ข้าวไทยในเวทีโลก

ช่วงกลางปีที่ผ่านมา ผมเก็บข่าวคุณเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย ที่ออกมาส่งสัญญาณถึงความผันผวนตกต่ำ ของตลาดส่งออกข้าวจากปัจจัยหลายอย่าง ตั้งแต่ภัยธรรมชาติอย่างภัยแล้ง รวมทั้งวิกฤต COVID19 และสภาวะเศรษฐกิจการค้าข้าวโลก ที่มีการแข่งขันในเรื่องคุณภาพ ราคาและปริมาณ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค จนทำให้ยอดการส่งออกข้าวไทยลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

ในภาวะปกติ… แต่เดิมประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวได้ ประมาณ 9–9.5 ล้านตันต่อปี… สถานการณ์ในปี พ.ศ. 2562 ไทยส่งออกข้าวรวมได้เพียง 7.58 ล้านตัน… โดยสถิติการส่งออกช่วงเดือน มกราคม–เมษายน ปี พ.ศ. 2562 ไทยส่งออกข้าวได้ 3.11 ล้านตัน… ในขณะที่ช่วงเดือน มกราคม–เมษายน ของปี พ.ศ. 2563 ไทยส่งออกข้าวได้เพียง 2.11 ล้านตัน

หายไปหนึ่งล้านตัน หรือ –32.15% ตั้งแต่หัวปีทีเดียว

ล่าสุด… คุณเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ก็ออกมามาพูดเพิ่มเติมอีกว่า… ปีนี้ข้าวอินเดียถูกลงมากจากค่าเงินรูปีของอินเดียอ่อนค่า ซึ่งสวนทางกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องจนราคาข้าวไทย แพงกว่าข้าวจากประเทศคู่แข่งส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอินเดียที่ทำยอดส่งออกแซงประเทศไทยขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยตัวเลขราว 14 ล้านตัน… ในขณะที่ข้าวไทยประเมินตัวเลขถึงสิ้นปี น่าจะส่งออกได้เพียง 6.5 ล้านตันเท่านั้น… และจะเป็นปีแรกที่ประเทศส่งออกข้าวอันดับหนึ่ง ทำยอดได้มากกว่าอันดับสองกว่าเท่าตัวแบบนี้

อย่างไรก็ตาม… งานวิจัยจากกรุงศรีรีเสิร์ชเผยแพร่ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2560 ระบุว่า… การค้าข้าวในตลาดโลกมีสัดส่วนราว 8–9 % ของผลผลิตทั้งหมด หรือเฉลี่ยประมาณ 42–43 ล้านตันข้าวสาร ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีประเทศผู้ส่งออกหลัก คือ ไทย อินเดีย และเวียดนาม

ประเทศไทยมีพื้นที่นาข้าวประมาณ 60 ล้านไร่ทั่วประเทศ มีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 30–32 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 20 ล้านตันข้าวสาร โดยการปลูกข้าวของไทยในสัดส่วนประมาณ 85% ของผลผลิตทั้งหมดพึ่งน้ำฝน  โดยมีช่วงเวลาเพาะปลูกในฤดูฝนเดือน กรกฎาคม–กันยาย ของทุกปี และเก็บเกี่ยวในช่วงปลายปี เรียกว่า “ข้าวนาปี” ซึ่งได้ผลผลิตทั้งข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ และ ข้าวเหนียว ส่วนอีก 15% เป็นข้าวที่ปลูกนอกฤดูเพาะปลูกปกติ โดยอาศัยน้ำจากระบบชลประทานเรียกว่า “ข้าวนาปรัง” มักเป็นการเพาะปลูกข้าวเจ้าในภาคเหนือและกลาง 

การบริโภคข้าวของไทยมีประมาณปีละ 10 ล้านตันข้าวสาร หรือครึ่งหนึ่งของผลผลิตข้าวสารทั้งหมด ที่ผ่านมาการบริโภคในประเทศมีอัตราการเติบโตต่ำ แต่เป็นตลาดที่ค่อนข้างแน่นอน ทำให้ผู้ส่งออกข้าวบางรายหันมาทำตลาดในประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดส่งออก 

ปัจจุบันการค้าข้าวสารบรรจุถุงผ่านช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ หรือ Modern Trade มีสัดส่วนถึง 65–70% ของข้าวสารที่จำหน่ายในประเทศ และมีผู้ประกอบการประมาณ 200 ราย… มีข้าวสารบรรจุถุงจำหน่ายในประเทศมากกว่า 250 แบรนด์

