Smart Grid… โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

Smart grid

ความสำคัญของพลังงานไฟฟ้าในวันที่โลกเราทั้งใบ… ผลักดันขับเคลื่อนหลายสิ่งไปสู่การเติมคำว่าดิจิตอลบ้าง สมาร์ทบ้าง… โดยเฉพาะ Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ ที่สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ผลักดันขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง… ซึ่งเงื่อนไขการเป็นเมืองอัจฉริยะประเภทหนึ่งในหลายๆ ประเภท ที่สำนักงานเมืองอัจฉริยะผลักดันก็คือ เมืองที่โดดเด่นด้านพลังงานอัจฉริยะ หรือ Smart Energy ซึ่งหมายถึง การเป็นเมืองที่สามารถบริหารจัดการด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความสมดุล ระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานในพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก

ในทางวิศวกรรม… การจะสร้างระบบบริหารจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพได้นั้น… เมืองๆ นั้นต้องวางพื้นฐานโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าแบบ Smart Grid เอาไว้ก่อน

สมาร์ทกริด หรือ Smart Grid คือ ระบบโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล… ซึ่ง Smart Grid จะทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าจากผู้ให้บริการไปยังผู้ใช้บริการ ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง เพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาคารของผู้ใช้ปลายสายส่ง ซึ่งจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ผู้ให้บริการระบบส่งจ่ายไฟฟ้าแบบ Smart Grid จะติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าได้ตามเวลาจริง หรือ Real Time ไว้กับ Users หรือผู้ใช้ไฟฟ้า หรือ การใช้มิเตอร์ไฟฟ้าดิจิตอลที่สื่อสารข้อมูลได้ 2 ทางนั่นเอง… สามารถส่งข้อมูลป้อนกลับไปให้ Smart Grid คำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้า และบริหารระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าให้เสถียรทั้งระบบ ลดปัญหาไฟดับในช่วงที่มีการใช้ไฟสูง และ ตัดการสำรองกระแสไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อไม่ให้ต้องผลิตไฟฟ้าส่วนเกินอย่างสูญเปล่า

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… โมเดลธุรกิจการขายไฟฟ้าให้ผู้ใช้ หรือ Users จะเป็นแบบ “เปิดใช้ก็จ่ายตังค์” ซึ่งผู้ให้บริการกระแสไฟฟ้าอย่างการไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภุมิภาค ซึ่งซื้อเหมาพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปล่อยกระแสรอให้ผู้ใช้เปิดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจึงจะมีรายได้… และถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าเปิดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไฟดับ ผู้ให้บริการกระแสไฟฟ้าก็อดได้ตังค์ ไม่ต่างจากตอนผู้ใช้ไฟฟ้า ไม่ได้ใช้กระแสไฟฟ้า

การพยายามบริหาร Demand/Supply ให้ระบบจ่ายไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงสุดนี้เอง ที่ทำให้แนวคิด Smart Grid มีการพูดคุยกันมานาน… และการมาถึงของยุค Digital IoT นี้เอง ที่ทำให้การบริหาร Demand/Supply พลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ… ถูกออกแบบยกระดับไปสู่การเป็นแพลตฟอร์ม Smart Grid ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดิจิตอล

เครดิตภาพ: TCDC.OR.TH
เครดิดภาพ: mmthailand.com

ที่สำคัญกว่านั้นคือ… แนวโน้มการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกมากมาย ทั้งพลังงานลม พลังแสงอาทิตย์ และพลังงานชีวภาพอื่นๆ จนแนวคิดเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าใหญ่ๆ อาจเป็นเรื่องไม่ฉลาดอีกแล้วที่ต้องสร้างอะไรใหญ่ๆ เพื่อผลิตไฟฟ้าอย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์… ซึ่งแนวคิด Smart Grid จะทดแทนและบูรณาการด้วยโครงข่ายการผลิตไฟฟ้าแบบกระจาย หรือ Distributed Power Generation… ซึ่งมีโรงไฟฟ้าตั้งแต่ขนาดเล็กถึงใหญ่ โดยบูรณาการโรงไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม เข้ากับโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน หรือ Conventional and Renewable Energy… กระจายอยู่ทั่วทุกระดับของโครงข่าย

ระบบ Smart Grid จึงถือเป็นโครงข่ายผลิต สำรองและจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ต้องบูรณาการกันทั้งระบบ โดยผู้ใช้ไฟฟ้าที่ปลายสายส่งจนถึงแหล่งผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าหลัก… ต่างต้องเชื่อมโยงข้อมูลและโครงข่ายถึงกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ถึงตรงนี้… เรียนทุกท่านไว้ก่อนว่า Smart Grid ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือน่าตื่นเต้น… แต่เป็นเรื่องใหญ่ที่ระบบนิเวศน์ทางวิศวกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวกับ อุปกรณ์ ซอฟท์แวร์ และนวัตกรรมด้านการจัดการมากมาย มีมิติทางนวัตกรรมและธุรกิจที่น่าตื่นตายิ่งกว่า ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์มิเตอร์อัจฉริยะ… ผู้ให้บริการเครือข่าย… ระบบการจัดการการใช้ไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟฟ้า… ระบบการจัดการข้อมูลมิติต่างๆ ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่า… พัฒนาการรอบนี้คงไปถึง Blockchain Driven Smart Grid กันทีเดียว…

ความจริงมิติของข้อมูลข่าวสาร และความเคลื่อนไหวของ Smart Grid ในปัจจุบัน… ช่วงต้นเดือนสิงหาคม ปี 2020… ต้องเรียนว่าเล่าผ่านบทความชิ้นเดียวไม่หมด แม้จะใช้เวลาเตรียมบทความเป็นเดือนก็ตาม

ขาดเหลือบกพร่องอย่างไร ก็ขออภัยทุกท่านไว้ตรงนี้… และจะพยายามหาแง่มุมที่น่าสนใจมานำเสนอเพิ่มเติมครับ… 

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

AVAX Coin

Avalanche Network และ AVAX Coin

Blockchain Trilemma เป็นปัญหาอัลกอริธึมที่ต้องใช้ในกการกำหนดเทคนิคการบันทึกบล็อกแบบได้อย่างเสียอย่าง ซึ่งบล็อกเชนทุกเครือข่ายที่สร้างขึ้นใช้ในปัจจุบัน ต่างก็ทำได้ดีที่สุดเพียง “ได้สองอย่างเสียหนึ่งอย่าง” กันหมด…

ท่าอากาศยานนานาชาติบึงกาฬ… ว๊าวว

ในที่สุดผมก็ได้ข้อมูลที่ยืนยันได้ว่า… บึงกาฬมีโครงการก่อสร้างสนามบินที่ บ้านดอนปอ ตำบลหนองเข็ง อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ระยะห่างจากตัวจังหวัดบึงกาฬ ประมาณ 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 ตอนหนองคาย – บึงกาฬ โดยได้มีการศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติบึงกาฬจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับงบประมาณศึกษาเบื้องต้นประมาณ 18 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเหมาะสมของสถานที่ในการก่อสร้าง

Dex Impermanent Loss

DeFi Impermanent Loss… ภาวะขาดทุนชั่วขณะในพอร์ตฟาร์ม

Impermanent Loss หรือ ภาวะราคาสินทรัพย์ลงทุนที่หายไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเป็นชั่วขณะที่ “ไม่ควรตัดสินใจทำธุรกรรม” เพื่อให้เสียโอกาสไปจริงๆ โดยเฉพาะเมื่อราคาของสินทรัพย์ลงทุนใน Pool มีการเปลี่ยนแปลงกระทบ “จิตวิทยาการลงทุน” ไม่ต่างจากการเทรดลงทุนเช่นกัน…

BioMedical Engineer

Biomedical Engineering และ Artificial Organs… อะไหล่มนุษย์

Artificial Organ หรือ อวัยวะประดิษฐ์ดัดแปลงสำหรับสิ่งมีชีวิต ซึ่งถือเป็น “อุปกรณ์ หรือ Device รวมทั้ง เนื้อเยื่อ หรือ Tissue” เพื่อใช้ฝัง หรือ บูรณะอวัยวะร่างกายของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ และ สามารถเชื่อมต่อกับเนื้อเยื่อดั้งเดิมที่เชื่อมต่อพึ่งพาอยู่ โดยทำหน้าที่ทดแทนอวัยวะดั้งเดิมตามธรรมชาติได้เท่าเดิม หรือ ดีกว่าเดิมอีกด้วย