Quad Summit… ดุลย์อำนาจใหม่ในพื้นที่อินโดแปซิฟิก

Quad Summit

หลังการขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใหม่ของ Joe Biden… ดูเหมือนความเคลื่อนไหวเชิงยุทธศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา ที่เคยเละตุ้มเป๊ะตลอด 4 ปีที่ผ่านมา น่าจับตาความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะกระทบโอกาสและอุปสรรค จากระดับกลไกการเมืองระหว่งประเทศซึ่งมีผลกระทบผ่านภาพรวมระดับมหภาคค่อนข้างชัด…

12 มีนาคม ปี 2021… สำนักข่าวหลักๆ ทั่วโลกพร้อมใจกันเผยแพร่ภาพข่าวและข้อมูลการประชุมทางไกลของผู้นำสูงสุด 4 ชาติได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า Quad Summit หรือ Quadrilateral Security Dialogue หรือ การสนทนาด้านความมั่นคง 4 ฝ่าย ภายใต้ความตกลงแบบพหุภาคีของ 4 ชาติที่เรียกชื่อกลุ่มในภาระกิจนี้ว่า “QUAD”

ประเด็นก็คือว่า… ความเคลื่อนไหวในการก่อตั้ง Quad มีกลิ่นของความขัดแย้งระดับ “ขั้วมหาอำนาจ” เหมือนเมื่อครั้งมีการก่อตั้งกลุ่ม NATO ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อสกัดกั้นอิทธิพลจากสหภาพโซเวียตเป็นหลัก… ซึ่งการก่อตั้ง Quad ในครั้งนี้ก็เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลจากจีนที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคอินโดจีน จนคุกคามผลประโยชน์ประเทศอื่นๆ จนถูกหมายหัว

รายงานข่าวแจ้งว่า… การประชุม Quad Summit โดยมีประเด็นความวิตกกังวลต่อบทบาทของจีนในเวทีโลกที่ถูกมองว่า “แข็งกร้าวและท้าทาย” ขึ้นมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา… และ ประธานาธิบดี Joe Biden แห่งสหรัฐอเมริกา ก็ออกแรงด้วยตัวเองอย่างเร่งด่วนมาตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยมีผู้นำจากชาติพันธมิตรใน Quad อย่าง Narendra Modi นายกรัฐมนตรีอินเดีย… Yoshihide Suga นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น… และ Scott Morrison นายกรัฐมนตรีจากออสเตรเลีย… เห็นพ้องในยุทธศาสตร์ “ต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อกีดกันจีน”

วาระเร่งด่วนที่สุดในครั้งนี้… มหาอำนาจกลุ่ม Quad ได้เห็นพ้องในแผนการริเริ่มใหม่หลายประเด็น โดยเฉพาะแผนการ “หุ้นส่วนวัคซีนกลุ่มคว็อด หรือ Quad Vaccine Partnership” ซึ่งชัดเจนว่า เป็นความพยายามประสานความร่วมมือเพื่อต่อต้านกีดกันทางนโยบายต่อ “การทูตวัคซีน หรือ Vaccine Diplomacy” ของจีน… โดยมีความตกลงระดับแผนปฏิบัติในการขยายความช่วยเหลือทางสาธารณสุขและการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด จำนวน 1,000 ล้านโดสให้แก่ชาติต่างๆ ในเอเชีย

ความเคลื่อนไหวนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่น่าจับตาอย่างมาก… โดยมีบทวิเคราะห์หลากหลายจากผู้เชี่ยวชาญกิจการระหว่างประเทศทั่วโลก เผยแพร่ออกมาหลังจากการประชุมสิ้นสุดลงในไม่กี่ชั่วโมง… โดยเฉพาะการวิเคราะห์ท่าทีและความพยายามอธิบายบริบทของ Quad แบบแบ่งรับแบ่งสู้จากที่ปรึกษาความมั่นคงของทำเนียบขาวอย่าง Jake Sullivan เมื่อถูกนักข่าวสัมภาษณ์… ซึ่งตอนหนึ่งของคำอธิบายจาก Jake Sullivan ได้ยอมรับว่า… ผู้นำทั้ง 4 ได้มีการหารือเกี่ยวกับความท้าทายซึ่งเกิดขึ้นจากจีนกันจริงๆ และยังยืนยันเพิ่มเติมว่า… นี่ไม่ใช่การจัดตั้งพันธมิตรทางทหาร หรือ Military Alliance อย่างแน่นอน ซึ่งยืนยันจากแผนการช่วยเหลือวัคซีนเร่งด่วน และการหารือทางเศรษฐกิจหลายประเด็นย่อย โดยไม่มีข้อเสนอทางทหารใดๆ 

