Rare Earth หรือ Rare Earth Elements หรือ REEs หรือ แร่ธาตุหายาก หรือ แร่ที่มีส่วนประกอบของธาตุหายาก ซึ่งมีอยู่ 17 ชนิดที่ถูกค้นพบแล้วบนโลกประกอบไปด้วย
- Scandium ตัวย่อ Sc เลขอะตอม 21
- Yttrium ตัวย่อ Y เลขอะตอม 39
- Lanthanum ตัวย่อ เลขอะตอม La 57
- Cerium ตัวย่อ Ce เลขอะตอม 58
- Praseodymium ตัวย่อ Pr เลขอะตอม 59
- Neodymium ตัวย่อ Nd เลขอะตอม 60
- Promethium ตัวย่อ Pm เลขอะตอม 61
- Samarium ตัวย่อ Sm เลขอะตอม 62
- Europium ตัวย่อ Eu เลขอะตอม 63
- Gadolinium ตัวย่อ Gd เลขอะตอม 64
- Terbium ตัวย่อ Tb เลขอะตอม 65
- Dysprosium ตัวย่อ Dy เลขอะตอม 66
- Holmium ตัวย่อ Ho เลขอะตอม 67
- Erbium ตัวย่อ Er เลขอะตอม 68
- Thulium ตัวย่อ Tm เลขอะตอม 69
- Ytterbium ตัวย่อ Yb เลขอะตอม 70
- Lutetium ตัวย่อ Lu เลขอะตอม 71

ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อนในเรื่อง Rare Earth หรือ แร่ธาตุหายากก็คือ… แร่ธาตุหายากทั้ง 17 ชนิดไม่ได้หาพบยาก หรือ มีน้อยบนโลกของเรา เพียงแต่เป็นแร่ธาตุที่ไม่สามารถหาพบในปริมาณมากตามแหล่งแร่แบบ “สายแร่” เหมือนแร่ธาตุชนิดอื่น ทำให้การรวบรวมปริมาณแร่ดิบทำได้ยาก และ มีต้นทุนทางธุรกิจสูง และ แร่ธาตุหายากทั้ง 17 ชนิดยังถลุง และ สกัดได้ยาก มีขั้นตอนซับซ้อน และ กระบวนการสกัดแร่ธาตุหายากยังเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก
Rare Earth หรือ แร่ธาตุหายาก ทั้งหมดจะเป็นแร่ธาตุที่มี Specific Gravity หรือ ความถ่วงจำเพาะมากกว่า 2.85 หรือ มีความหนาแน่นมากกว่า 2.85 เท่าของความหนาแน่นของน้ำ… แร่ธาตุเหล่านี้จึงมีความคงทนสูง ทนความร้อนสูง มีคุณสมบัติแม่เหล็กแรงสูง เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ดี เพราะมีคุณสมบัติทางกายภาพ และ ทางเคมีที่ดีกว่าแร่ชนิดอื่น… โดย Rare Earth หรือ แร่ธาตุหายาก ทั้งหมดมักจะถูกใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ เพื่อผลิตเป็นชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้าน Hardware ของเทคโนโลยีทุกอย่างบนโลกที่มนุษย์ใช้พัฒนาศักยภาพ และ ความเป็นอยู่จนกลายเป็นเผ่าพันธุ์ผู้ครอบครองดาวโลก และ อีกหลายๆ ดวงดาวในอนาคตอันไม่ไกลจากนี้
ประเทศจีนได้ชื่อว่าเป็นแหล่งแร่ธาตุหายาก หรือ Rare Earth ของโลกที่ถูกใช้เพื่อผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์กว่าครึ่งที่ผลิตขึ้นใช้บนโลกเรามานาน… แต่ไม่ได้หมายความว่า Rare Earth หรือ แร่ธาตุหายาก ขุดพบได้แต่ในเขตแผ่นดินจีนเท่านั้น เพราะเหตุผลที่จีนกลายเป็นแหล่งแร่ธาตุหายากของโลกมาแต่ไหนแต่ไรเป็นเพราะจีนสามารถทำเหมือง และ ถลุงแร่เหล่านี้ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำจนชาติอื่นๆ ไม่สามารถแข่งขันได้ และ ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เหมืองแร่หายากในจีนจะดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจของประเทศจีน ทำให้การจัดการด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมรอบเหมืองแร่ถูกเอื้ออำนวยโดยรัฐบาลแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งทำให้กิจการเหมืองแร่สามารถทำการได้โดยไม่ถูกประท้วง ฟ้องร้อง และ ดำเนินการทางละเมิดต่อสิ่งแวดล้อมใดๆ กับกิจการเหมืองแร่ และ รัฐบาลจีนเองก็เปิดเหมืองแร่หายากในพื้นที่จำเพาะที่ไม่กระทบประชาชนได้อย่างดีจากพื้นที่กว้างใหญ่ของแผ่นดินจีน… รวมทั้งการเข้าทำเหมืองแร่หายากในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาด้วย
ข้อมูจาก Report Linker ระบุว่า… ภาพรวมเชิงปริมาณความต้องการใช้แร่ธาตุหายากทั่วโลกจะสูงขึ้นแตะ 12.6 ล้านตันภายในปี 2030… ซึ่งเติบโตที่ CAGR 11.9% ในช่วงการวิเคราะห์ระหว่างปี 2022-2030 โดยแร่ Neodymium จะมีความต้องการสูงสุดที่ CAGR 12% โดยจะสูงถึง 3.7 ล้านตันในปี 2030… นอกจากนั้นยังพบความต้องการที่เพิ่มขึ้นมากของแร่กลุ่ม Cerium หลังการระบาดใหญ่สิ้นสุดลง โดยคาดว่าจะเติบโตที่ CAGR 11.3% อย่างโดดเด่น
ส่วรายชื่อกิจการที่เป็นเจ้าตลาดแร่ธาตุหายากสำหรับท่านที่สนใจหุ้นต่างประเทศ และ กองทุนต่างประเทศกลุ่มกิจการเหมืองแร่หายาก… ประกอบด้วย
- Alkane Resources Ltd
- Arafura Resources Ltd
- Arnold Magnetic Technologies
- Avalon Advanced Materials Inc.
- China Northern Rare Earth (Group) High-Tech Co., Ltd.
- Greenland Minerals Ltd
- Hitachi Metals Ltd.
- Iluka Resources Limited
- Indian Rare Earth Limited
- Lynas Corporation Ltd
- Namibia Critical Metals Inc.
- Northern Minerals Ltd
- Rare Element Resources Ltd.
- Shin-Etsu Chemical Co., Ltd.
- Ucore Rare Metals Inc.
References…