การระบาดรอบที่สามของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 Coronavirus หรือ COVID-19 ในประเทศไทยในช่วงสงกรานต์ปีนี้ หลายท่านที่ผมรู้จักและพูดคุยทักถามข่าวคราวกันอยู่ ส่วนใหญ่ออกแนววังเวงสิ้นหวัง ถึงแม้ว่าความกังวลและความกลัวการติดเชื้อและเจ็บป่วย จะไม่มากเหมือนการระบาดในสองรอบที่ผ่านมา แต่คนทำมาหากิน ค้าขายและสารพัดอาชีพที่พยายามสู้กับวิกฤตที่รบกวนการทำมาหากิน… ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิดทุกรอบที่ควบคุมไม่อยู่ จนพลังใจในการทำมาหากินตกต่ำย่ำแย่กันหมด
ธุรกิจที่ทำมาหากินกับอาหาร เครื่องดื่มและความบันเทิงรายวัน โดยเปิดร้านให้ผู้คนได้มาหลบผ่อนคลาย ด้วยกลยุทธ์การเรียกลูกค้าร้อยแปดเล่มเกวียน และ กลายเป็นจำเลยของสังคมจากต้นตอการแพร่ระบาด ซึ่งก็ได้รับผลกระทบเต็มๆ อย่างพร้อมเพรียงทั่วประเทศ… ก็น่าเห็นใจครับ แม้จะเคืองๆ กันอยู่ไม่น้อย ที่ส่วนใหญ่ก็ย่อนยานจริงจนเป็นเรื่อง… และเชื่อว่าเรื่องที่เป็นรอบนี้ ร้านอาหารเครื่องดื่มที่เน้นความบันเทิงยามค่ำคืนดึกดื่นสารพัดโมเดล น่าจะเจ็บหนักไปอีกนาน… และคงมีคนออกจากธุรกิจนี้ไปทำอย่างอื่นระหว่างนี้ไม่น้อยทีเดียว
ในขณะที่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ขายอาหารและบรรยากาศพบปะสังสรรค์ทั่วไป ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน โดยเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่มขึ้นห้างขายคนชั้นกลางขึ้นไป ที่ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องกลับมา WFH หรือ Work From Home กันอีกรอบ
ความจริง… งานวิจัยจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่เผยแพร่ไว้ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมกราคม ปี 2021 ที่ผ่านมา หลังการระบาดรอบสองผ่อนคลายขึ้น ได้วิเคราะห์ธุรกิจร้านอาหารเอาไว้อย่างน่าสนใจ… โดยงานวิจัยได้พูดถึงธุรกิจร้านอาหารปี 2021 ว่า… ยังมีความเสี่ยงสูงเหมือนปี 2020 โดยการแพร่ระบาดในรอบที่สอง ประกอบกับการแข่งขันที่รุนแรง และ กำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลต่อการฟื้นตัวของธุรกิจร้านอาหารในระดับที่ต่างกัน
โดยร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ หรือ Full Service อาจฟื้นตัวเล็กน้อยเพียง 0.7%… ในขณะที่ ร้านอาหารที่ให้บริการจำกัด หรือ Limited Service… และ ร้านอาหารข้างทาง หรือ Street Food โดยเฉพาะราคาระดับเริ่มต้น-กลาง ที่ได้รับปัจจัยหนุนจากนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐในช่วงไตรมาสแรกของปี รวมถึงการเข้ามาขยาย Segment และ ปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจของผู้ประกอบการรายกลาง-ใหญ่ คาดว่าจะมีการขยายตัวที่ 2.4% และ 2.0% ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะท้ายรายงานการวิจัยชุดนั้นระบุว่า… เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจร้านอาหารในภาวะปัจจุบัน ผู้ประกอบการต้องปรับรูปแบบธุรกิจมาเป็น “ร้านอาหารขนาดเล็ก” ซึ่งต้อง
- เคลื่อนเข้าสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็ว ได้แก่ ร้านอาหารชั่วคราว หรือ Pop up Restaurant ร้านอาหารประเภท Food Truck และ ร้านอาหารประเภทครัวกลาง หรือ Cloud Kitchen
- มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ รวมถึงความยืดหยุ่นในช่องทางการตลาด หรือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบต่างๆ ในห่วงโซ่ธุรกิจ ได้แก่ ร้านอาหารขนาดเล็กที่มีพื้นที่จำกัด เช่น Kiosk ซึ่งมีจุดเด่นที่การใช้เงินลงทุนล่วงหน้าและเงินทุนหมุนเวียนที่น้อยกว่าร้านอาหารขนาดกลาง-ใหญ่
นอกจากนั้น… ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมองว่า… หากการแพร่ระบาดของโควิดไม่ขยายตัวรุนแรงจนทำให้ต้องมีการล็อกดาวน์เป็นวงกว้างอีกครั้ง ธุรกิจร้านอาหารปี 2564 จะมีมูลค่ารวม 4.10 – 4.15 แสนล้านบาท ขยายตัวเล็กน้อยราว 1.4 – 2.6%… แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ได้เกิดการระบาดรอบสาม และ วิกฤตความเชื่อมั่นต่อวัคซีนขึ้นแล้วจนสถานการณ์น่าจะลากยาวไปถึงปลายปีค่อนข้างชัด
แต่ตัวเลข TAM หรือ Total Addressable Market ของธุรกิจอาหารที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยให้ตัวเลขปี 2020 ที่หดตัวติดลบไป -6% นั้น… แต่ก็ยังมีมูลค่ารวม 405,000 ล้านบาททีเดียว… ซึ่งการ Downsize หรือ ลดขนาดลง และ Resilience หรือ ยืดหยุ่นให้มากขึ้นเพื่อเข้าถึงกำลังซื้อที่เปลี่ยนไปแล้ว จากโควิดทุกรอบที่เกิดขึ้นแล้ว และ อาจจะมีอะไรเกิดขึ้นอีกในวันหน้า
ตามนั้นครับ!
References…