ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2021 จาก SCB EIC เหลือโต 0.9%

economic outlook

22 กรกฏาคม ปี 2021… Economic Intelligence Center หรือ EIC ของธนาคารไทยพาณิชย์ได้เผยแพร่ ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2021 ลดลงจากเดิมที่เคยประเมินไว้ช่วงต้นปีว่าจะเติบโต 1.9% เหลือเพียง 0.9% จากภาวะวิกฤติโควิดในประเทศ

ซึ่งเป็นผลจากการระบาดในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายตัวในวงกว้าง มาตั้งแต่ต้นไตรมาสที่ 2 ต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสที่ 3 อย่างต่อเนื่อง… ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคค่อนข้างมาก ทั้งจากมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดขึ้น หรือ การล็อกดาวน์ โดยได้สร้างความกังวลของประชาชนในการใช้จ่ายภายใต้ความไม่แน่นอน หรือ ความกลัว หรือ Fear Factor ที่สูงขึ้น ในขณะที่เม็ดเงินช่วยเหลือจากภาครัฐยังไม่เพียงพอและทั่วถึง จึงช่วยบรรเทาผลกระทบได้เพียงบางส่วนเท่านั้น 

การวิเคราะห์จาก SCB EIC คาดว่า… การบริโภคภาคเอกชนถูกกระทบค่อนข้างรุนแรงในช่วงไตรมาสที่ 3 ก่อนฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในช่วงปลายปี โดยการระบาดในประเทศที่อยู่ในภาวะวิกฤติ สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน ผู้ป่วยอาการหนัก และ ผู้เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง… ตลอดจนการฉีดวัคซีนที่มีความล่าช้ากว่าแผน และมีประสิทธิภาพน้อยลงในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ Delta ที่มีอัตราการแพร่ระบาดสูง จึงทำให้ EIC คาดว่าจะต้องใช้เวลาถึงช่วงสิ้นเดือนพฤศจิกายนที่จำนวนผู้ติดเชื้อจะปรับลดลงต่ำกว่า 100 รายต่อวัน… โดยมีแนวโน้มสร้างความเสียหายต่อการบริโภคภาคเอกชนกว่า 7.7 แสนล้านบาท หรือ ราว 4.8% ของ GDP

ซึ่งมีสาเหตุหลักทั้งจากผลของมาตรการล็อกดาวน์ ความกังวลของประชาชนต่อการติดเชื้อ และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นมาก ตลอดจนรายได้ของผู้ประกอบการและแรงงานในหลายภาคธุรกิจที่จะปรับลดลงมาก แม้ภาคธุรกิจและผู้บริโภคบางส่วนจะหันไปใช้ธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบได้บางส่วน ทั้งนี้ผลกระทบของการระบาดที่ลากยาวจะทำให้ “แผลเป็นเศรษฐกิจ” มีโอกาสปรับลึกขึ้นอีก ทั้งในส่วนของการเปิดปิดกิจการที่แย่ลง ภาวะตลาดแรงงานที่เปราะบางมากขึ้น รวมถึงภาคครัวเรือนจะต้องแบกหนี้ครัวเรือนในระดับสูงและเผชิญกับภาวะของการมีหนี้สูงจนเป็นปัญหาต่อการใช้จ่ายในอนาคต หรือ Debt Overhang เป็นเวลานานขึ้น 

แรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2021 ยังเป็นการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง แต่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากการระบาดของ COVID-19 ที่อาจทำให้เกิด Supply Disruption ในการผลิตภาคอุตสาหกรรม

โดยภาพรวมนั้น… แม้การค้าโลกจะปรับชะลอลงบ้าง แต่การส่งออกของไทยยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีตามการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว… สอดคล้องกับดัชนี Global PMI: Export Orders และ มูลค่าการส่งออกของประเทศในภูมิภาคที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ทำให้ EIC ยังคงคาดการณ์ส่งออกไทยจะเติบโตขึ้นที่ 15.0% ในปีนี้… แต่ต้องจับตาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะปัญหา Supply Disruption ที่เกิดจากการปิดโรงงานจากการระบาดทั้งในไทยและประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเดียวกับไทย ผลกระทบด้านอุปสงค์จากการระบาดในเศรษฐกิจประเทศอาเซียนที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย ตลอดจนการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ทำให้ค่าระวางเรือยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง และ การขาดแคลนชิปที่อาจกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์

การเปิดประเทศให้กับนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะยังไม่สามารถช่วยฟื้นธุรกิจท่องเที่ยวได้มากนักในปีนี้… ภายใต้ภาวะการระบาดที่รุนแรงขึ้น โดยการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวในโครงการนำร่องอย่าง Phuket Sandbox และ Samui plus จะมีข้อดีด้านการวางรากฐานโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในระยะต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ… ทั้งในเรื่องของกระบวนการตรวจคัดกรองนักท่องเที่ยว การจัดทำ Vaccine Passport และ การสร้างความพร้อมของภาคธุรกิจในการฟื้นฟูเปิดกิจการรองรับนักท่องเที่ยว 

อย่างไรก็ดี การเปิดรับนักท่องเที่ยวอาจจะยังไม่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาได้มากนักในปี 2021 นี้ เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ที่เป็นแหล่งนักท่องเที่ยวต่างชาติหลักของไทย ยังมีนโยบายการเปิดเดินทางเข้าออกประเทศที่ค่อนข้างระมัดระวังจากความกังวลของการระบาดสายพันธุ์ใหม่ ประกอบกับสถานการณ์ระบาดในไทยที่ปรับแย่ลง ก็มีส่วนทำให้นักท่องเที่ยวกังวลที่จะเดินทางเข้าไทย จึงทำให้ EIC จึงปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้เหลือเพียง 300,000 คน  จากเดิมที่เคยคาดไว้ 400,000 คน

ส่วนมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ ยังจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการประคับประคองเศรษฐกิจและลดแผลเป็นทางเศรษฐกิจ… อย่างไรก็ดี มาตรการภาครัฐที่ออกมาจนถึงปัจจุบันยังไม่เพียงพอทั้งในเชิงพื้นที่ ระยะเวลา และ ปริมาณเงินรวม กล่าวคือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกระจายไปยังทุกจังหวัดทั่วประเทศ สะท้อนจาก Facebook Movement Range ที่บ่งชี้ว่า การเดินทางและกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับลงทุกจังหวัด แม้ไม่โดนล็อกดาวน์ เนื่องจากประชาชนมีความกังวลกับการติดเชื้อจึงลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจลง ขณะที่ระยะเวลาที่ได้รับผลกระทบก็มีแนวโน้มยาวนานอย่างน้อยในช่วงไตรมาสที่ 3 

ดังนั้น… มาตรการชดเชยรายได้แรงงาน และ ผู้ประกอบการล่าสุดที่ครอบคลุมแค่จังหวัดที่โดนล็อกดาวน์ จึงไม่น่าเพียงพอที่จะชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจในภาพรวมได้ โดย EIC คาดว่า ในกรณีภาครัฐจะออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากปัจจุบันอย่างน้อยอีกราว 1.5 แสนล้านบาท รวมเป็นใช้เม็ดเงินจาก พรก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ราว 2 แสนล้านบาทในปีนี้ และภาครัฐอาจพิจารณาการใช้จ่ายเพิ่มเติมหากการระบาดยืดเยื้อกว่าที่คาด ทั้งนี้มาตรการที่ภาครัฐควรเร่งรัด ได้แก่

