ภาคส่งออกขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์… เราตายน้ำตื้นขนาดนี้ได้อย่างไร?

shipping container

ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2020 ที่ผ่านมา… ภาคส่งออกของประเทศไทยเจอวิกฤตสาหัสกว่าโควิดเป็นไหนๆ ตลอดครึ่งปีหลัง จนกระทั่งขึ้นปีใหม่ แทบจะทุกอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ตู้สินค้าและการขส่งทางเรือ หาตู้บรรจุสินค้าไม่ได้ และกระทบการค้าขายและเป้าหมายส่งออกอย่างสาหัส

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือ หรือ สรท. มีตัวเลขเก็บไว้อ้างอิงระบุว่า… ประเทศไทยมีตู้ส่งออกประมาณ ปีละ 5 ล้าน TEUs ในขณะที่มีตู้นำเข้าประมาณ 3.5 ล้าน TEUs บริษัทเรือจึงต้องมีการนำเข้าตู้เปล่าปีละประมาณ 1.5 ล้าน TEUs ต่อปี… และปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าที่เกิดขึ่นระหว่างมิถุนายน-สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา มีปริมาณตู้นำเข้าลดลง 20% โดยตู้สินค้าไปตกค้างที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปมากกว่า 1 ล้านตู้ เนื่องจากปัญหาโควิด19 เพราะขาดแคลนบุคลากรในภาคขนส่งจากผลกระทบของวิกฤตโควิดทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรป

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563… คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าภายใน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานครและหารือร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาขาดแคลนตู้สินค้าและอัตราค่าระวางเรือที่สูงขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกที่กำลังได้รับผลกระทบ

ภายหลังการประชุมหารือร่วม 15 หน่วยงานพร้อมภาคเอกชนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  กล่าวว่า วันนี้เป็นการลงพื้นที่เพื่อมาดูสถานการณ์การส่งออกผ่านท่าเรือกรุงเทพโดยมุ่งเน้นแก้ปัญหาสำคัญ 3 ประเด็น คือ 

  1. ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้สำหรับบรรจุสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศขาดแคลน
  2. เรื่องค่าบริการในประเทศ จากกระบวนการนำเข้าและส่งออก
  3. การจองพื้นที่เพื่อบรรจุตู้สำหรับส่งออกและปัญหาการจองตู้ โดยประเทศไทยมีความต้องการตู้สำหรับการส่งออกประมาณ 5,000,000 ตู้ต่อปี และนำเข้า 3,500,000 ตู้ต่อปี จึงยังขาดอยู่ 1,500,000 ตู้

โดยที่ประชุมได้สรุปการแก้ไขการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ได้ 6 มาตรการ ดังนี้

  1. กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับการท่าเรือและภาคเอกชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาลู่ทางในการเร่งนำตู้เปล่าเข้ามาให้พอกับการใช้บรรจุสินค้าส่งออก
  2. นำตู้เก่ามาซ่อมแซมในประเทศเพื่อใช้บรรจุสินค้าเพื่อการส่งออก โดยให้ความช่วยเหลือให้นำเข้าตู้เปล่าและตู้เก่าให้สะดวกรวดเร็ว
  3. หาทางเพิ่มช่องทางการส่งออกโดยไม่ใช้ตู้ เช่น ใช้เรือสินค้าทั่วไป เป็นต้น
  4. สนับสนุนช่วยเหลือ SME ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายย่อย ให้รวมตัวกันจองตู้ล่วงหน้าผ่านสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 
  5. เร่งดำเนินการหาลู่ทางให้เรือที่มีขนาด 400 เมตรสามารถเข้าท่าที่แหลมฉบังได้ แทนที่จะอนุญาตเฉพาะเรือ 300 เมตร อย่างในปัจจุบัน เพื่อให้การส่งออกการนำเข้าสามารถบรรทุกสินค้าได้มากขึ้น
  6. หามาตรการในการลดต้นทุนการนำเข้าตู้

ส่วนในเรื่องของค่าบริการในประเทศ หรือ Local Charge ได้ตกลงร่วมกันว่าจะร่วมมือกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยและภาคเอกชนในการหาทางลดค่าบริการในประเทศ ปัจจุบันเฉลี่ยตู้ขนาด 20 ฟุต ประมาณ 1,800 บาทต่อตู้ สำหรับภาครัฐการท่าเรือจะไปหาลู่ทางปรับลดเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก และการนำเข้าตู้เปล่าหรือตู้เก่าเข้ามา ช่วยรับภาระได้ 6 เดือนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 การคิดค่าบริการที่สร้างภาระเกินสมควร กรมการค้าภายในจะใช้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการเข้ามากำกับดูแล ส่วนปัญหาการจองพื้นที่ตู้หรือการจองตู้ที่บางครั้งถูกเลื่อนหรือถูกยกเลิก ซึ่งเป็นปัญหากับผู้ส่งออกนั้น ได้ขอให้สำนักงานแข่งขันทางการค้าของกระทรวงพาณิชย์เข้ามารับภาระในการรับเรื่องร้องเรียนจากภาคเอกชนที่ประสบปัญหาโดยสำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าแจ้งว่าถ้ามีหลักฐานพร้อมและมายืนร้องก็จะดำเนินการพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน

ประเด็นก็คือ… ตู้ขนสินค้าขาดแคลนทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยประเทศเดียว ซึ่งประเทศไทย ขาดแคลนเพราะ 

  1. ตู้คอนเทนเนอร์ไปค้างอยู่ที่ประเทศสหรัฐฯกับสหภาพยุโรปและส่งออกไม่ได้เพราะติดโควิด 
  2. จีนกับเวียดนามสามารถที่จะดึงตู้เปล่าอยู่ในประเทศได้เยอะมาก ทำให้ยิ่งขาดแคลน และโดยปริมาณตัวเลขการส่งออกนำเข้าของเรา นำเข้าแค่ 3,500,000 ตู้ต่อปีแต่ส่งออกถึง 5,000,000 ตู้ต่อปี ทำให้ขาดแคลนตู้ปีละ 1,500,000 ตู้”

เอาเป็นว่า… ค่อยๆ คุยกันครับ เท่าที่ผมเชคข้อมูลก็มีล่าช้าบ้าง แต่ก็จัดสรรแบ่งปันกันได้ดีระดับหนึ่งทีเดียว ขาดเหลือท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า… ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP กระทรวงพาณิชย์ หรือสายตรงกรมการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169 ได้เลยครับ

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Sugar Battery

Biobattery และ Sugar Battery

แนวคิดการสร้างแหล่งจ่ายพลังงานจากสารประกอบอินทรีย์ แบบที่ร่างกายของเราสามารถกระตุ้นการไหลเวียนของอิเลคตรอนได้โดยการย่อยสลายน้ำตาลด้วยกระบวนการเมตาบอลิซึ่ม หรือ Metabolism ซึ่งในทางไบโอเคมีจะเป็นการสลายโมเลกุลด้วยปฏิกิริยารีดอกซ์ หรือ Redox หรือ Reduction–Oxidation ของกลูโคส หรือ  Glucose Unit และ ปลดปล่อยอิเลคตรอนออกมา

รถไฟฟ้าสายสีชมพู…

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีระยะทาง 34-36 กิโลเมตร เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบวางคร่อมราง (straddle-beam monorail) ทางวิ่ง ยกระดับความสูง 17 เมตร ตลอดโครงการ มีรางที่ 3 สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ

Marie Curie

Be Less Curious About People And More Curious About Ideas – Marie Curie

ปี 1911 สถาบัน Royal Swedish Academy of Sciences ได้ประกาศให้ Marie Curie ได้รับรางวัลโนเบลเป็นครั้งที่สองในสาขาเคมี จากผลงานสร้างความก้าวหน้าทางเคมีโดยการค้นพบ Polonium และ Radium… รวมทั้งการแยกธาตุ Radium และ ศึกษาวิจัยองค์ประกอบและธรรมชาติของ Radium ทำให้ Marie Curie เป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล 2 ครั้ง และเป็นคนเดียวในโลกที่ได้รับรางวัลโนเบลด้านวิทยาศาสตร์ 2 สาขา…

Ethereum Validator Nodes จาก Cloudflare

กว่าสามปีมาแล้วที่ผู้ให้บริการคลาวด์เซิร์ฟเวอร์แบบหลายสำเนาอัตโนมัติชื่อ Cloudflare ซึ่งแก้ปัญหาการโจมตีเวบไซต์แบบ DDOS ได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งมาพร้อมความเร็วในการดาวน์โหลดเวบไซต์อันน่าทึ่งอีกด้วย… พวกเขาได้ประกาศทดลอง Cloudflare บนเทคโนโลยี WEB 3.0 ด้วยการย้ายเกตเวย์ชุดทดลองไปวางไว้บน IPFS หรือ InterPlanetary File System ก่อนจะตามมาด้วยการทดสอบ Ethereum Gateway ซึ่งทั้งหมดได้นำบริการ Ethereum Validator Nodes มาให้บริการนักลงทุนที่ต้องการ Stake ETH เพื่อเป็น Ethereum Validator โดยไม่ต้องวุ่นวายกับการติดตั้งซอฟท์แวร์และการดูแลอันยุ่งยาก โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย