ข่าวการท่าเรือแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ได้ร่วมกันผลักดันเพื่อยกระดับ ท่าเรือแหลมฉบัง หรือ LCB ให้เป็นท่าเรืออัจฉริยะ หรือ Smart Port ด้วยการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนา Smart City ที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ
โดยพิธีลงนามมีขึ้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2022 โดยมีประเด็นการศึกษา และ หาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังสู่การเป็นท่าเรืออัจฉริยะ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการขนส่ง ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลการขนส่งหลากหลายรูปแบบ หรือ Multimodal Transportation ทั้งเพื่อการส่งออกและนำเข้า ครอบคลุมการขนส่งทางเรือและรถบรรทุก เพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลสำหรับผู้ให้บริการท่าเรือ รถไฟ รถบรรทุกขนส่งสินค้า ผู้ให้บริการคลังสินค้า ตลอดจนผู้ประกอบการธุรกิจผู้นำเข้า-ส่งออก และ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านอื่นๆ
เรือโทยุทธนา โมกขาว รองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย สายบริหารการเงินและกลยุทธ์องค์กร รักษาการแทนผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า… เทคโนโลยีดิจิทัลที่นำมาประยุกต์ใช้กับท่าเรือแหลมฉบังจะให้ “ข้อมูล” ที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการ และ สามารถนำมาใช้เป็นฐานข้อมูล Big Data ที่สำคัญ เพื่อต่อยอดไปสู่การเป็นฐานข้อมูลด้านการขนส่งของท่าเรือแหลมฉบังและภาคตะวันออก… อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีการจัดเก็บและการบริหารฐานข้อมูล รองรับการทำงานระหว่างหน่วยงาน และ การให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบธรรมาภิบาลข้อมูล ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมขนส่ง และ ประชาชนในชุมชนโดยรอบ
รายละเอียดในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนา Smart City ที่ท่าเรือแหลมฉบัง จะเป็นการต่อยอดระบบจองคิวรถบรรทุก หรือ ระบบ Truck Queue ของท่าเรือแหลมฉบัง โดยยกระดับให้เป็นภาพรวมการบริหารจัดการด้วยแพลตฟอร์ม และ วางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยใช้กรอบการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองของดีป้า ซึ่งมีแหล่งข้อมูลต้นทางจากข้อมูลการเดินรถ… ข้อมูลจากหัวรถลาก… ข้อมูลตู้คอนเทนเนอร์… ข้อมูลตารางเรือ… สายการเดินเรือ และอื่นๆ จากท่าเรือเอกชนรวมถึงข้อมูลประกอบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการจราจร… ภูมิอากาศ… CCTV และ ข้อมูลที่ได้จากระบบให้บริการที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่
โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดการผ่าน Smart Port Xchange Engine ซึ่งมีองค์ประกอบหลักตามกรอบการพัฒนาคือ Data Catalog… Data Exchange และ Data Governance จากนั้นจะนำมาสร้างเป็นบริการใหม่ ได้แก่ Smart Port Traffic… Smart Truck… Smart Port e-Payment… Smart Backhaul และ Smart Port Analytics รวมทั้งให้บริการ Open Data สำหรับผู้ที่สนใจ ซึ่งทั้งหมดถือเป็นการปรับเปลี่ยนการทำงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และเหมาะสม
โดยส่วนตัวตื่นเต้นกับโมเดลของ LCB Smart Port ซึ่งอีกไม่นานคงได้เห็น Autonomous Trucks วิ่งวนอยู่ในพื้นที่ด้วยข้อมูลจาก Smart Port Xchange Engine ที่การท่าเรือ และ DEPA ร่วมกันทำงานรองรับวิสัยทัศน์แห่งอนาคตอย่างน่าสนใจ
References…