ผมเอาข้อมูลสองสามชุดมาบอกเล่าพร้อมกันเพื่อตั้งข้อสังเกตไว้ว่า… ตลาดการค้าข้าวส่งออกหลังจากนี้ไปคงต้องคิดกันใหม่หลายอย่าง ตั้งแต่การเตรียมที่นาปลูกข้าวจนถึงสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร… และตลาดข้าวในประเทศน่าจะสำคัญยิ่งขึ้นกว่าหลายปีก่อน เพราะผู้ส่งออกหลายรายหันกลับมามองตลาดในประเทศกันแล้วทั้งสิ้น… 

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Healthcare RPA Use Cases… กรณีตัวอย่างการใช้ RPA ในอุตสาหกรรมสุขภาพ

Healthcare Cloud Computing ถูกนำมาใช้แทนแฟ้มและกระดาษ ซึ่งสามารถทำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นกว่าเดิมได้ด้วย RPA หรือ Robotic Process Automation โดยมีความสามารถในการบันทึก–จัดเก็บ–ค้นคืนอย่างรวดเร็ว… Shares หรือ แบ่งปันได้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ทันที รวมทั้งการเคลื่อนย้าย–สำรอง–อัพเกรดข้อมูลทั้งหมดโดยไม่สูญหาย และ พิเศษสุดๆ ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ และ ผลิตข้อมูลทุติยภูมิในระดับสารสนเทศได้โดยอัตโนมัติ

minimalist restaurant design

หลักการตกแต่งร้านอาหารตามแนวคิด Minimalist

แนวคิดการสร้างและตกแต่งร้านอาหารแบบ Minimalist ที่เน้นเรียบง่ายแต่ดูดี… ควรตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นกับ Customer Journey ออกให้ได้มากที่สุด… แต่ให้เพิ่ม Customer Experience ให้ได้มากที่สุด

Huffington

Having A Partner Definitely Allows You To Take More Risks – Arianna Huffington

Arianna Huffington หลงใหลงานเขียนและเลือกเป็นนักเขียนคอลัมนิสต์ตั้งแต่อายุ 20 ต้นๆ ซึ่งรายได้ก็ไม่ได้มากมาย เธอจึงพยายามเขียนหนังสือเล่มไปพร้อมๆ กันด้วยหวังว่าจะเพิ่มช่องทางรายได้ระยะยาว แต่ผลตอบแทนจากงานเขียนคอลัมน์ของเธอก็ไม่ได้มากมายอะไร แม้แต่หนังสือเล่มของเธอก็ไม่สร้างรายได้อะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันอีกด้วย… แถมยังเคยถูกสำนักพิมพ์ปฏิเสธต้นฉบับของเธอมากมาย จนเธอเล่าให้ทุกคนฟังบ่อยๆ ว่า… เธอเคยรู้สึกตกต่ำสุดขีดในชีวิต กับการถูกปฏิเสธต้นฉบับซ้ำๆ ถึง 37 ครั้ง

NASA’s SpaceX Crew-6 Mission… ภารกิจริเริ่มการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อการดำรงค์ชีวิตนอกโลกของมนุษย์ชาติ

เมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2023 ตามเวลา EST สหรัฐอเมริกา หรือ UTC -5 ณ Kennedy Space Center ใน Florida… คณะทำงาน และ พันธมิตร Crew-6 Mission หรือ NASA’s SpaceX Crew-6 Mission ก็ได้มาพร้อมกันเพื่อเตรียมปล่อยยานอวกาศ SpaceX Crew Dragon ซึ่งมีกำหนดการจะนับถอยหลังจุดจรวดที่ติดตั้งอยู่ที่ Launch Complex 39A ในเวลา 1.45 น. ของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2023 ตามเวลา EST สหรัฐอเมริกา โดยมีการถ่ายทอดเสียงการเตรียมความพร้อมถึงพันธมิตรที่เข้าสังเกตุการณ์ด้วย… Crew-6 Mission เป็นภารกิจส่งนักวิทยาศาสตร์ขึ้นสถานีอวกาศนานาชาติเพื่อทำการทดลองด้านจุลชีพปนเปื้อน และ จุลชีพแอบแฝงบนสถานีอวกาศ ซึ่งเมื่อมีการอยู่อาศัยจริงในอวกาศยาน และ การเดินทางข้ามดวงดาว นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องเข้าใจวิวัฒนาการของจุลชีพเหล่านี้