ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับ AI และ Data Driven Real Estate

ช่วงต้นปี 2020 ที่ COVID19 กำลังระบาดออกจากจีน คุกคามถึงยุโรปและสหรัฐ เวบไซต์ FastCompany.com ได้เผยแพร่บทความชื่อ Will silicon valley put real estate brokers out of business เพื่อนำข้อมูล PropTech Startup จาก Silicon Valley ที่รุกเข้าสู่การใช้แพลตฟอร์มช่วยแก้ปัญหามากมายในวงการ Real Estate ทั้งในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก

ประเด็นก็คือ คนกลางอย่างนายหน้าและบรรดาเซียนอสังหาที่กำข้อมูลมากกว่าคนอื่นก็เก่งแล้ว… น่าจะค่อยๆ หายไปจากระบบนิเวศน์ พร้อมๆ กับมูลค่าธุรกรรมของฝั่ง PropTech Real Estate ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมากกว่าธุรกรรมในระบบนิเวศน์เดิม… เหมือนเมื่อครั้งวงการทีวีและสื่อสิ่งพิมพ์ถูกสื่อดิจิทัล Disrupted จนเข้าสู่ภาวะถดถอยยิ่งยวดและทำมาหากินแบบเดิมๆ อย่างยากลำบาก

แต่ช้าก่อน… ข้อเท็จจริงก็คือ การจะขับเคลื่อนแพลตฟอร์มให้ได้ถึงขั้นไปทดแทนกลไกธุรกรรมเดิมได้อย่างสิ้นเชิงนั้น แพลตฟอร์มต้องการทั้งระบบนิเวศน์ที่เป็นมิตรต่อแพลตฟอร์ม และยังต้องการข้อมูลมหาศาลในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหาไซโลข้อมูล หรือข้อมูลอยู่คนละที่ละทาง ของธุรกรรมฝั่งอสังหาริมทรัพย์ ยังเป็นปัญหาท้าทายให้ PropTech Real Estate ที่ฝันใหญ่ ต้องฝ่าฟันกันอีกพักใหญ่…

คำถามตัวโตๆ ในวงการ PropTech ที่ได้อ่านและได้ยินมาตลอดจึงมาหยุดที่… จะเอา Data มาจากไหน?

พอมาถึงคำถามนี้ก็เป็นอันว่า การพัฒนาแพลตฟอร์มใดๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ จำเป็นจะต้องชัดเจนว่าอยากได้ข้อมูลอะไรเพื่อไปทำอะไร?…

โดยประสบการณ์ผมได้เห็นการใช้ AI กวาดเก็บข้อมูลทุกอย่างที่มี “คำสำคัญ หรือ Keyword” หลายหมื่นคีย์ที่แพลตฟอร์มต้องการนำมาใช้วิเคราะห์ประเมิน เพื่อเทียบเคียงและสกัดเอาการคาดคะเนที่แม่นยำกว่าการใช้กึ๋น หรือแม้แต่การหาข้อมูลวงในจากเส้นสายและกูรูท่านใดๆ แต่ก็มาเจอปัญหาเดิมคือ AI ยังต้องการข้อมูลมากกว่านี้เพื่อให้พลาดน้อยกว่านี้

กรณีการขับเคลื่อนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วย Big Data แม้จะเห็นแนวโน้มชัดเจนว่า…  ข้อมูลจะทำให้คนถือข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนได้เปรียบคู่แข่งอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ข้อมูลที่ยังกระจัดกระจายอยู่ในปัจจุบัน ยังเป็นอุปสรรคสำคัญของแพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ ที่วาดหวังจะทดแทนหรือ Disrupted กลไกธุรกรรมเดิมๆ ให้ได้สิ้นเชิงนั้น… ยังเหลือเวลาอีกพอสมควร

