กรุงเทพมหานครก่อนจะมีฝน… คนกรุงเจอเรื่อง PM 2.5 ที่ส่งผลให้ หน้ากากอนามัยกับเครื่องฟอกอากาศ ขาดตลาดจนเกิดดราม่าขึ้นหลายมุมเมือง พอฝนตก… ดราม่าเรื่องน้ำท่วมก็วนกลับมาหลอกหลอนชาวกรุงอีกครั้ง…
ผมอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ มานานก่อนจะย้ายมาเชียงใหม่ แต่ธุระการงานก็ยังทำให้ผมวนเวียน เข้าออกกรุงเทพมหานคร ปีละหลายสิบรอบ บางรอบอยู่นานหลายสัปดาห์ก็มี
ประสบการณ์เรื่องน้ำท่วมรอระบาย บนถนนของกรุงเทพมหานครสำหรับผม… จึงมีไม่น้อยกว่าใครๆ ทั้งนั้น
สองประเด็นที่ผมสัมผัสได้ทุกครั้งที่เกิดน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร ที่ผมคิดว่า… เกิดซ้ำเหมือนๆ กับที่ฝนตกน้ำต้องท่วมเสมอก็คือ ชาวบ้านด่าเจ้าหน้าที่ กทม. ไล่ตั้งแต่ผู้ว่าฯ ลงมายันคนงานกวาดถนน… ในขณะที่ฝ่ายรัฐ ก็แก้ต่างด้วยเหตุผลเดิมๆ อย่างท่ออุดตัน คูคลองตื้นเขินและโดนลุกล้ำ…
แค่นี้ก่อนครับเรื่องน้ำท่วมกรุงเทพฯ… ตัดภาพมาที่ เมืองระดับ Smart City ที่ขวนขวายอัพเกรดกันบ้าง สร้างใหม่กันบ้าง วิ่งเต้นผลักดันกันคึกคัก… เท่าที่ข้อมูลผมมี ผมเห็นแต่พูดถึง รถไฟฟ้า ทางเท้า ทางจักรยาน ต้นไม้ อากาศ พลังงานแสงอาทิตย์… ในขณะที่ ประเด็นขยะมูลฝอยและน้ำท่วมน้ำแล้ง ผมก็ยังไม่ได้ยินจากวิสัยทัศน์ Head Projects จากมุมไหนสักเท่าไหร่
ถ้ามอง Smart City Project ด้วยมุมมองแบบ Startup ก็พอจะยอมรับได้ว่า การทำ MVP หรือ Minimum Viable Product ให้ Project เกิดเร็วที่สุด… ก็พอจะยอมรับได้ ถ้าหลายๆ พื้นที่อยากจะขึ้นชั้น Smart City
ผมก็นึกไม่ออกว่า… เจอน้ำท่วมเข้าไปภาพมันจะเป็นยังไง!!!
ผมมีเอกสารชื่อ “Flood resilience and smart water management: implementation strategies for smart cities” โดย Lian Guey Ler นักวิจัยจาก Université Côte d’Azur ในประเทศฝรั่งเศษ

เอกสารชิ้นนี้ยาว 117 หน้าครับ… เป็นวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มที่ศึกษากลยุทธ์การรับมือกับน้ำท่วมแบบต่างๆ รวมทั้งการนำเสนอแนวคิดเรื่อง Smart Water Management ที่ผมคิดว่า… สามารถนำมาศึกษาต่อยอดเพื่อนำองค์ความรู้แบบนี้ เข้ามาปรับใช้… ท่านที่สนใจเชิญที่คลิกที่นี่ครับ
หลักๆ เลย Lian Guey Ler เสนอให้สร้างสิ่งที่เรียกว่า Smart Grid Communication Architecture เพื่อสื่อสารข้อมูล Real Time ในการบริหารจัดการน้ำ… ผมคิดว่า วิทยานิพนธ์เล่มนี้เสนอแนวทางที่สามารถนำมาปรับใช้ต่อยอดเพื่อออกแบบระบบบริหารจัดการน้ำฝนส่วนเกินในเมืองต่างๆ อย่างได้ผล… แน่นอนว่า Smart Grid Communication Architecture คือ Big Data ที่ต้องหาคนมือถึง ประสบการณ์ถึงและกึ๋นถึง จึงจะบริหารระบบ Smart Water Management Systems ได้
โดยประสบการณ์ส่วนตัว… ประเทศนี้ยังหา Data Scientist ค่อนข้างยาก… ผมหมายถึงคนที่รู้เรื่องข้อมูลเชิงตรรกะอย่างดีและมีทักษะในการนำข้อมูลไปสู่ Operation ที่เป็นรูปธรรมและสนองตอบการจัดการปัญหาด้วยข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ

ที่หนักกว่านั้นคือ… ผมยังไม่เห็นประเทศนี้ หารูปแบบการจัดเก็บข้อมูลของชุมชนเมืองในมิติที่พอจะเชื่อได้ว่า จะสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนได้เลย… แต่ผมมีข้อมูลจากฝั่งเอกชนที่เป็น Startup กลุ่มเล็กๆ ของอาจารย์ต้า… ดร.วิโรจน์ จิรพัฒนกุล อดีต Data Scientist จาก Facebook และทายาทแลคตาซอย ที่ผันตัวเองมาทำ Startup ด้านการศึกษาชื่อ “Skooldio” พร้อมกับเป้าหมายปลายทางที่ไม่ธรรมดา… ได้ยินมาว่า อาจารย์และทีมงานได้พัฒนา Chatbot ขึ้นบน Facebook Messenger ชื่อ UPIN เอาไว้ให้คนกรุงเทพฯ เข้าไปบ่นเรื่องน้ำท่วม ท่อตัน สะพานลอยทรุด ฯลฯ… ซึ่งอาจารย์จะเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิทยาการข้อมูลที่วันหนึ่ง… เมื่อข้อมูลมากพอ… ผมคิดว่าคนกรุงเทพฯ หรือเมืองอื่นๆ ที่นำไปใช้ จะได้ประโยชน์มากมาย
ที่จริงผมคิดแบบนี้… ถ้าผู้หลักผู้ใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เชิญอาจารย์ไปคุย และให้เจ้าหน้าที่เทศบาลมีทีอยู่ทุกถนนในกรุงเทพฯ เป็นคนให้ข้อมูลกับ UPIN หรือยุพิน หรือป้ายุพินของอาจารย์ต้าคนนี้… ผมว่าอย่างน้อยๆ กรุงเทพมหานครน่าจะมี Data Grid แบบไทยๆ ใช้งานได้เลย…
จบดีกว่าน๊ะครับ เดี๋ยวน้ำลายจะท่วมทุ่งซะก่อน!
อ้างอิง
https://tel.archives-ouvertes.fr/tel-01900645/document
https://www.skooldio.com
https://forbesthailand.com/people/cover-story/ดร-วิโรจน์-จิรพัฒนกุล-passion-ชน.html