ROWE, Hybrid Workplace และทำงานให้สำเร็จ

Hybrid Workplace

การเล่นคำในภาษาไทยอย่างคำว่า “งานเสร็จ” กับ “งานสำเร็จ” กำลังได้รับการบอกเล่าและตีความในยุคที่ รูปแบบการทำงานระดับองค์กรเปลี่ยนไปฉับพลันในช่วงรับมือโรคระบาด ที่องค์กรส่วนใหญ่ควักเงินลงทุนไปกับ “Work From Home” กันเต็มที่พร้อมๆ กับการปรับตัวแบบหักดิบหลายกรณี เพื่อพาธุรกิจและองค์กรผ่านอุปสรรคเรื่องการพบปะเดินทางที่ไม่เหมือนเดิม จนวัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนแปลงฉับพลันกันถ้วนทั่วโดยปริยาย

หลายการพูดคุยช่วงนี้ของผู้นำธุรกิจระดับเกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทางองค์กร จึงเปิดประเด็นพูดคุยแลกเปลี่ยน สาระ ทิศทางและองค์ประกอบในการปรับองค์กร เพื่ออย่างน้อยก็ไม่ขวางทิศทางและแนวโน้มที่เป็นอนาคตอย่างแท้จริงที่เชื่อมั่นได้… คำว่า Results Oriented Work Environment หรือ ROWE หรือโรวี จึงมีการพูดถึงกันมากในช่วงนี้

ประเด็นเวลาทำงานปกติแบบเดิมที่องค์กรส่วนใหญ่ ออกแบบไว้ที่ 40-48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในสถานประกอบการ สำนักงานหรือพื้นที่ประกอบการตามที่กำหนด แล้วแต่งานและบทบาท ซึ่งแต่เดิม การทำงานในสำนักงานหรือสถานประกอบการก็เพื่อ “จัดการข้อมูล” ที่ต้องใช้ทั้งการประสานงานและเครื่องไม่เครื่องมือที่สถานประกอบการณ์หรือองค์กร ลงทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ซึ่งปัจจุบัน “การไหลของข้อมูลทั้งหมดสามารถจัดการบน Digital Pipeline ได้หมด” แถมด้วยห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ยังมีการปรับไปสู่ Digital Pipeline เดียวกันบนอินเตอร์เน็ตทั้งสิ้น

หลายท่านจึงพบว่า งานและกิจกรรมหลายอย่างในบริษัทหรือองค์กรก็ “เสร็จได้ราบรื่น” ไม่ต่างจากเดินทางมาทำที่สำนักงานเหมือนแต่ก่อน… ทำให้กิจการน้อยใหญ่สมัครใจจะปรับโมเดลการทำงานให้ยืดยุ่นพอที่จะ Work From Everywhare กันอย่างคึกคัก…

การออกแบบงานอ้างอิงชั่วโมงทำงานแบบเดิม จึงต้องเปลี่ยนเพราะควบคุมเวลาทำงานของทีมแบบเดิม หรือแบบ “นัดประจำมาทำงาน” ไม่จำเป็นอีกแล้ว ทำให้กฏการมาทำงานพร้อมกันและเลิกงานพร้อมกันต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิม… 

ROWE ทำงานโดยการประเมิน “ประสิทธิภาพและผลงาน” ของพนักงานหรือทีม โดยไม่สนใจตัวแปรชั่วโมงการทำงานและให้อิสระกับคนทำงานมากกว่าเดิม 

ประเด็นสำคัญก็คือ ROWE ไม่เหมาะกับงานทุกงานหรือทุกตำแหน่งในองค์กรแน่ๆ และ ROWE ไม่เหมาะกับภาระงานที่ต้อง “สำเร็จ” ด้วยทีมที่ต้องร่วมมือใกล้ชิด… คำแนะนำเรื่อง ROWE จึงต้องปรับองค์กรให้เป็น Hybrid Workplace และกำหนดให้ “งานสำเร็จ” เป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพและผลงาน ซึ่ง “งานเสร็จ” เพราะหมดภาระหน้าที่ อาจจะไม่เหมาะกับ ROWE Cultured ที่กำลังพูดถึงกันอยู่เท่าไหร่

