ช่วงปี 2014… Justin Werfel และ Kirstin Petersen ขณะที่กำลังเรียปริญญาโทอยู่ Harvard School of Engineering and Applied Sciences เดินทางไปประเทศนามิเบียเพื่อถ่ายรูปกับจอมปลวกอาฟริกาสูง 8 ฟุต หรือราวๆ 2.4 เมตรที่เป็นแรงบันดาลใจในการค้นคว้าวิทยาการหุ่นยนต์ที่ได้แรงบันดาลใจจากปลวกสร้างรัง จนกลายเป็นโครงการ Harvard’s TERMES หุ่นยนต์ชั้นแรงงานแบบจัดการตัวเองได้ หรือ Self Organizing Systems
จากแฟ้มภาพของ Dr.Radhika Nagpal, 2014
ปัจจบัน: Kirstin Petersen เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้าน Bio-Inspired Robotics อยู่ที่ Cornell University
ก่อนหน้านั้น 4 ปี… Dr.Radhika Nagpal และ Fred Kavli ศาสตราจารย์ด้าน Computer Science ที่ Harvard SEAS ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยด้าน Self-Organizing Systems ที่ Wyss Institute for Biologically Inspired Engineering at Harvard University… ได้ศึกษาระบบ TERMES และแสดงให้เห็นว่า ระบบประมวลผลของหุ่นยนต์ สามารถสร้างโครงร่างสามมิติที่ซับซ้อนร่วมกันของหุ่นหลายตัวแบบฝูงได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งกลางหรือการกำหนดบทบาทไว้ ผลของโครงการ 4 ปีถูกนำเสนอในที่ประชุม AAAS 2014 Annual Meeting ประจำปี 2014และตีพิมพ์ในนิตยสาร Science. ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ปี 2014 ด้วย
TERMES Robots สามารถสร้างปราสาทและปิรามิดจากอิฐได้เลย… โดย TERMES Robots จะช่วยกันสร้างบันไดขึ้น เพื่อไต่ไปยังระดับที่สูงขึ้นและเติมอิฐได้ทุกที่ที่ต้องการ ซึ่งในปัจจุบัน แนวคิดจากโครงการ TERMES ของ Harvard School of Engineering and Applied Sciences ชิ้นนี้ กลายเป็นแนวทางงานศึกษาวิจัยเทคนิคการก่อสร้างด้วยหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่ทำงานเหมือนปลวกงาน เพื่อเติมช่องว่างงานก่อสร้างแบบ 3D Printing ที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว… ซึ่ง TERMES Robots จะกลายเป็นแรงงานกรรมกรก่อสร้างที่ทำได้ตั้งแต่ช่วยเรียงกระสอบทรายกันน้ำท่วม ไปจนถึงสร้างตึกบนดาวอังคาร และเป็นแรงงานก่อสร้างในอวกาศที่ไม่สิ้นเปลืองอ๊อกซิเจนอีกด้วย
เครดิต: Wyss Institute, Harvard University
ปี 2020 ในปัจจุบัน… หุ่นยนต์ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบให้ทำงานด้วย Self-Organizing Systems โดยนักวิจัยของ Wyss Institute กำลังพัฒนาหุ่นยนต์และอัลกอริทึม โดยสร้างฝูงหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยใช้หุ่นยนต์ “Kilobots” นับพันตัวในการทดสอบ Swarm Algorithms โดยโปรแกรมคำสั่งที่ซับซ้อนกับฝูงหุ่นยนต์…
ลำดับต่อไป… โครงการวางแผนทดสอบและพัฒนา “อาณาจักรหุ่นยนต์” และระบบปฏิบัตการแบบรังผึ้ง หรือ Hive Operating System เพื่อให้ฝูงหุ่นยนต์เหล่านี้สามารถทำงานที่ซับซ้อนอย่างการอ่านไฟล์ 3 มิติงานก่อสร้างและทำงานประสานกันกับทีมหุ่นยนต์ภาคพื้น หุ่นยนต์บินและหุ่นยนต์ในน้ำ… ซึ่งเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาของทีมนักวิจัยจาก Wyss Institute คือการสร้างเซนเซอร์ไร้ที่ติ และ Controllers ที่ตอบสนองต่อการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขคำสั่งปฏิบัติการที่ชาญฉลาด แม่นยำและตอบสนองอย่างรวดเร็ว อันเป็นหัวใจสำคัญอย่างแท้จริงของระบบฝูงหุ่นยนต์

ประเด็นก็คือ… แรงงานจากฝูงหุ่นยนต์เหล่านี้ทำงานได้หลายอย่างแทนมนุษย์แน่นอนแล้ว เหลือแต่พัฒนาให้ฝูงหุ่นยนต์เหล่านี้มีเซนเซอร์ที่แม่ยำกับการประมวลผลที่ชาญฉลาดกว่าต้นแบบเท่านั้น… ซึ่งในทางเทคนิคถือว่าโครงการรอประกาศความสำเร็จขั้นสูงสุดเท่านั้นเอง… จำชื่อ Dr. Radhika Nagpal นักวิจัยจาก The Harvard Wyss Institute for Biologically Inspired Engineering และ Co-Founder Root Robotics เอาไว้ด้วยครับ… เธอคือศูนย์กลางการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้
อ้างอิง
https://www.seas.harvard.edu/news/2014/02/robotic-construction-crew-needs-no-foreman