พื้นฐาน Smart Contracts และแนวคิดการปรับใช้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

Blockchain

ธุรกรรมในวงการอสังหาริมทรัพย์ มีทั้งแง่มุมและเงื่อนปมมากมายให้คนในวงการอสังหาริมทรัพย์ วุ่นวายจุกจิก… แม้แต่ฝั่งลูกค้าคู่สัญญาหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ต่างก็มีแง่มุมและเงื่อนไขหยุมหยิมให้ต้องตระหนักและจัดการเสมอ หากต้องทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

ซึ่งจะว่าไปแล้ว… ทั้งหมดของการเกิดธุระมากมายในขั้นตอนแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ล้วนมาจากการปกป้องผลประโยชน์ของทุกฝ่ายเป็นสำคัญ… ซึ่งวนเวียนอยู่กับความเชื่อมั่นระหว่างกัน ในระหว่างการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันเท่านั้นเอง… 

โดยความเชื่อมั่นหรือเชื่อใจนี่แหละ ที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนมูลค่ากันขึ้น และ Blockchain Technology สามารถสร้างความโปร่งใสขึ้นจนเกิดความเชื่อมั่นได้ ถึงขั้นสามารถยกความไว้วางใจให้ Blockchain ทำหน้าที่ตรวจสอบความโปร่งใสก่อนการแลกเปลี่ยนและดำเนินการแลกเปลี่ยนมูลค่าได้เลยโดยไม่ต้องสร้างขั้นตอนทางธุรกรรมระหว่างมนุษย์ โดยมนุษย์และเพื่อมนุษย์ขึ้นอีก… เช่น ผมอยากเช่าอพาร์ทเมนท์ห้องที่ผมยืนอยู่หน้าประตูนี้แล้ว… ผมแค่เปิดแอพเช่าบ้าน สแกนคิวอาร์โค้ดหน้าประตู ยอมให้ระบบหักมัดจำกับค่าเช่าเดือนแรก ระบบจะสร้างสัญญาผูกพันธ์ผมไปอีก 12 เดือน… ซึ่งเจ้าของอพาร์ตเมนต์จะได้ทั้งเงินมัดจำและค่าเช่าทันทีเช่นกัน… และประตูห้องที่ผมอยากเข้าไปอาศัยก็จะเปิดได้ทันที… ในขณะที่อีก 30 วันข้างหน้า หากผมไม่จ่ายค่าเช่า ผมจะเปิดประตูเข้าห้องนี้ไม่ได้อีก

โดยขั้นตอนการเช่าและย้ายเข้าอยู่ของผม จะทำบนเทคนิคที่ชื่อว่า Smart Contracts หรือสัญญาอัจฉริยะ ที่เงื่อนไขการเช่าและสัญญาเช่าถูกสร้างขึ้นอัตโนมัติตอนเริ่มสแกนคิวอาร์โค๊ด และถูกบันทึกลง Blockchain หลังจากผมโอนมัดจำและค่าเช่าเดือนแรกเสร็จ

ประเด็นก็คือ Smart Contract เป็นนิติกรรมดิจิตอลที่ใช้อ้างอิงได้เช่นเดียวกับหนังสือสัญญาเช่าทั่วไป… อีกทั้งยังมีข้อความภายในไม่ต่างกัน เพียงแต่การลงนามร่วมกันเพื่อให้ผมจ่ายค่าเช่ากับเจ้าของอพาร์ทเมนต์  เกิดขึ้นได้ด้วยการตั้งเงื่อนไขไว้แต่ต้นในระบบ จากเจ้าของห้องเช่าว่า ถ้าผมหรือใครก็ตามทำตามเงื่อนไข ก็ให้เปิดประตูเข้าไปใช้ห้องได้เลย

Smart Contract แปลตรงตัวว่า สัญญาอัจฉริยะ… ซึ่งอาจเป็นสัญญาการว่าจ้าง สัญญาการซื้อขาย หรือเอกสารสำคัญ หรือแม้แต่เอกสารทางราชการ… 

Nick Szabo, Smart Contract Pioneer
Smart Contract Pioneer, Nick Szabo

Nick Szabo… นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักกฏหมายและนักวิทยาการเข้ารหัส เป็นผู้เสนอไอเดียว่า…  Blockchain สามารถใช้บันทึกข้อตกลงสัญญาที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีคนกลาง หรือคู่สัญญามาเจอกัน ลงนามและแลกเปลี่ยนมูลค่ากัน ซึ่งการโกงจะเกิดขึ้นไม่ได้เพราะ Blockchain มีสำเนาสัญญาชุดนี้ไม่น้อยกว่า 4 ชุด… ซึ่ง Blockchain ระบบหนึ่งๆ จำเป็นต้องมี Blockchain Node Hosting หรือเครือข่ายโฮสต์ Blockchain ไม่น้อยกว่า 4 IP Address หรือต้องมีเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ในระบบอย่างน้อย 4 ตัว กับ 4 IP Address ในการบันทึกบล๊อค เพื่อเริ่มต้นระบบ… ซึ่งในความเป็นจริง Blockchain ของ Bitcoin หรือ Ethereum มี Blockchain Node Hosting หลายล้านเครื่องทั่วโลก… ที่เปิดเครื่องทำ Blockchain Block Reccord ตลอดเวลา… ที่หลายท่านรู้จักกันดีในชื่อ Miner หรือการขุดบิทคอยน์นั่นเอง

Vitalik Buterin
Russian-Canadian programmer and writer primarily known as a co-founder of Ethereum and as a co-founder of Bitcoin Magazine.

Vitalik Buterin โปรแกรมเมอร์ผู้สร้าง Ethereum ได้นิยาม Smart Contract เอาไว้ว่า มันคือการเคลื่อนย้ายสินทรัพย์หรือเงินตราเข้าไปในตัวโปรแกรม และโปรแกรมนี้จะทำงานด้วยตัวของมันเอง… และที่จุดๆ หนึ่ง… มันจะทำการเช็คเงื่อนไขว่า สินทรัพย์นี้ควรจะถูกส่งต่อไปที่ใคร หรือควรจะถูกโอนคืนเจ้าของ

คุณเอิร์ทแห่ง SianBlockchain เปรียบเทียบ Smart Contract เหมือนตู้กดน้ำ… เมื่อใส่เงินไปจำนวนหนึ่งที่เพียงพอกับราคาของน้ำที่ต้องการจะซื้อ ตู้กดน้ำก็จะปล่อยเครื่องดื่มนั้นออกมาให้ และเก็บเงินจำนวนนั้นไป… ถ้าจำนวนเงินเกิน ก็ทอนกลับมาหรือถ้าใส่เงินยังไม่ครบหรือเกิน ตู้น้ำก็จะยังไม่ให้สินค้า และเรายังเลือกที่จะขอเงินคืนได้โดยการกดปุ่ม หรือเมื่อรอถึงระยะเวลาหนึ่งมันจะดีดเหรียญคืนออกมาให้เอง…

เมื่อเป็น Smart Contracts… เงื่อนไขที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนที่เป็นโค๊ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะอ้างอิง Blockchain ที่ระบบเชื่อมอยู่ แทนที่จะเป็นเพียงกลไกทาง Logic เหมือนตู้กดน้ำ หรือใช้เพียงฐานข้อมูลเดียวเหมือนระบบบัญชีธนาคาร

กรณีตัวอย่างเรื่องเช่าอพาร์ทเมนต์ที่ยกมาตอนต้นจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้… และที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างการซื้อขายและจำนองบ้านที่ดินในวันที่… เอกสารสิทธิ์อย่างโฉนดที่ดินถูกเก็บมูลค่าอยู่บน Blockchain เรียบร้อยแล้ว การซื้อขายหรือจำนองแบบไม่ต้องไปโอนกันที่สำนักงานที่ดินก็จะเกิดขึ้นได้ ไม่ต่างจากหยอดเหรียญซื้อโค๊กซักกระป๋อง หรือเช่าบ้านด้วยคิวอาร์โค๊ด

ประเด็นก็คือ… ปัจจุบันมีผู้พัฒนา Blockchain รอการทำธุรกรรมกับภาคอสังหาริมทรัพย์มากมายแล้ว… หลายแพลตฟอร์มเริ่มใช้งานกันไปแล้วก็มี… โดยส่วนตัวผมพอมีประสบการณ์กับการพัฒนา Blockchain และ Altcoin มาบ้าง ถ้าท่านสนใจอยากแลกเปลี่ยนสอบถามเพิ่มเติมก็ยินดีเช่นเดิมครับ… Line @properea ครับ!

อ้างอิง

Espeoblockchain.com
ETCommission.go.th
SiamBlockchain.com
https://en.wikipedia.org/wiki/Nick_Szabo 

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

NanoElectronics… ความรู้เบื้องต้นด้านนาโนอิเล็กทรอนิกส์

คำว่า NanoElectronics หรือ นาโนอิเล็กทรอนิกส์… จะนิยามถึงการใช้เทคโนโลยีนาโนในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งครอบคลุมชุดอุปกรณ์ และ วัสดุทางอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย โดยหมายความถึงลักษณะทั่วไปที่มีขนาดเล็กมาก จนต้องมีการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอม และ คุณสมบัติทางกลเชิงควอนตัม โดยมีวิทยาการสาขาต่างๆ แบ่งย่อยออกไปมากมาย เช่น… Molecular Electronics ทั้งแบบ Hybrid และ Mono… NanoWires and NanoTubes หรือ เส้นลวด และ ท่อนาโน… รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โมเลกุลขั้นสูง หรือ Advanced Molecular Electronics

เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน CLMV 2021

เศรษฐกิจ CLMV ส่งสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 หลังเริ่มผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในช่วงเดือนพฤษภาคม–มิถุนายนปี 2020 แม้กัมพูชาและลาวสามารถควบคุมการระบาดได้สำเร็จ แต่เมียนมาและเวียดนามกลับเผชิญการระบาดระลอกใหม่ของ COVID19 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 โดยเวียดนามกลับมาประกาศใช้มาตรการ Lockdown ในบางพื้นที่และสามารถควบคุมการระบาดได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม ขณะที่เมียนมายังคงได้รับผลกระทบอย่างมากจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน

Fibonacci Retracement

Fibonacci Retracement…

การนำ Fibonacci Number มาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์หลักทรัพย์ลงทุน ก็เป็นอีกหนึ่งความมหัศจรรย์ในการนำมาประเมิน “แนวรับ–แนวต้าน” เพื่อประเมินพฤติกรรมราคาหลักทรัพย์ ซึ่งบ่อยครั้งที่นักวิเคราะห์เก่งๆ หรือ นักลงทุนจะใช้เพื่อกำหนดตัวเลขราคาคร่าวๆ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การทำ “คำสั่ง หรือ Order” นั่นเอง

โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน และโอกาสการลงทุน… ระยะยาว

ผมรวบรวมบทความนี้ขึ้น เพื่อบันทึกไว้ที่ properea ครับ เพราะวันที่เผยแพร่ข้อมูลนี้ ขั้นตอนการประกวดราคาก่อสร้าง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ได้เริ่มมากว่าสัปดาห์แล้ว… ข้อมูลจึงมีอยู่มากมาย โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา