Real Estate Trends 2020

Real Estate Trends 2020

แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในบทความนี้… ผมเขียนขึ้นจากแรงบันดาลใจและข้อมูลที่ผมรวบรวมและสังเคราะห์จากหลายแหล่ง… และเป็นแนวโน้มที่ผมเขียนขึ้นเองจากข้อมูลที่ผมมีและขอรับผิดทุกกรณี หากบทความตอนนี้เลอะเทอะด้านข้อมูลข่าวสารจนรบกวนเวลาทุกท่านในการอ่าน

แนวโน้มดอกเบี้ยยังทรงตัวและอาจมีลดต่ำลงได้อีก

แนวโน้มดอกเบี้ยในระยะสองไตรมาสแรกของปี 2563 น่าจะทรงตัวแม้ว่าปัจจัยลบมากมายทั้งปัจจัยภายในอย่างตัวเลขหนี้ครัวเรือน หรือปัจจัยภายนอกอย่างสงครามการค้าที่ยังมืดมนตราบเท่าที่ ไม่มีใครอ่านออกว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอย่างโดนัลด์ ทรัมป์ จะเอายังไงกับคู่ค้าทั่วโลก โดยเฉพาะจีน… ซึ่งปี 2020 เป็นปีที่ต้องเตรียมเลือกตั้งอีกรอบ และหลายฝ่ายเชื่อว่า โดนัลด์ ทรัมป์ คงยังไม่เปลี่ยนท่าทีการบริหารจากเดิม… แถมโอกาสชนะกลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยก็มีสูงเสียด้วย

ประเด็น Brexit ก็เป็นอีกเรื่องที่น่าจะกดดันเงินทุน ไหลมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมกับทุนจีนที่ต่อท่อตามเส้นทางสายไหมใหม่ หรือ one belt on road ก็คงวนๆ อยู่แถวบ้านเราจนเงินท่วมระบบเหมือนช่วงที่ผ่านมา… นั่นหมายความว่า ปีหน้าดอกเบี้ยคงไม่สูงกว่านี้และอาจมีต่ำลงได้อีก

ราคาที่อยู่อาศัยยังคงเพิ่มขึ้น

แนวโน้มราคาที่อยู่อาศัยยังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยทำเลดีอย่างพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าสีต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร… หรือแม้แต่ทำเลศูนย์กลางธุรกิจหรือ CBD รวมทั้ง CBD ตามหัวเมืองใหญ่หลายๆ จังหวัด โดยเฉพาะ EEC ที่ผ่อนปรนสัดส่วนการถือครองของต่างชาติ

แต่ผู้เขี่ยวชาญและนักวิจัยจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะเชื่อว่า… บ้านมือสองมีแนวโน้มราคาลดลงได้ถึง 20 % โดยเฉพาะทรัพย์จากสถาบันการเงินที่ต้องการระบาย NPA ออกเพื่อถือเงินสดในปีหน้าแทนการรับภาระอัตราภาษีที่ดินใหม่

สต๊อกที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จ… แน่นระบบ

ตัวเลขสุดท้ายของปี 2019 ของบ้านและคอนโดมีเนียมสร้างเสร็จรอขายที่หลายฝ่ายคาดการณ์ น่าจะทะลุห้าหมื่นหน่วยไปไกลทีเดียว ซึ่งปี 2020 คงเหนื่อยกันตั้งแต่ต้นปีที่ผู้ประกอบการด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายเล็กรายใหญ่ต้องเร่งระบาย เพราะเค้าลางเรื่องเศรษฐกิจทรุดกว่าเดิมในปีหน้า ยังมีสัญญาณชัดเจนไม่เปลี่ยน… ซึ่งเป็นทางข้างหน้าอันตรายที่ต้องระมัดระวังกันจริงจังหล่ะครับ ถึงจะผ่านไปได้… ส่วนใครจะมีทางออกยังไง ก็สุดแท้แต่ฝีมือและกลยุทธ์ครับ

