นานมาแล้วที่คนเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์มีเครื่องมือที่เรียกชื่อโดยทั่วไปว่า Macro ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่ติดมากับเครื่องมือเขียนโปรแกรมทุกภาษาและแพลตฟอร์ม และเรียกใช้งาน Macro ให้ช่วยบันทึก Keystorkes หรือการกดแป้นพิมพ์ เพื่อให้ Macro ช่วย COPY ตัวอักษรทุกตัวที่โปรแกรมเมอร์แตะแป้นพิมพ์เอาไว้ และสามารถเรียกมาวางเมื่อไหร่ บนตำแหน่งไหนของเอกสารก็ได้ไม่จำกัด… ซึ่งฟังก์ชั่นแบบนี้คงมีใช้กันมานานก่อนผมหัดเขียนโปรแกรมเมื่อสามสิบปีที่แล้วเสียอีก
แนวคิดการใช้ Macro แบบต่างๆ และซับซ้อนเริ่มแพร่หลายเมื่อโปรแกรมสำเร็จรูปชุด MicroSoft Office และ MicroSoft Visual Studio ได้รับความนิยมอย่างมากในยุค 90 โดยเฉพาะการกำหนดเงื่อนไขให้ Macro ทำงานด้วยภาษา Basic ใน MicroSoft Excel และ MicroSoft Access ที่ทำให้เครื่องทางข้อมูลและตัวเลขในชุด MicroSoft Office ตอบสนองความหลากหลายเฉพาะทางของธุรกิจและองค์กร ส่งให้ MicroSoft กลายเป็นธุรกิจอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันหลายปี
ที่เล่าความหลังไปไกลก็เพื่อจะบอกว่า… แนวคิดการใช้ Macro ช่วยงานซ้ำซากและซับซ้อนโดยไม่ผิดพลาดนั้น มีอยู่คู่กับซอฟท์แวร์และคอมพิวเตอร์มาแต่ไหนแต่ไร… และเมื่อ Macro ได้รับการพัฒนาให้ทำงานแบบกำหนดเงื่อนไขซับซ้อนได้หลากหลายมากกว่าเดิม พร้อมๆ กับพัฒนาการอย่างครบเครื่องของภาษาสคริปต์ หรือ Scripting Language ที่ครบเครื่องและทรงพลังกว่าในอดีต… การกำหนดและสั่งงานซ้ำซากให้คอมพิวเตอร์ช่วยทำแทนจึงมาไกลจนเรียกใหม่ได้เต็มปากว่า Bot ซึ่งเป็นพัฒนาการจากแนวคิดและ DNA ของ Macro ที่เก่งกว่าบรรพบุรุษมากมาย
และเมื่อพัฒนาการของ Bot มาถึงยุครุ่งเรืองของ RPA Bot ที่ใช้ง่ายกว่าเดิมแต่ทรงพลังกว่าเดิมอย่างในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากความยืดยุ่นของรูปแบบการทำงาน หรือ Pattern ของ RPA Bot สามารถทำงานซ้ำๆ ที่เคยมีแต่มนุษย์ทำอยู่ก่อนได้มากมายหลากหลายงาน… แต่การทำงานของ RPA Bot ในขั้นนี้ก็ยัง “วนซ้ำตามรูปแบบ หรือ Pattern เดิมๆ ที่กำหนดให้” ในขณะที่โลกความจริงยังมีเงื่อนไขรายละเอียดที่ซ้อนอยู่ในแต่ละขั้นตอนของ Pattern ซึ่งหลายกรณี “ไม่ใช่ตัวแปรค่าคงที่” ให้ใช้เป็นเงื่อนไขเดียว หรือเงื่อนไขโดยปริยายในการผลิตผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หรือมีประสิทธิภาพที่สุด
การนำ AI หรือ Artificial Intelligence เข้ามาช่วยปรับรูปแบบ หรือ Repatterning ในแต่ละรอบของการทำงานให้ถูกต้องแม่นยำที่สุด เช่น RPA Bot ที่ทำข้อมูลค่าใช้จ่ายการเดินทางของผู้บริหาร ปกติจะอ่านใบเสร็จรับเงินที่ป้อนเข้าระบบเป็น PDF Files… แต่แล้วก็มีบิลเงินสดเขียนลายมือสแกนส่งเข้ามาให้ Bot อ่านและบันทึก… RPA Bot ตัวนี้ต้องรู้ว่าเป็นบิลค่านำ้มันรถผู้บริหารที่เขียนด้วยลายมือ และเรียกใช้ Image Recognition และ Text Analytics ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นระดับ AI ช่วยทำข้อมูลให้อยู่ใน Format ที่ Bot จะเอาไปทำงานต่อได้… ซึ่งถ้า RPA Bot ตัวนี้ไม่รับบิลเงินสดเขียนลายมือแล้วหล่ะก็ ระบบบันทึกค่าใช้จ่ายเดินทางของผู้บริหารที่มีทั้งค่าน้ำมันรถ ค่าแท็กซี่ ค่าเครื่องบินและอะไรอีกมาก ก็ยังต้องพึ่งคนตัวเป็นๆ ช่วยงาน RPA Bot ที่ไม่ค่อยฉลาดไปอีกนาน และการมี Bot ก็ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น
จากตัวอย่างที่ยกมา… เป็นเพียงเงื่อนไขตัวแปลหยาบๆ เล็กๆ ที่มีผลกับ Pattern ของ Bot ที่ต้องยืดยุ่นปรับเปลี่ยน ซึ่งในการใช้งานจริง RPA Bot จะมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก โดยเฉพาะตัวแปรเงื่อนไขว่าจะต้องใช้ Pattern แบบไหนเมื่อไหร่… ซึ่ง AI จะเข้ามาช่วยตัดสินว่าจะแบบไหนเมื่อไหร่ เพื่อให้ถูกต้องกว่า…
ข่าวดีก็คือ… RPA Software ที่เสนอบริการอยู่ในปัจจุบันมี AI ติดตั้งพร้อมใช้มาในระบบให้ทั้งหมดอยู่แล้ว ที่เหลือก็เพียงแต่ต้องวิเคราะห์ขั้นตอน หรือ Process ให้ได้ลำดับขั้นตอนที่ “AI เรียนรู้ได้ถูกต้อง” ที่เหลือก็เติบโตและเรียนรู้ไปด้วยกัน