  1. มาตรการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการเร่งจัดหาและฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วและทั่วถึง การเพิ่มการเข้าถึงการตรวจหาเชื้อเพื่อแยกผู้ป่วยออกจากคนปกติ ตลอดจนการจัดหายา อุปกรณ์การแพทย์  สถานพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น ในประเด็นการกระจายวัคซีน นอกเหนือจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มเปราะบางต่างๆ แล้ว ภาครัฐควรจัดสรรวัคซีนให้กับกลุ่มแรงงานในคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรมให้เพียงพอด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการระบาดที่จะกลายเป็น Supply Disruption กระทบต่อห่วงโซ่การผลิตสำคัญทั้งการส่งออกและการอุปโภคในประเทศด้วย  
  2. มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ นอกจากเม็ดเงินเยียวยาที่ตรงจุด เพียงพอ และขยายเวลาออกไปอย่างน้อยในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งการระบาดน่าจะยังอยู่ในระดับสูง เพื่อช่วยประคับประคองการใช้จ่ายของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุนสภาพคล่องและการจ้างงานของภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการว่างงานและการทำงานที่ต่ำกว่าศักยภาพในภาคนอกระบบที่อาจเพิ่มขึ้นในวงกว้าง ควบคู่กับการปรับทักษะแรงงาน หรือ Up Skills/Re Skills และการส่งเสริม SMEs ให้สามารถปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั้งด้านการผลิตและช่องทางการขาย หรือใช้ Online Platform ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการแข่งขันของแรงงานและธุรกิจในโลก New Normal อีกด้วย

ข้อมูลฉบับเต็ม Download ที่นี่ครับ

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

มอเตอร์เวย์ชลบุรี-หนองคาย ตอน 1/2 ท่าเรือแหลมฉบัง – ปราจีนบุรี

มหากาพย์มอเตอร์เวย์สายชลบุรีหนองคาย มีข่าวมานานหลายปีตั้งแต่จีนเริ่มเข้ามามีบทบาทร่วมในแผนพัฒนาของไทยและอาเซียน จนถึงวันนี้ เมื่อมีการพูดคุยเรื่องมอเตอร์เวย์ เส้นทางมอเตอร์เวย์สายชลบุรี-หนองคาย คือโจ๊กที่ใครๆ ก็ส่ายหัวบ้าง หัวเราะบ้าง และส่วนใหญ่มองว่า การทำถนนจากหนองคายทะลุทะเลอ่าวไทย… ยังไงๆ คนได้ประโยชน์ก็คือจีนว่างั้น!!!

Hema Farm to Store

Hema และ O2O Supermarket

Hema เป็นธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ตในเครือ Alibaba ที่ก่อตั้งด้วยแนวคิด “O2O​​ หรือ Online-to-Offline” โดยผสมผสานการชอปปิ้งออนไลน์ และ การเดินซูเปอร์มาร์เก็ต หรือ การเลือกซื้อของออฟไลน์เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าที่แตกต่างให้แก่ลูกค้า

Predictive Analytics Model… แบบจำลองการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์…

นับตั้งแต่กระแสการปฏิรูปดิจิทัล หรือ Digital Transformation ถูกยอมรับว่าเป็นรากฐานการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4… ทุกอย่างที่เป็นดิจิทัลอันหมายถึง “ข้อมูล หรือ Data” ทุกรูปแบบที่มีการผลิต และ แลกเปลี่ยนในระบบสังคม และ เศรษฐกิจ… ซึ่งได้นำโลกธุรกิจเข้าสู่การใช้ข้อมูลขับเคลื่อนการทำงาน และ กลายเป็นวัฒนธรรมการทำงานยุคดิจิทัล ที่ได้เห็นบรรยากาศการทำงาน และ การประสานงานผ่านแชท ไปจนถึงการใช้ข้อมูลวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ หรือ Predictive Analytics ในการตัดสินใจทางธุรกิจที่ต้องแข่งกันเข้าถึงข้อมูลที่สามารถชี้นำเกี่ยวกับอนาคต หรือ เหตุการณ์ที่ยังไม่รู้จักให้ได้มากที่สุด… เพราะนั่นคือโอกาสสุดพิเศษไม่ต่างจากการรู้ว่าล๊อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งจะออกเลขอะไรทีเดียว

Bioeconomy…

ผมรวบรวมเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับ Bioeconomy และติดตามความเคลื่อนไหวของระบบนิเวศน์เศรษฐกิจไบโอ จนมาถึงวันที่… ประเทศไทยประกาศการเป็นผู้นำในอาเซียนด้านเศรษฐกิจไบโอ ด้วยการแจ้งเกิดเขตอุตสาหกรรมไบโอทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยถึง 7 เขต… ส่งท้ายรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา