Space As A Services… พัฒนาการขั้นต่อมาของโมเดลค่าเช่า

Space As A Services

นับวัน… ราคาและมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์จะยิ่งแพงและหายากขึ้นเรื่อยๆ จนการเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ต้องใช้ความความพยายามมากขึ้นกว่าเมื่อสิบปีก่อนมาก… ทั้งที่ เมื่อสิบปีที่แล้วก็ต้องพยายามมากกว่าเมื่อสิบปีก่อนหน้านั้นมากแล้ว

ด้วยแนวโน้มแบบนี้… อีกสิบปีข้างหน้าหรือยี่สิบปีข้างหน้าก็เป็นเรื่องเดาได้ไม่ยากว่า… ราคาและมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์จะเปลี่ยนไปทิศทางไหน

ประกอบกับ… การเติบโตของเมืองที่ดึงผู้คนเข้าสู่เขตเมืองที่ไลฟ์สไตล์ดึงดูดผู้คนได้มากกว่า ทำให้การกระจายของประชากรที่เคยพึ่งพาธรรมชาติและเกษตรกรรม ที่ทรัพยากรและโอกาสมีน้อยกว่าเมืองใหญ่ในปัจจุบัน… พาผู้คนรอบนอก อพยพเข้าสู่เมืองอย่างมีนัยยะยิ่งกว่าเมื่อครั้งแรงงานจากชนบทนอกฤดูกาล หลั่งไหลเข้าเมืองอย่างในอดีต

นั่นทำให้อสังหาริมทรัพย์ในเขตชุมชนเมืองที่เป็นศูนย์กลางของพื้นที่… เติบโตด้านอุปสงค์อย่างช้าๆ และเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ในปัจจุบัน

การวิเคราะห์การเติบโตของเมืองหลายแห่ง โดยเฉพาะเมืองที่กำลังออกแบบการเปลี่ยนผ่านไปเป็น Smart City ต่างก็พบแนวโน้มการเติบโตของเมืองที่ตัวเลขประชากรระดับ 10-30 ปีช่างน่าตื่นตาตื่นใจ…

หลายวงสนทนาจึงพูดถึง Space As A Services ที่การเป็นเจ้าของทรัพย์กับการได้สิทธิ์ใช้พื้นที่ ควรได้รับการพัฒนาโมเดลที่หลากหลาย ทั้งเพื่อให้ฝั่ง Landlord และนักลงทุน ตัดสินใจได้ไม่ยาก… ในขณะที่ฝั่ง Users หรือ Customers ก็มีตัวเลือกหลากหลายที่เหมาะสม

ผมมีเพื่อนและคนรู้จักหลายคนที่ซื้อคอนโดมิเนียมไว้ใช้ซุกหัวนอนเพียง 4-5 วันต่อเดือน และเร่ร่อนเดินทางไปหลายๆ จังหวัดระหว่างนั้นเพื่อหาเงินมาผ่อนคอนโดมิเนียมที่มีไว้แขวนเสื้อผ้าที่ไม่ได้ใช้

ในขณะเดียวกันก็มีหลายบริษัทเช่าสำนักงานและลงทุนตกแต่งเพื่อใช้งานพื้นที่อย่างไม่เหมาะสม… บ้างเช่าพื้นที่ได้น้อยกว่าที่ต้องใช้ ทำให้ทีมต้องอยู่กันอย่างแออัด ซึ่งไม่ต้องพูดถึงว่าจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่ เพราะความแออัดที่หาความรู้สึกสุขสบายระหว่างทำงานไม่ได้… คงคิดเรื่องดีๆ ออกได้ยาก

ในขณะที่หลายบริษัทเช่าสำนักงานกว้างใหญ่มาก… แต่พอเกิดวิกฤต ต้องลดคน ต้องตัดค่าใช้จ่าย… ซึ่งส่วนใหญ่ยังต้องจ่ายค่าเช่าสำนักงานต่อไปอีกหลายเดือนอย่างน่าเสียดายก็มี

โมเดลธุรกิจอย่าง WeWork และบรรดา Co-working Spaces ก็ดี… Co-living Spaces ก็ดี… ยังมีที่ทางและช่องว่างมากมายให้ค้นพบ

Co-Working
Co-Living

กรณี Co-working Spaces แม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่แล้วในปัจจุบัน แต่ความต้องการในตลาดเริ่มโดดเด่นชัดเจนที่กระทบพื้นที่สำนักงานให้เช่าแบบดั้งเดิมแน่นอน

นอกจากนั้น… WeWork ยังต่อยอดธุรกิจเป็น WeLive บน Co-living Model สำหรับพื้นที่พักอาศัยให้เช่าแบบยืดหยุ่น… นอกจากนั้นยังมี Co-Living Common และ Ollie ที่กำลังเติบโตและเป็นที่สนใจของนักลงทุนอย่างมาก