ชานเมืองและเมืองบริวารจะดึงกำลังซื้อกลุ่มมิลเลนเนียน

คน GenZ หรือ Gen Millennials กำลังเติบโตพร้อมรายได้หลายทางและอำนาจซื้อที่ตำราการตลาดเล่มเก่าแทบจะใช้ไม่ได้… คนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการบริโภคแตกต่างจากคนเจนเนอเรชันก่อนหน้าแทบทุกประเด็น… ถ้าโฟกัสประเด็นอสังหาริมทรัพย์ประเด็นเดียว คน GenZ กว่าครึ่งไม่ได้สนใจเรื่องการซื้อบ้านหรือเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในเมืองเพื่อการอยู่อาศัยแล้ว… คนกลุ่มนี้ยินดีเช่าอยู่ หรือถือครองอสังหาริมทรัพย์แบบ Leasehold หากพิจารณาแล้วคุ้มค่าการลงทุน ในขณะที่ การขยับขยายที่อยู่อาศัยออกมาอยู่ชานเมืองใกล้รถไฟฟ้าที่เข้าเมืองได้ง่าย เป็นเป้าหมายส่วนใหญ่ที่คน GenZ มองหา… หลายวันก่อนผมเขียนถึง Hipsturbia เอาไว้แล้ว… นั่นแหละครับแนวโน้มในประเด็นนี้

Digitized!

อะไรๆ ก็ Digital ทั้งหมดแล้วครับ… โดยเฉพาะการสื่อสารการตลาดและการออกแบบไลฟ์สไตล์… ซึ่งคนอสังหาจะต้องเข้าใจ รวมทั้งตีโจทย์ผู้บริโภคและลูกค้าออก ก่อนที่พวกเขาจะคิดได้… ถ้าท่านเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างสร้างขึ้นบนที่ดินซักแปลง โดยใครซักคน… และใครซักคนที่ว่าเป็นท่าน ไม่ว่าท่านจะเป็นแลนด์ลอร์ดหรือเอเจนซี่… หรือจะแค่นายหน้าฟรีแลนซ์

หันรอบตัวครับ… อันไหนดิจิตอลได้สุดแค่ไหน… ใส่เต็มได้เลยครับ… อันไหนเห็นแล้วยังไม่รู้ก็แค่เรียน… ลองเรียนแล้วยังไม่รู้ก็หาเพื่อน หาพันธมิตร… เปลี่ยนครับ ทุกท่านอย่ารอจนถึงวันที่ต้องพูดว่า… 

เสียดาย…… รู้งี้ทำงั้นไปตั้งแต่โน้นแล้ว!!!

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

GMS Economic Corridors

Greater Mekong Sub-region หรือ GMS หรือกลุ่มประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งประกอบด้วยไทย จีน (มณฑล ยูนนาน) เวียดนาม กัมพูชา ลาว และเมียนมา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงถูกยกให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ด้านการค้า การลงทุน และการพัฒนาภูมิภาค

Quad Summit

Quad Summit… ดุลย์อำนาจใหม่ในพื้นที่อินโดแปซิฟิก

การประชุม Quad Summit โดยมีประเด็นความวิตกกังวลต่อบทบาทของจีนในเวทีโลกที่ถูกมองว่า “แข็งกร้าวและท้าทาย” ขึ้นมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา… และ ประธานาธิบดี Joe Biden แห่งสหรัฐอเมริกา ก็ออกแรงด้วยตัวเองอย่างเร่งด่วนมาตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยมีผู้นำจากชาติพันธมิตรใน Quad อย่าง Narendra Modi นายกรัฐมนตรีอินเดีย… Yoshihide Suga นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น… และ Scott Morrison นายกรัฐมนตรีจากออสเตรเลีย… เห็นพ้องในยุทธศาสตร์ “ต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อกีดกันจีน”

SPAC

SPAC… แนวทางการระดมทุนระดับมหาชนอีกหนึ่งแนวทาง

ในตลาดหุ้นนิวยอร์คมีการระดมทุนแบบ SPAC หรือ Special Purpose Acquisition Companies หรือ กิจการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการควบรวมกิจการหรือลงทุนบางส่วนตามวัตถุประสงค์… แต่ถ้าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ หรือ หาที่เอาเงินไปลงทุนไม่ได้ตามหนังสือชี้ชวน เงินทุนทั้งหมดที่ระดมมาได้ต้องจ่ายคืนนักลงทุนเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ย

Angel Investor

Angel Investor… นักลงทุนฟ้าประทาน

วิถีของ Startup จึงต้องพึ่งพานายทุน หรือ นักลงทุนที่พร้อมจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วน มากกว่านายทุนแบบเจ้าหนี้เหมือน SME เพราะสิ่งที่ Startup มี มักจะไม่เข้าเกณฑ์การค้ำประกันหนี้แบบที่นายธนาคารยอมรับ… และ นั่นทำให้นายทุนที่ยื่นมือถือเงินพร้อมความเชี่ยวชาญมาโอบอุ้ม Startup จึงเป็นดั่งนางฟ้ามาโปรด จนเรียกกันว่า… Angel Investor