Results Oriented Work Environment หรือ Results Only Work Environment หรือ ROWE เป็นกรอบกลยุทธ์การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ หรือ Human Resource Management Strategy ที่พัฒนาโดย Jody Thompson และ Cali Ressler ที่พัฒนา Results Only Work Environment ใช้กับธุรกิจค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของอเมริกาอย่าง Best Buy ช่วงปี 2003 เพื่อปรับวัฒนธรรมการทำงานใน Best Buy โดยใช้ชื่อแคมเปญว่า CultureRx และต่อมา Jody Thompson ก็พัฒนาจนกลายเป็นสถาบันหลักของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในชื่อ CultureRx นั่นเอง

Jody Thompson, CEO at CultureRx

ปัจจุบัน CultureRx ได้รับการยอมรับและปรับใช้ในองค์กรธุรกิจยักษ์ใหญ่ทั่วสหรัฐและทั่วโลก… ท่านที่สนใจแนวทาง ROWE สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่ GoRowe.com ครับ

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Virtual Exhibition

Virtual Exhibition… Wazzadu.com

งานนี้จัดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ “Nature Retreat” เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจ กับ Virtual Exhibition ที่จำลองบรรยากาศหมู่เกาะในคาบสมุทรอันไกลโพ้น เพื่อเชื่อมโยงความเป็นโลกดิจิทัลกับอารมณ์สุนทรียภาพของธรรมชาติ สะท้อนถึงธรรมชาติที่มีพลังของการสร้างสรรค์และก่อกำเนิดงานออกแบบระดับโลกมากมาย

Data… เมื่อข้อมูลไม่สำคัญเท่าเข้าใจข้อมูล

หลายวันก่อนผมพูดถึง Omnichannel Marketing ไปแบบ Introduce คร่าวๆ พอเป็นเชื้อให้ท่านที่สนใจ ไปต่อยอดศึกษาค้นคว้าต่อ ซึ่งหลายท่านยอมรับว่า ถึงเวลาที่อสังหาริมทรัพย์จะต้องพึ่ง Omnichannel เหมือนธุรกิจอื่นๆ เช่นกัน… ผมได้ข้อความจากเพื่อนท่านหนึ่ง สอบถามเพิ่มเติมเข้ามาว่า… การจะเลือก Channel ที่เหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์การตลาด ควรตัดสินใจจากปัจจัยใดบ้าง

solo dinner

SOLO Dinner… มื้ออาหารอันโดดเดี่ยว

ร้านอาหารส่วนใหญ่ตั้งเก้าอี้ไว้สำหรับลูกค้าตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยเมนูอาหารโดดเด่นของร้าน ส่วนใหญ่จัดไว้สำหรับการร่วมรับประทานอาหารของคนหลายคน… และคนส่วนหนึ่งจะไม่เข้าร้านอาหารที่ต้องไปนั่งรออาหารคนเดียวในร้านที่ไม่คุ้นเคย… ในขณะที่คนอีกส่วนหนึ่งไม่ยอมเข้าร้านอาหารที่คุ้นเคย ถ้าต้องเข้าคนเดียว…

candlestick

Corrective Sharp Correction และ Corrective Sideways Correction

ในการ “ทำนายแนวโน้มราคา” ด้วย Elliott Wave หรือ การนับคลื่น Elliott โดยการตามคลื่นแนวโน้ม หรือ Motive Waves ไปจนครบ 5 คลื่น ซึ่งจะเกิดการกลับตัวของราคาเป็น Corrective Waves อีก 3 คลื่นทวนแนวโน้มในทำนอง… ขึ้นอยู่ก็เปลี่ยนเป็นลง หรือ ดิ่งลงอยู่ก็มีแรงซื้อสวนทางขึ้นมา และปัญหาก็เกิดเหมือนการวิเคราะห์นับยอดคลื่น กับ ท้องคลื่นเหมือน Motive Waves คือ ยอดไหนต้องนับ และยอดไหนต้องข้าม?