เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดแผนการลงทุนโครงการชุมชนอยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุหรือ Retirement Community ขนาดใหญ่ น่าจะส่งผลให้มูลค่าการลงทุน ระหว่างปี 2561-2563 คิดเป็น 6,000 ล้านบาท และหนุนให้มูลค่าการลงทุนโครงการ Retirement Community สะสมในประเทศไทยสามารถแตะระดับ 27,000 ล้านบาทได้ในปี 2563 จากในปัจจุบันที่อยู่ที่ 21,000 ล้านบาท
…ประเด็นก็คือ ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร???
ในปัจจุบัน มีผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสาหรับผู้สูงอายุทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โดยโครงการที่อยู่อาศัย สำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาโดยภาครัฐ ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการสังคมสงเคราะห์ อย่างสถานสงเคราะห์ คนชรา
ในขณะที่โครงการที่อยู่อาศัยขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ที่รองรับผ้สูงอายุที่มีกำลังซื้อระดับปานกลางถึงสูงและสามารถดูแลตนเองได้ยังมีจำนวนยูนิต ซึ่งไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้สูงอายุที่ต้องการใช้บริการ เนื่องจากที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในตลาด สามารถตอบโจทย์ผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการ และมีกำลังซื้อที่แตกต่างกัน
ส่วนของที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาโดยภาคเอกชน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- โครงการที่อยู่อาศัย ท่ัวไป ที่มีฟังก์ชั่นที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย สำหรับผู้สูงอายุ
- โครงการ Retirement Community ทั้งนี้ โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุกำหนดตำแหน่งการ แข่งขันและเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ที่อยู่อาศัย สำหรับผู้สูงอายุในตลาดมีหลายเซ็กเมนต์ ตอบโจทย์ผู้อายุกลุ่มต่างๆ ที่มีความต้องการและกำลังซื้อที่แตกต่างกัน
…ประเด็นมีอยู่ว่า แนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ในขณะที่การย้ายถิ่นของคนวัยเกษียณ เพื่อดูแลตัวเองของกลุ่มผู้สูงวัยที่มีทรัพย์สินและกำลังซื้อ นั่นรวมถึงการย้ายถิ่นของผู้สูงวัยแบบข้ามชาติด้วย
ทุกคนต้องการที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตแบบที่มั่นใจได้ว่า ชิวิตบั้นปลายจะไม่ยากลำบาก
ถ้าเราลองวิเคราะห์แบบเอาเงื่อนไขการตัดสินใจของผู้สูงอายุที่มองหาที่อยู่อาศัยในบั้นปลาย… ตัวแปร 2 ตัวที่ผมมองว่าชัดเจนและมีอยู่กับทุกการตัดสินใจคือ บ้านเก่าที่ทิ้งไป กับบ้านใหม่ของบั้นปลาย
ตัวแปรในตลาดนี้ มีอสังหาริมทรัพย์อยู่ 2 ชิ้น(อย่างน้อย) ให้ต้องจัดการ!
ที่นี้ก็เหลือประเด็นเดียวให้โฟกัสแล้วหล่ะครับ… ถ้าเราอยู่อำนวยความสะดวกการจัดการอสังหาริมทรัพย์ 2 ชิ้นนั้น ผลตอบแทนทางธุรกิจจะเป็นอย่างไร?