สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 3 ปี 2561 และแนวโน้มปี 2562…

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้เผยแพร่รายงานการวิเคราะห์ สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ-ปริมณฑลและตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูมิภาค ซึ่งเป็นข้อมูลของไตรมาส 3 ปี 2561 ที่ผ่านมาครับ
… และยังมีแถมการพยากรณ์แนวโน้มของปี 2562 ห้อยเอาไว้อีกด้วยครับ!!!

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 3 ปี 2561 และแนวโน้มปี 2562

ภาพรวมในไตรมาส 3 ปี 2561 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในด้านอุปสงค์และอุปทานปรับตัว เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 ในด้านอุปสงค์มีการปรับเพิ่มขึ้นของการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ ส่วนในด้านอุปทานมีการปรับเพิ่มขึ้นของโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่และที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560

สำหรับภาพรวมในปี 2561 ทั้งปี ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์คาดว่าสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทานจะปรับตัวเพิ่มข้ึนเมื่อเทียบกับปี 2560 โดยเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยรวมของประเทศ ทั้งภาคการส่งออก และการท่องเที่ยว รวมถึงการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ รถไฟฟ้าความเร็วสูง นอกจากนั้นมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 คาดว่าจะส่งผลให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย มีการเร่งตัวก่อนที่จะมีมาตรการบังคับใช้

สำหรับแนวโน้มในปี 2562 ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์คาดว่าผลจากมาตรการควบคุมสินเชื่อ และ การชะลอตัวเล็กน้อยของเศรษฐกิจจะส่งผลต่อตลาดที่อยู่อาศัย โดยคาดว่าจะมีการชะลอตัวท้ังในด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยในด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจะลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า ร้อยละ 11.6 และ 2.5 ตามลาดับ เมื่อเทียบกับปี 2561 และคาดว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะลดลงร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับปี 2561 ส่วน อุปทานโครงการเปิดตัวใหม่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับปี 2561 แต่ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน คาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับปี 2561 เนื่องจากการขยายตัวของโครงการที่เปิดตัวใหม่ในปี 2561

เอกสารข้อมูลฉบับเต็ม Download ที่นี่ครับ

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูมิภาค ไตรมาส 3 ปี 2561 และแนวโน้มปี 2562

ภาพรวมช่วงไตรมาส 3 ปี 2561 ตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูมิภาค ด้านอุปสงค์มีการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสะท้อนจากจํานวนการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเฉพาะในพื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวสําคัญ รวมถึง พื้นที่จังหวัด EEC (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ส่วนด้านอุปทานมีการปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 จากการลดลงของการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน และการขออนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย เนื่องจากผู้ประกอบการมีการชะลอการเปิดขายโครงการใหม่เพื่อระบายอุปทานเหลือขายในตลาด ในปี 2561 ตลาดที่อยู่อาศัยในภูมิภาคได้รับผลกระทบจากปัญหาหนี้ครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง รายได้ของครัวเรือนลดลง จากราคาพืชผลทางการเกษตรยังคงทรงตัวอยู่ในระดับตํ่า และสถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย สําหรับแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูมิภาคในปี 2562 คาดว่าจะลดทั้งอุปทานและอุปสงค์

เอกสารข้อมูลฉบับเต็ม Download ที่นี่ครับ

 

 

ขอบคุณ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

NuScale

Small Modular Reactor… ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระดับโรงไฟฟ้าชุมชน

SMR หรือ Small Modular Reactor จะเป็นเตาปฏิกรณ์ที่ออกแบบให้มีขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 300 MWh ลงมา โดย SMRs หนึ่งระบบจะถูกออกแบบให้อยู่ในโมดูลเดียวกัน โดยมีความกว้างที่สามารถขนส่งทางถนนได้ ไม่ต่างจากเครื่องจักร์ขนาดใหญ่เครื่องหนึ่งเท่านั้นเอง…

Dusit Central Park

Dusit Central Park… ดุสิตธานีกับโมเดลอสังหาริมทรัพย์กลางกรุง

ลีลาการนำธุรกิจที่จับเอาคุณค่าและมูลค่ามาเขย่าใส่กัน กลายเป็นโมเดลธุรกิจเกินนิยามโรงแรม หรือแม้กระทั่งธุรกิจ Hospitality และผมคิดว่าเกินนิยามการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มาไกลมากทีเดียวสำหรับดุสิตธานีในวันที่… มีห้องพักทั่วโลก… มีร้านอาหารทั่วโลก… มีธุรกิจจัดเลี้ยงทั่วโลก… มีมหาวิทยาลัยของตัวเอง… และยังลงทุนร่วมกับพันธมิตรอีกมากมาย ไม่เว้นแม้แต่ลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรส

Digital Transformation in Operations… จาก Kellogg School of Management at Northwestern University

ประเด็นพูดคุยถึงการปฎิรูปองค์กรสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลในหลายๆ ที่ประชุม โดยเฉพาะที่ประชุมที่มีคนใหญ่คนโตจากองค์กรเก่าแก่ ที่ท่านเหล่านี้มีวิสัยทัศน์ถึงการนำองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเร่งด่วน… แต่ก็กังวลเรื่องความล้มเหลว โดยหลายท่านรับรู้ และ มีประสบการณ์ข้องแวะกับความล้มเหลวในการทำ Digital Transformation มาก่อน ซึ่งโดยสถิติของการทำ Digital Transformation ล้วนล้มเหลวในอัตราที่สูงมาก… ในขณะเดียวกัน องค์กรที่เดินหน้าทำ Digital Transformation จนเห็นการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นต่างก็เคยล้มเหลว และ เคยผ่านการลองผิดลองถูกมามาก ถึงแม้หลายองค์กรจะพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียง แต่ปัจจัยความสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นอีกมากมายที่มี และ เป็นอยู่ในองค์กรเอง