และล่าสุด… โมเดลพื้นที่ร้านค้าแบบ Turnkey Operation ชื่อ Brandbox และ Fourpost ก็เข้ามาจับตลาดร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการหน้าร้านหรือพื้นที่นำเสนอสินค้าและบริการที่เปิดร้านได้ไวและปิดเมื่อไหร่ก็ไม่ยาก… ให้บริการถึงเฟสที่สามารถ Scale-up ได้แล้ว

ประเด็นคือแบบนี้ครับ… โมเดลค่าเช่ายังเป็นโมเดลที่ยอดเยี่ยมเสมอในแวดวงอสังหาริมทรัพย์… เพียงแต่การจะโตด้วย Revenues Stream หรือรูปแบบหารายได้แบบเดิมๆ อาจจะตีบตันและถูกแทนที่ด้วยโมเดลที่ใหม่กว่า… ซึ่งทั้งหมดหาจากอสังหาริมทรัพย์แบบเดิมๆ ไม่ได้แล้ว เว้นแต่จะเติมเทคโนโลยีใส่ไป… เพื่อให้อะไรๆ ที่เคยยุ่งยากและเยิ่นเย้อเสียเวลา… หายไปจากวงจรแบบเก่า

อย่าลืมว่าโมเดลธุรกิจอย่าง WeWork, AirBNB หรือ Booking, Agoda… ล้วนใส่เทคโนโลยีไปแก้ปัญหาที่โมเดลธุรกิจเดิมๆ จัดให้ไม่ได้

คำถามคือ… ท่านรู้จักเทคโนโลยีดีพอจนทำลายขีดจำกัดของธุรกิจเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงได้หรือยัง?

ตามนั้นครับ!!!

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

หลอดไฟอัจฉริยะ… Smart Home IoT สำหรับการเริ่มต้น

อันเนื่องมาจากบทความส่งท้ายปีว่าด้วย Smart Home และ IoT ของผมเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพื่อนที่เพิ่ม @properea เป็นเพื่อนก็ทักทายสอบถามกันเข้ามาว่า จากความไม่รู้และไม่มีความรู้ทางไอที แถมอยู่บ้านหลังเก่าที่สวิทไฟฟ้ายังเป็นแบบโบราณผ่านมาสิบกว่าปี อยากสมาร์โฮมบ้าง ต้องรื้อบ้านทำใหม่หรือเปล่า แล้วเบี้ยน้อยงบจำกัดจะมีของเล่นไฮเทคบ้างได้มั๊ย …ได้ครับ บ้านไม่ต้องรื้อ ราคาก็ไม่ต้องจ่ายแพงมากมาย ก็ Smart Home ได้

Denis Waitley

Happiness Is The Experience Of Living Every Moment With Love, Grace and Gratitude ~ Denis Waitley

ประสบการณ์ความสุขของทุกคน “มักจะ” มาจากความพึงพอใจจากการ “ได้ประโยชน์ หรือ ได้ผลประโยชน์” เป็นส่วนใหญ่… ซึ่งบ่อยครั้งจะมีใครบางคนต้อง “สละประโยชน์ หรือ สละผลประโยชน์” ของตนให้ไปก่อนเสมอ… ถ้าเป็นการสละผลประโยชน์แลกกับประสบการณ์ความสุขไม่ต่างกับคนได้ผลประโยชน์ไป… ภาวะ “สมประโยชน์” ของทั้งสองฝ่ายก็มักจะไม่เลื่อมล้ำกันมากถึงขั้นเกิดปัญหา แต่ถ้าเกิดประสบการณ์สละผลประโยชน์พร้อมสมดุลทางอารมณ์เชิงลบ… จึงไม่มีทางหาความสุข หรือ Happiness ให้คนที่มีดุลยภาพทางอารมณ์เป็นลบได้ง่ายๆ

Cibo Restaurant Patio

ไอเดียยกเครื่องร้านอาหารหลัง COVID-19

Hospitality Industry หรือ อุตสาหกรรมบริการกลุ่มที่พัก อาหารและสันทนาการ ที่ให้บริการความสุข ความสะดวกสบายและความบันเทิงหลายรูปแบบในหมวดธุรกิจกลุ่มนี้… ถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 อย่างมากมายลึกซึ้งทั้งระบบ… ส่วนการเผชิญวิกฤตของแต่ละกิจการในระยะสั้น ดูเหมือนจะไม่มีอะไรแตกต่างกันมาก ที่จำเป็นต้องปิดส่วนการให้บริการลูกค้าในสถานที่กันไปก่อนมาระยะหนึ่ง… และตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องคิดกันแล้วว่าต่อไปจะทำยังไง

ปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย

งานสัมมนาวิชาการประจำปี 2563 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งยังมีชื่อคุณวิรไท สันติประภพ เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่… ซึ่งปีนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ ปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดได้จริง ที่ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563