รายละเอียดความเคลื่อนไหวนี้มีเยอะมากครับ แต่ผมขอตัดจบที่จะรีวิวสถานการณ์นี้เท่านี้ก่อน… โดยส่วนตัวสนใจและติดตามกลไกการสร้างดุลย์อำนาจโลกของสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังคงมุ่งมั่นที่จะเข้าไปมีส่วนกับผลประโยชน์กับทุกภูมิภาคทั่วโลกไม่เคยเปลี่ยนแปลง… โดยเฉพาะการหนุนหลังอินเดียในอุตสาหกรรมไฮเทคมากมายมาตั้งแต่ปลายยุค 90 จนเราได้เห็นหัวกระทิจากอินเดียไปเป็นนักบริหารมากมายในสหรัฐในเวลาต่อมา

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… โดยความเห็นส่วนตัวมองว่า ประเทศไทยและคนไทยคงได้ประโยชน์น้อยมากจากยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีนในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งคงหนีไม่พ้น “เกมส์บีบให้ได้อย่างใจ” ของทั้งสองขั้วอำนาจค่อนข้างแน่… ซึ่งโอกาสในความเคลื่อนไหวผ่านเวที Quad ครั้งนี้จึงมีไม่มากจากออสเตรเลียหรือสหรัฐอเมริกา… แต่กับญี่ปุ่นและอินเดียผมมองว่า ยังมีช่องว่างให้เรา “แทรกฉวย” แบบงับประตูบานโน้นมาแง้มบานนี้ได้อยู่

อย่างน้อยก็เพื่อระบายแรงบีบจากทั้งสองขั้วที่เดาไม่ได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับไทยและเพื่อนบ้านชายแดนติดกันบ้าง… ยิ่งสถานการณ์ในพม่าล่อแหลมต่อการแทรกแทรงของนานาชาติเข้าไปเรื่อยๆ แล้วหล่ะก็… เหตุการณ์แบบสงครามเวียดนามแต่ไทยเละเหมือนในอดีตก็ยังเป็นไปได้อยู่ไม่น้อย

หรือผมคิดมากอยู่คนเดียวก็ไม่รู้!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

First Hyperloop Passengers Josh, Sara

Virgin Hyperloop กับการทดสอบวิ่งพร้อมผู้โดยสาร

Josh Giegel, CTO ของ Virgin Hyperloop และ Sara Luchian, Director of Passenger Experience หรือ ผู้อำนวยการฝ่ายประสบการณ์ลูกค้าของ Virgin Hyperloop คือผู้โดยสารคู่แรกที่ได้นั่งโดยสารในการทดสอบครั้งนี้ และถือเป็นชายหญิงคู่แรกของโลกที่ได้นั่งโดยสารใน Hyperloop Pod

ถนนวงแหวนตะวันตก…

ผมมีโอกาสได้ใช้ถนนวงแหวนตะวันตกหลายรอบ ในช่วงห้าหกสัปดาห์ที่ผ่านมา… ต้องยอมรับว่า ตอนอยู่บนถนนไม่ได้รู้สึกว่าเป็นถนนวงแหวนที่ใช้เป็นทางเลี่ยงเมืองที่มีกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางเลยซักนิด… รถหนาแน่นและติดขัดเป็นช่วงๆ

ปิดหาดบางเทา

ภูเก็ตโมเดล… การทดลองเพื่อหาแนวทางฟื้นการท่องเที่ยว

การเดินหน้าหาทางฟื้นธุรกิจท่องเที่ยวในยามนี้เป็นเรื่องท้าทาย และไม่ว่าอย่างไรก็ต้องทดลองทำอะไรบางอย่าง เพิ่มตัวเลือกและทางออกให้วิกฤต ซึ่งต้องมีทั้งคนได้และคนเสียอย่างแน่นอน… การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงโดยรักษาสมดุลย์ตัวแปรต่างๆ ในยามนี้… แหลมคมอย่างยิ่ง

รายงานการท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น 278% ในปี 2022

รายงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของไทยส่งท้ายปี 2022 จากหลายแหล่งที่มาล้วนเป็นบวก และ เป็นความหวังในการฟื้นเศรษฐกิจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยเที่ยวไทย ที่กลับมาคึกคักอีกครั้งช่วงท้ายปี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดปีนี้ จะมีคนไทยเที่ยวในประเทศ 150.8 ล้านคน–ครั้ง ขณะที่รายได้ท่องเที่ยวน่าจะอยู่ที่ประมาณ 6.3 แสนล้านบาท… ซึ่งข้อมูลในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2022 คนไทยเดินทางท่องเที่ยวเติบโต 278.2% หรือ มีจำนวน 118.9 ล้านคน–ครั้ง และคาดว่าในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวของคนไทย น่าจะมีความคึกคักมากขึ้น