ระยองเป็นส่วนหนึ่งของ EEC ที่ถือว่าอยู่ใกล้ศูนย์กลาง EEC ไม่ต่างจากชลบุรี เพราะพื้นที่พัฒนารอบสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา มีพื้นที่ของระยองติดอยู่ในแผนเยอะทีเดียว
ความเคลื่อนไหวเรื่องการคมนาคมขนส่งภายในจังหวัด จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่หลายฝ่ายจะต้องช่วยกันเพื่อผลักดันระยอง ให้กลายเป็นเมืองแห่งโอกาสที่น่าอยู่อาศัย
โครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยองจึงเกิดขึ้น และเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคักตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วต่อเนื่อง จนได้ข้อสรุปเป็นข่าวแถลงว่าด้วยการ “แผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ในเขตเทศบาลนครระยอง และ โครงการ light rail transit หรือ LRT ขึ้น
โครงการระยะที่ 1
- LRT สายสีม่วง สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง -สถานีตะพง ระยะทาง20 กม. 7 สถานี วงเงิน 12,854,980,000 บาท
- Smart bus 3 เส้นทาง ได้แก่
- Smart bus สายสีแดง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1-ห้างสรรพสินค้า Passion ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1
- Smart bus สายสีฟ้า สถานีห้างสรรพสินค้า Passion-สถานีอู่ตะเภา
- Smart bus สายสีเทา สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2-แยกทับมา-สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่
โครงการระยะที่ 2
- LRT สายสีม่วง (ระยะที่ 2) สถานี รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์-สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ระยะทาง 23.99 กม. 5 สถานี วงเงิน 12,458,741,880 บาท
- Smart bus 2 เส้นทาง ได้แก่
- สายสีเขียวเข้ม สถานีขนส่งแห่งที่ 1-สถานีบ้านค่าย
- สายสีน้ำตาล สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง-สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2
นอกจากนี้… เทศบาลจังหวัดระยองยังขีดเส้นทาง LRT ไว้อีก 2 เส้นทางคือ
- LRT สายสีแดง ระยะทาง 23 กม. มี 18 สถานี วงเงินลงทุน 14,476.43 ล้านบาท เริ่มจากถนนสุขุมวิทบริเวณห้วยโป่ง ถึงบริษัท IRPC ซึ่งเทศบาลจังหวัดระยองจะเริ่มเดินรถตามเส้นทานี้โดยใช้ Shuttle Bus นำร่องไปก่อน
- LRT สายสีเหลือง ระยะทาง 13 กิโลเมตร 14 สถานี จากถนนตากสินถึงแยกขนส่ง ซึ่งตอนนี้ยังเป็นเพียงแผนแม่บท แต่ทางเทศบาลจะใช้ Shuttle Bus วิ่งนำร่องเช่นกัน

ข้อมูลประมาณนี้ครับ! ไว้ผมจะหาผังเมืองระยองปี 2561 มาทำข้อมูลแบ่งปันอีกทีครับ…