และเมื่อหันกลับมามองภาพรวมของการตอบรับยุค Data Driven Real Estate ของบ้านเรา จนถึงขณะนี้ยังคงเห็นการคลำทางเพื่อเรียนรู้กันอยู่เป็นส่วนใหญ่… ซึ่งผมมองว่า อีกไม่นานเราคงได้เห็นอะไรๆ ในอสังหาริมทรัพย์ ที่มีสีสันขึ้นในปี 2021 ที่จะถึงนี้… โดยส่วนตัวผมไม่ห่วงคนที่คลำทางยังไม่เจอทิศเท่าไหร่ ตราบเท่าที่ความพยายามเหล่านี้รู้ดีว่าเป็นการเรียนรู้และล้มเหลวอย่างมีชั้นเชิง ที่น่าห่วงคือคนที่รอดูคนอื่นคลำทางจนเห็นชัดเจนให้เห็นก่อนต่างหาก ที่จะถูกทิ้งห่างไว้ข้างหลัง

คำแนะนำคือ… เริ่มเก็บข้อมูลจริงจังกันได้แล้วครับ มากน้อยก็ให้เก็บและสะสมต่อไป…  ขอให้มองการสะสมข้อมูลเป็นเหมือนการเก็บออมเงินเพื่อสะสมจนกลายเป็นทุนก้อนใหญ่… ซึ่งจะมีพลังเมื่อจำนวนหรือปริมาณมีมากพอไม่ต่างกัน

ตามนั้นครับ!!!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

rocket chart

Average Directional Index และ Directional Movement Indicator

Welles Wilder ผู้คิดค้นดัชนี RSI และ Parabolic SAR อันลือลั่นจึงพัฒนาเครื่องมือบอก “ความแข็งแกร่งของแนวโน้มราคา” ชื่อ Average Directional Index หรือ ADX ขึ้น… เพื่อใช้ยืนยันราคาที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่นั้นเป็น “แนวโน้มแข็งแกร่ง หรือ Strong Trend จริงหรือไม่ หรือว่า เป็นความเคลื่อนไหวแบบไม่มีแนวโน้มปรากฏชัดเจน หรือ No Trend กันแน่” ซึ่งนักลงทุนเจอปัญหาสัญญาณลวงจากปัจจัยที่คาดไม่ถึงบ่อยๆ

CR400AF โครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย

ความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงสายอิสาน และรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก

การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ลงพื้นที่เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนและเอกชนในพื้นที่ หลังเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง เฟส 2 เส้นทาง สายอีสานและตะวันออก เริ่มจากรถไฟไทย-จีนช่วงนครราชสีมา–หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตรมูลค่า มูลค่ากว่า 220,000 ล้านบาท และ แถลงข่าวเพิ่มส่วนต่อขยาย รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ช่วงจังหวัดระยอง–จันทบุรีและตราด ระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร มูลค่า กว่า 100,000 ล้านบาท

Ocean Protocol… แพลตฟอร์มแปลงข้อมูลเป็นคริปโตเพื่อการซื้อขายและให้เช่าข้อมูล

OCEAN หรือ Ocean Protocol เป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่สร้างขึ้นเพื่อเปลี่ยนข้อมูล หรือ Data ให้เป็นโทเคนดิจิทัล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถซื้อขายข้อมูลกันได้บน Ocean Market ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ต้องการข้อมูลเฉพาะทางที่มีการซื้อขายกันทั้งข้อมูลดิบ และ ข้อมูลวิเคราะห์ หรือ รายงานการวิจัยต่างๆ ซึ่งเป็นตลาดข้อมูลที่มีมูลค่าและสภาพคล่องสูงอย่างมากมายาวนาน… โดยนักธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และ สถาบันหรือองค์กรหลักๆ ที่ต้องขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้วยข้อมูลในยุค Data Driven

NEAR Protocol

NEAR Protocol

บล็อกเชนที่สร้างขึ้นอย่างเป็นมิตรกับโปรแกรมเมอร์ ให้สามารถพัฒนา dApp หรือ Decentralized Application อย่างแท้จริง และ โปรแกรมเมอร์สาย dApp ส่วนใหญ่ให้การตอบรับเป็นบวกนั้น… ชื่อของ Near Protocol เจ้าของเครือข่ายบล็อกเชน PoS หรือ Proof-of-Stake ที่เหล่าโปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่เปรียบเทียบว่าเป็น dApp Cloud ซึ่งออกแบบไว้บนแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creator Economy