Smart Infrastructure และ Machine-to-Machine Learning

Smart City Network

การพูดคุยกันเรื่อง SmartCity ในระดับเทคนิคนั้น… ประเด็นพิจารณา หรือ ประเด็นพูดคุยทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure เพื่อให้บริบทของกิจกรรมการอยู่อาศัยในเมืองทั้งหมด ถูกจัดการและดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น โดยแก้ปัญหาสำคัญๆ ที่เคยเป็นปัญหาส่วนรวม และ ปัญหาบนพื้นที่สาธารณะที่คนส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในเมืองนั้นต้องใช้ประโยชน์ และ ได้ประโยชน์ตามความประสงค์… ซึ่งถ้าเป็นไปได้ก็ควรได้ประโยชน์ล้วนๆ โดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนเป็นความสิ้นเปลืองหรือสูญเสียแบบได้อย่างเสียอย่าง ให้ลูกสึกท้อแท้เพราะต้องอยู่ในสภาพแก้ปัญหาเรื่องหนึ่งกลับได้อีกปัญหาหนึ่งมาเป็นของแถม

SmartCity ในทางเทคนิคจึงเป็นเรื่อง Smart Infrastructure อย่างเช่นกรณีของถนนอัจฉริยะ ซึ่งมักจะมาพร้อมระบบการจราจรอัจฉริยะ ที่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบ ถูกติดตั้งจัดวางเพื่อให้สามารถทำงานประสานกันเป็น “ระบบ” ในขั้นแก้ปัญหาการใช้รถใช้ถนน และ จัดการจราจรได้อย่างชาญฉลาด… โดยบกพร่องน้อยจนไม่สามารถนับเป็นความผิดพลาด หรือ เหลือเป็นขีดจำกัดที่ยังเป็นอุปสรรค

ประเด็นก็คือ… วาระการพัฒนาเมืองไปสู่ SmartCity เป็นวาระโดยปริยายที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนท่ามกลางพัฒนาการของเทคโนโลยีเพื่อรองรับ SmartCity… เพราะไม่ว่าจะอย่างไร หลายอย่างในเมืองก็ต้องซ่อมบำรุงและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กรณีถนนและสัญญาณไฟจราจรที่ต้องพัฒนาเพื่อรองรับยานพาหนะสมัยใหม่นั้น… โดยส่วนตัวแล้วผมค่อนข้างมั่นใจว่า จะเป็นคลื่นแรกของการ Upgrade เมืองไปทำ Smart Infrastructure และ นำไปสู่ Machine-to-Machine Learning ซึ่งจะวิวัฒน์ได้อย่างรวดเร็วเท่าที่คอมพิวเตอร์สามารถ Copy/Paste ข้อมูลและอะไรอีกหลายอย่างที่คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ IoT ทั้งหลายจะไม่รอใครมากดปุ่ม On/Off อีก

การสำรวจโครงการ SmartCity ของเมืองต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาของ Charlie D. Osborne ในฐานะผู้สื่อข่าวที่เกาะติดความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีเกิดใหม่ และ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือ Cybersecurity ประจำ ZDNet… ได้เผยแพร่ข้อมูลเป็นบทความผ่านเวบไซต์ IoTWorldToday.com ไว้ตั้งแต่ปี 2017 ว่า… โครงการเมืองอัจฉริยะจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้ประโยชน์จาก IoT และ Network หรือ เครือข่าย… เพื่อทำให้การใช้ชีวิตในเมืองมีประสิทธิภาพ และ สะดวกสะบายยิ่งขึ้น… โดยการสร้าง SmartCity ในทุกโครงการที่สำรวจพบทั้งหมดจำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure โดยเริ่มต้นจาก Network และ IoT… 

ในกรณีของ Network ที่พูดถึงโดยทั่วไปก็คือเครือข่าย 5G นี่เอง… ซึ่งเมืองไทยก็อยู่ในขั้นถือว่าพร้อมใช้จนเห็นความเคลื่อนไหวของภาคอุตสาหกรรม ภายใต้ Industry 4.0 Roadmap และเริ่มมีเห็นเป็นโครงการฟีดข้อมูลจากโรงงานขึ้น Dashboard ด้วยเทคโนโลยี IoT บนเครือข่าย 5G… ซึ่งขยับกันทั้งฝั่งโรงงาน และ ฝั่งซัพพลายเออร์ หรือ Supplier กันแล้ว

ที่จะบอกก็คือ… โอกาสในการพัฒนาโมเดลธุรกิจบนวิสัยทัศน์ SmartCity และ Smart Factory รวมทั้ง Smart Building ซึ่งทั้งหมดจะเป็นระบบนิเวศที่พัฒนาบนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเพียง 2 อย่างคือ IoT และ Network… ทั้งสิ้นครับ!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Beige Book… รายงานสีเบจของธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา

Beige Book จากธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FED ฉบับวันที่ 19 เมษายน 2023 ซึ่งเป็นเอกสารเผยแพร่ของธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกาฉบับหนึ่งที่ถูกอ้างถึงในข้อมูลเศรษฐกิจ และ การลงทุนในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างมาก ซึ่งหลายท่านที่ยังใหม่กับตลาดทุน และ ข่าวเศรษฐกิจที่กระทบการซื้อขายสินทรัพย์ลงทุนที่ผันผวน และ อ่อนไหวต่อข่าวสูง

Sidus Space และ Space-as-a-Service

Sidus Space Inc. มีบริการวิศวกรรมสหสาขาวิชาชีพ โดยให้บริการครอบคลุมการบิน และ อวกาศ โดยเฉพาะการออกแบบดาวเทียม… การจัดหาฮาร์ดแวร์ในกิจการอวกาศ… บริการปล่อยยาน และ ขนส่งขึ้นชั้นบรรยากาศ… บริการควบคุม และ สนันสนุนภาระกิจ และ บริการวัตถุในวงโคจรทุกชนิด รวมทั้งบริการภาคพื้นดิน

Perovskite Solar Cell… โซล่าเซลล์แห่งความหวัง

สังเคราะห์ด้วยปฏิกิริยาเคมีพื้นฐานที่ไม่ซับซ้อน และ ยังมีคุณสมบัติด้านไฟฟ้าที่สามารถปรับแต่งโครงสร้างทางเคมีเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ PCE ให้สูงขึ้นอีกได้ และที่สำคัญกว่านั้น… Perovskite Solar Cell สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว

Consumer Price Index and Investment… ดัชนีราคาผู้บริโภคและการลงทุน

อัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปจะอ้างอิงตัวเลขที่เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI หรือ Consumer Price Index โดยดัชนี CPI จะใช้เพื่อวัดต้นทุนสินค้า หรือ Cost Of Goods Index โดยการเปรียบเทียบราคาสินค้าสำคัญบนคาบเวลาทางสถิติซึ่งสะท้อนสภาพทางเศรษฐกิจของประชากร โดยสำนักสถิติแรงงานของสหรัฐ หรือ Bureau of Labor Statistics เป็นผู้สร้างดัชนี CPI เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า และ บริการที่ครัวเรือนในเขตเมืองสามารถจับจ่ายได้โดยเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อวัดอัตราเงินเฟ้อ เช่น คำนวณตัวเลข GDP ที่แท้จริง และ แผนการลงทุน…