Smart Pier… ความคืบหน้าระบบท่าเรืออัจฉริยะโดยกรมเจ้าท่ายุคดิจิทัล

ข่าวจากกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคมซึ่งเดินหน้าปรับปรุงท่าเทียบเรือในเขตกรุงเทพ–ปริมณฑล จนแล้วเสร็จครบ 29 แห่งตามแผน ก่อนจะดำเนินการติดตั้ง “ระบบท่าเรืออัจฉริยะ หรือ Smart Pier” เพื่อเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2567  โดยตั้งเป้ายกเครื่องบริการเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาให้นำสมัยด้วยระบบดิจิทัล  โดยมีข้อมูลอัพเดทเรื่องความคืบหน้านำเรือไฟฟ้ามาให้บริการ ซึ่งเอกชนผู้รับอนุญาตเดินเรือเตรียมบรรจุเรือ EV เพื่อให้บริการได้อีก 20 ลำในปีนี้

คุณสมพงษ์  จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่าด้านปฏิบัติการแถลงว่า… การพัฒนาท่าเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแผนทั้งหมด 29 แห่งนั้น ความคืบหน้าในขณะนี้มั่นใจว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนคือภายในปี พ.ศ. 2566 โดยจะดำเนินการปรับปรุงทางกายภาพ และ ตกแต่งท่าเรือใหม่ให้เกิดความสวยงาม เกิดความสะดวกคล่องตัวสำหรับผู้ใช้บริการให้ครบทั้ง 29 แห่ง… หลังจากนั้น จะดำเนินการติดตั้งระบบให้เป็น “ระบบท่าเรืออัจฉริยะ หรือ Smart Pier” ในปี พ.ศ. 2567 โดยมีภาคเอกชนที่เชี่ยวชาญเข้ามาดำเนินการตามกรอบที่กรมเจ้าท่ากำหนด  จะติดตั้งระบบต่างๆ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีระบบดิจิทัลมายกระดับบริการ

โดยรายละเอียดของระบบ Smart Pier เช่น ระบบบอกเวลาเรือเข้า–ออกท่าเรือแบบเรียลไทม์ของท่าเรือผ่านหน้าจอดิจิทัล  เพื่อให้ผู้เดินทางรู้กำหนดเวลาแน่นอนที่เรือมาถึง สามารถบริหารเวลาการเดินทางได้…  ระบบจัดเก็บค่าโดยสารแบบเงินดิจิทัล ระยะเริ่มแรกจะมีลักษณะเป็นบัตรเติมเงิน และ ตัดเงินค่าโดยสารผ่านบัตรใบนี้เพื่อช่วยลดการสัมผัส  ก่อนที่ในอนาคตจะปรับเป็นระบบตัด–เติมเงิน ผ่านตัวอ่านข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ ก็จะยิ่งได้รับความสะดวกไปอีก  

นอกจากนี้… ระบบ Smart Pier  ยังมีระบบแนะนำเส้นทางการเชื่อมต่อรถโดยสาร ทางลาดคนพิการ และห้องน้ำอัจฉริยะ ที่ทั้งสะอาด และ สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงจุดบริการชาร์จแบตเตอรี่มือถือ และ Free Wi-Fi ด้วยแนวคิดท่าเรือที่ไม่ใช่เพื่อการเดินทางเพียงอย่างเดียว แต่บุคคลทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อีกด้วย

ส่วนความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ โดยทำเป็นท่าเรือระบบปิดนั้น… ในเรื่องนี้ได้นำเสนอข้อมูลให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว โดยขั้นตอนต่อไปกระทรวงคมนาคมจะนำเข้าเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี อีกครั้ง  

ที่ผ่านมา… กรมเจ้าท่ามีแผนพัฒนายกระดับท่าเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 29 แห่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2562–2567 เพื่อพัฒนายกระดับท่าเรือให้มีความสวยงาม ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ ตลอดจนนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการควบคุมและบริหารจัดการบนท่าเรือ โดยความคืบหน้าปัจจุบันแบ่งเป็นท่าเรือที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 

  1. ท่าเรือกรมเจ้าท่า 
  2. ท่าเรือสะพานพุทธ 
  3. ท่าเรือนนทบุรี  
  4. ท่าเรือท่าช้าง 
  5. ท่าเรือสาทร  

ส่วนที่จะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2565 อีกจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ 

  1. ท่าเรือราชินี 
  2. ท่าเรือบางโพ  
  3. ท่าเรือพายัพ 
  4. ท่าเรือท่าเตียน 
  5. ท่าเรือพระราม 7 
  6. ท่าเรือเกียกกาย 

โดยมีแผนก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2567 จำนวน 18 แห่ง ได้แก่ 

  1. ท่าเรือพระปิ่นเกล้า  
  2. ท่าเรือพระราม 5 
  3. ท่าเรือสะพานกรุงธน (ซังฮี้) 
  4. ท่าเรือเขียวไข่กา 
  5. ท่าเรือโอเรียนเต็ล 
  6. ท่าเรือเทเวศร์ 
  7. ท่าเรือราชวงศ์ 
  8. ท่าเรือสี่พระยา 
  9. ท่าเรือพรานนก 
  10. ท่าเรือพิบูลสงคราม 2 (นนทบุรี) 
  11. ท่าเรือวัดตึก 
  12. ท่าเรือพิบูลสงคราม 1 
  13. ท่าเรือวัดเขมา 
  14. ท่าเรือวัดสร้อยทอง 
  15. ท่าเรือวัดเทพากร
  16. ท่าเรือวัดเทพนารี  
  17. ท่าเรือรถไฟ  
  18. ท่าเรือวัดเศวตฉัตร 

โดยจะมีการติดตั้งระบบควบคุม และ บริหารจัดการบนท่าเรือเรือแล้วเสร็จทั้ง 29 ท่าเรือภายในปี พ.ศ. 2567

ในส่วนของตัวเรือ… กรมเจ้าท่าได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเรือโดยสารปรับเปลี่ยนรูปแบบเรือมาใช้พลังงานไฟฟ้า  เพื่อลดมลพิษ และ ลดปริมาณการใช้พลังงานน้ำมัน พร้อมการนำเรือไฟฟ้า EV มาให้บริการท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา  เพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาท่าเรือเป็น Smart Pier  ขณะนี้เอกชนที่ดำเนินการ  แจ้งว่าภายในปีนี้จะมีการนำเรือไฟฟ้า เข้ามาให้บริการในระบบอีก 20 ลำ จากปัจจุบันที่มีให้บริการอยู่ 28 ลำ 

ทั้งนี้… โครงการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้านับเป็นโครงการที่มีส่วนสำคัญเป็นความร่วมมือระหว่างกรมเจ้าท่า และ ภาคเอกชน ตามนโยบายกระทรวงคมนาคมในการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้ามาใช้เพิ่มขึ้น เพื่อสอดรับกับแผนพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการจราจรทางบก ช่วยลดมลพิษ เพิ่มทางเลือก และ อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอีกเส้นทางหนึ่ง เชื่อมโยงเส้นทางการเดินทางของประชาชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งทางรถ ทางราง และ ทางเรือ ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Project Loan For Carbon Reduction Building… สินเชื่อเพื่ออาคารคาร์บอนต่ำ

14 ธันวาคม พ.ศ.2565 คุณฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. และ คุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการสินเชื่อเพื่ออาคารคาร์บอนต่ำ หรือ Project Loan For Carbon Reduction Building” ระหว่าง ธอส. และ TGO เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG แบบองค์รวม หรือ Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG Model ด้วยการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ Eco-Efficiency และ ส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือ Developer ลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนดำเนินการในลักษณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืน และ บรรลุตามเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ภายใน 2050 และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero Emissions ภายในปี 2065 ตามเจตนารมณ์ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP26

The Graph และ GRT Token

ปัจจุบัน The Graph ให้บริการจัดทำดัชนีบน Ethereum… IPFS และ POA โดยใช้คำสั่งภาษา GraphQL ในการรับส่งข้อมูล Subgraph… และ มี Graph Token หรือ $GRT เป็นโทเค็นมาตรฐาน ERC-20 บน Ethereum Blockchain ถูกสร้างไว้ให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในเครือข่าย และ ยังเป็น Governance Token ของแพลตฟอร์ม OpenSource อย่าง The Graph ด้วย

DIGITAL BUSINESS STRATEGY: HARNESSING OUR DIGITAL FUTURE จาก MIT Sloan

Digital Transformation และ การรับมือ Technology Fueled Disruption หรือที่พูดถึงกันสั้นๆ ว่า Tech-Disruption และ/หรือ Digital Disruption นั้น… แนวทางสำคัญที่ต้องเข้าใจก่อนอื่นก็คือ การเรียนรู้เครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ ตั้งแต่แอพและแพลตฟอร์ม ไปจนถึง Artificial Intelligence… ซึ่ง MIT Sloan School of Management ถือเป็นสถาบันหลักขององค์ความรู้ และ Super Know-How อันดับหนึ่งของโลกมานานกว่า 20 ปีก่อนที่คนส่วนใหญ่จะได้ยินคำว่า Tech-Disruption และ เข้าใจสถานการณ์จริงๆ เสียอีก

Bitcoin Cash

Bitcoin Cash… P2P Cash Ecosystem ที่เติบโตอย่างเงียบๆ

การสร้าง Bitcoin Cash ขึ้นในปี 2017 ที่เอาข้อมูลทุกอย่างของบิทคอยน์มาปรับปรุงและพัฒนาต่อในคราวนั้น จึงทำให้ทุกคนที่ถือบิทคอยน์ในเวลานั้นได้รับ Bitcoin Cash เท่าจำนวน Bitcoin ที่ถือไว้ทุกบัญชีก่อน Hardfork ไปโดยปริยาย… และการ Hard Fork ครั้งนั้นนำโดย Roger Ver ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น Bitcoin Jesus หรือศาสดาบิทคอยน์ ที่ชุมชนบิทคอยน์เชื่อถือและยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งมาตั้งแต่เกิด Bitcoin ช่วงต้นปี 2009 ที่เป็นรองก็แต่ชื่อ Satoshi Nakamoto