272.47 ล้านบาทเข้าไปแล้ว… โอกาสจึงเหลือช่องว่างท้าทายการลงทุน และ เม็ดเงินลงทุนใหม่ๆ อยู่มาก… ท่านที่สนใจ และ ไม่ทราบจะเริ่มตรงไหน เริ่มที่ผมก่อนก็ได้ครับ!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Denis Waitley

Happiness Is The Experience Of Living Every Moment With Love, Grace and Gratitude ~ Denis Waitley

ประสบการณ์ความสุขของทุกคน “มักจะ” มาจากความพึงพอใจจากการ “ได้ประโยชน์ หรือ ได้ผลประโยชน์” เป็นส่วนใหญ่… ซึ่งบ่อยครั้งจะมีใครบางคนต้อง “สละประโยชน์ หรือ สละผลประโยชน์” ของตนให้ไปก่อนเสมอ… ถ้าเป็นการสละผลประโยชน์แลกกับประสบการณ์ความสุขไม่ต่างกับคนได้ผลประโยชน์ไป… ภาวะ “สมประโยชน์” ของทั้งสองฝ่ายก็มักจะไม่เลื่อมล้ำกันมากถึงขั้นเกิดปัญหา แต่ถ้าเกิดประสบการณ์สละผลประโยชน์พร้อมสมดุลทางอารมณ์เชิงลบ… จึงไม่มีทางหาความสุข หรือ Happiness ให้คนที่มีดุลยภาพทางอารมณ์เป็นลบได้ง่ายๆ

9 NSTDA Startup : Deep-Tech Startup โดย สวทช.

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2022 ณ ห้องแถลงข่าว อว. ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพมหานคร… สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ  ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. ร่วมงานแถลงข่าวการขยายงานวิจัยสู่โมเดลธุรกิจใหม่ของ สวทช. ในโครงการ “9 ดีปเทคสตาร์ทอัป หรือ 9 Deep-tech Startup” โดยเปิดตัวแผนงาน 9 NSTDA Startup : Deep-tech Startup เพื่อขยายงานวิจัยสู่โมเดลธุรกิจใหม่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและยกระดับเศรษฐกิจด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

Cardano Vasil Hard Fork… 

คำว่า Hard Fork ในอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ โดยเฉพาะในวงการ Blockchain จะหมายถึงการ Upgrade ครั้งใหญ่ โดยจะทำสำเนาข้อมูลที่ถูกบันทึกลงบล็อกเชนย้อนหลังทั้งหมด มาใช้ตั้งต้นเพื่อบันทึกบล็อกลำดับถัดไปด้วยโครงข่ายที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ และ ทำให้บล็อกเชนโครงข่ายนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่มีระบบ และ ฟังก์ชั่นต่างกันอย่างชัดเจน โดยยึด Hard Fork Upgrade เป็นระบบหลักในท้ายที่สุด … การทำ Hard Fork กับบล็อกเชนจึงเป็นเหมือนการออกระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นใหม่สำหรับข้อมูลในบล็อกเดิมตั้งแต่ Genesis Block จนถึงบล็อกสุดท้ายที่ถูกกำหนดให้แยกออกเป็นสองส่วน… ด้วยแนวทาง Hard Fork ที่ยังเก็บข้อมูลเอาไว้ได้ครบถ้วนนี่เองที่ทำให้ข้อมูลบนบล็อกเชนไม่มีวันสูญหายไปไหน

FTX Crisis… วิกฤต FTX

FTX ก่อตั้งในปี 2019 โดย Sam Bankman-Fried อดีตพ่อมดการเงินผู้สร้างชื่อมาจากการเป็นนักเทรดผู้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วในตลาดหุ้นวอลสตรีท และ ได้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม FTX เพื่อให้บริการซื้อขายคริปโตด้วยเครื่องมือการลงทุนแบบเดียวกับที่ตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ๆ ทั่วโลกมีให้บริการ โดยเฉพาะการพัฒนาตลาด Futures หรือ ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า… ซึ่งได้ทำให้ FTX ถูกประเมินมูลค่าเอาไว้สูงถึง 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงต้นปี 2022… ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นจากการลงทุนก้อนใหญ่โดยกองทุนความมั่งคั่งยักษ์ใหญ่อย่าง Temasek และ Softbank รวมทั้งกองทุนความมั่งคั่งอีกมากที่ใส่เงินเข้าไปสนับสนุน FTX… โดยมีนักลงทุนจากทุกมุมโลก รวมทั้งประเทศไทยหลั่งไหลไปใช้บริการแพลตฟอร์ม FTX เพื่อการลงทุน