ผมมีบทคัดย่องานวิจัยชื่อ A Bacteria-Based Self-Healing Cementitious Composite for Application in Low-Temperature Marine Environments. โดย Dr. Henk Jonkers และคณะ … Dr. Henk Jonkers เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์อยู่ที่ Delft University of Technology ประเทศเนเธอแลนด์
งานวิจัยตีพิมพ์ตั้งแต่กันยายน 2017 ครับ…
Ass. Prof. Dr. Henk Jonkers สร้าง Bio-concrete หรือ Self-healing Concreate โดยการใส่จุลชีพลงไปในส่วนผสมคอนกรีต Self-healing Concreate จึงเป็นคอนกรีตที่ดูภายนอกก็คล้ายกับคอนกรีตทั่วๆ ไป แต่ภายในมีส่วนผสมพิเศษเป็นแบคทีเรีย ที่เป็นหัวใจสำคัญ โดยแบคทีเรียในเนื้อคอนกรีตนี้มีชื่อว่า ” Healing Agent“
Healing Agent เป็นแบคทีเรียชื่อ Bacillus Pseudofirmus ซึ่งเป็นแบคทีเรีย gram positive ตระกูล Facultative anaerobic bacterium… แบคทีเรียอีกสายพันธ์หนึ่งที่ใช้คือ Sporosarcina Pateurii หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ Bacillus pasteurii
แบคทีเรียเหล่านี้สามารถสร้างตะกอนแคลไซต์ที่เป็นผลึกทรายที่มีส่วนประกอบของแคลเซี่ยมและยูเรีย… เมื่อคอนกรีตเกิดร้าวจนความชื้นเข้าไปสัมผัสกับจุลชีพที่ผสมเอาไว้… แบคทีเรียเหล่านั้นก็จะเจริญขึ้น ขยายตัวและทิ้งผลผลิตเติมเต็มรอยแตกของคอนกรีต
ถ้านึกภาพไม่ออก… ลองเปิดดูสารคดีเกี่ยวกับปะการังก็ได้ครับ หลักการสิ่งมีชีวิตตัวเล็กจิ๋ว สร้างประติมากรรมคอนกรีตที่แข็งแรงและขนาดใหญ่กว่าตัวมันนับล้านเท่านั่นแหละครับ… คือหลักการ Bio-concrete
ผมไม่กล้าอธิบายมากกว่านี้เพราะยังค้นคว้าและทำความเข้าใจเรื่องนี้เพียงน้อยนิด… อีกอย่างความรู้ด้านจุลชีวะของผมต่ำต้อยจนไม่อาจลงลึกกว่านี้แล้วครับชั่วโมงนี้
เอาไว้ผมได้อ่านงานวิจัยฉบับเต็มและผมสามารถค้นคว้าจากเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันได้ลึกกว่านี้… ยืนยันว่าจะมาแชร์ความรู้แบ่งปันทุกท่านครับ
ที่แน่ๆ ผมเชื่อว่า… ก้าวสำคัญของวงการก่อสร้างครั้งนี้… จะพาเราไปไกลกว่าเสาสะพานที่ซ่อมรอยร้าวเองได้อย่างแน่นอน…
…ในหัวแว๊บไปถึงการใช้แบคทีเรียสร้างตึกแทนแรงงานต่างด้าวได้… คงแจ่ม!
อ้างอิง…